สำหรับโรคดังกล่าวนี้ ผู้ติดเชื้อไวรัสลัสสาส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหนักมากค่ะ แต่จะมีไข้ ปวดศีรษะ และอ่อนเพลีย ซึ่งบางคนอาจจะไม่มีอาการที่ว่าเลยก็ได้ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ร้ายแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการไม่ต่างจากผู้ติดเชื้ออีโบล่า ซึ่งจะมีเลือดออกทางจมูก ปากและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เป็นต้น
ศูนย์ควบคุมโรคของอังกฤษ ให้ข้อมูลว่าโดยปกติแล้วอัตราการเสียชีวิตจากโรคลัสสามีประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ แต่การระบาดในไนจีเรีย มีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ในหมู่ผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อและน่าจะติดเชื้อ โดยคาดกันว่ามีผู้เสียชีวิตแล้ว 90 คน แต่ตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงกว่านี้ เพราะไข้ลัสสาเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยาก
สำหรับผู้หญิงที่ติดเชื้อโรคนี้ในช่วงปลายของการตั้งครรภ์ มีโอกาสที่จะเสียทารกสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจจะเสียชีวิตเองด้วยเช่นกัน
คนส่วนใหญ่ติดเชื้อโรคนี้จากสิ่งปนเปื้อนปัสสาวะ อุจจาระ เลือด หรือน้ำลายของหนู ไม่ว่าจะด้วยการกิน ดื่ม หรือสัมผัส นอกจากนี้เชื้อยังสามารถแพร่จากคนสู่คนผ่านทางของเหลวในร่างกาย ซึ่งหมายความว่า เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเพียงพอถือว่าอยู่ในกลุ่มเสียงที่จะติดเชื้อ
โดยระยะฟักตัวของโรคนานสูงสุดถึง 3 สัปดาห์ ขณะนี้นักวิจัยกำลังศึกษาว่าเชื้อโรคนี้จะอยู่ในร่างกายและแพร่ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ แม้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม
ทำความรู้จักกับโรคนี้เพิ่มเติม ได้ที่หน้า 3 >>
เครดิต: BBC Thai