ไทรอยด์ในเด็กทารกเสี่ยงโรคเอ๋อ
พญ.พิริยา จันทราธรรมชาติ แพทย์ประจำสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า เด็กแรกเกิด 3,000-4,000 คน จะพบโรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน 1 คน ส่วนใหญ่พบบริเวณภาคเหนือและภาพตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนจะทำให้เกิดโรคเอ๋อ หรือภาวะปัญญาอ่อน สาเหตุเกิดจาก
1.ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น เด็กไม่มีต่อมไทรอยด์ หรือมีต่อมไทรอยด์ผิดตำแหน่ง
2.ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น การขาดสารไอโอดีน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกาย และเป็นสารสำคัญในการควบคุมอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโต
ป้องกันลูกจากโรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน
เพื่อเป็นการป้องกัน ลูกน้อยจึงควรตรวจคัดกรองโรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดทันทีภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังคลอด โดยคุณหมอจะทำการตรวจโดยการเจาะเลือดที่ส้นเท้าหรือหลังมือเพียงเล็กน้อย หากลูกน้อยคนไหนที่ไม่ได้ตรวจ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรสังเกตและตรวจอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิดในช่วง 2-3 เดือนแรกว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ได้แก่ ภาวะตัวเหลืองนาน ท้องผูก ท้องอืด ดูดนมไม่ดี ลิ้นโต กระหม่อมกว้าง หากมีควรรีบพาลูกไปรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และสติปัญญาที่ดีของลูกน้อย
นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมลูก ควรได้รับสารไอโอดีนอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันความผิดปกติของลูกน้อย โดยแนะนำให้คุณแม่รับไอโอดีนอย่างน้อย 250 ไมโครกรัมต่อวัน และเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีควรได้รับไอโอดีนอย่างน้อย 90 ไมโครกรัมต่อวัน และเพิ่มเป็น 150 ไมโครกรัมต่อวันในช่วงวัยรุ่น
อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะของคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วประเทศ ปี 2556 พบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์กว่า 50% มีระดับไอโอดีนต่ำกว่ามาตรฐาน บ่งบองถึงภาวะขาดไอโอดีนที่มีผบต่อภาวะปัญญาอ่อนของลูกน้อยแรกเกิดได้ คุณแม่จึงควรรับประทานยาเม็ดวิตามินรวม ประกอบด้วยไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ตั้งแต่ฝากครรภ์ไปจนถึงให้นมลูกน้อยเป็นเวลา 6 เดือน
ขอบคุณข้อมูลจาก mgronline / mahosot / สสส
อ่านบทความที่น่าสนใจ คลิก!!
เมื่อป่วยไทรอยด์เป็นพิษ…ตอนท้อง
โรคไทรอยด์อักเสบเรื้อรังฮาชิโมโตะ ภัยเงียบเพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก
“โรคเอ๋อ” จากภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่