AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ประสบการณ์จริง เมื่อคุณแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ

ประสบการณ์จริงเมื่อคุณแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ

มีประสบการณ์จากคุณแม่คนหนึ่งที่แม่น้องเล็กอยากจะเล่าให้ฟังเป็นกรณีตัวอย่าง เมื่อคุณแม่รู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับโรคประจำตัวของคุณแม่เอง คุณแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ เป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นความดัน และครรภ์เป็นพิษ ซึ่งคุณแม่มีความกังวลว่าจะส่งผลกับลูกน้อย

คุณแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ

เป็นโรคหัวใจตอนตั้งครรภ์
เป็นโรคหัวใจตอนตั้งครรภ์

วินาทีแรกที่เรารู้ว่ามีลูกน้อยอยู่ในท้องของเรา แม่น้องเล็กเชื่อว่าคุณแม่ทุกคนคงเกิดความกังวลมากมาย และมีความหวังว่าลูกน้อยจะมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัย สำหรับคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวก็คงมีความกังวลมากกว่าเดิมหลายเท่า เพราะบางครั้งอาการเจ็บป่วยบางอย่างของคุณแม่ก็ส่งผลไปถึงลูกน้อยด้วย สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจก็คงเป็นเช่นเดียวกัน

จากข้อมูลที่แม่น้องเล็กได้ลองศึกษาจาก พ.ญ. สุชยา  ลือวรรณ เกี่ยวกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีโรคหัวใจนั้น โรคหัวใจ และหลอดเลือดยังเป็นปัญหาต่อคุณแม่ และลูกน้อย ถึงแม้ว่าคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจแล้วตั้งครรภ์จะมีประมาณ 0.1 – 4% แต่โรคหัวใจก็ยังเป็นต้นเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เสียชีวิต ซึ่งโรคที่พบบ่อย ได้แก่ หัวใจพิการโดยกำเนิด หัวใจโรมาห์ติก หัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว ซึ่งถ้าขาดความรู้ความเข้าใจขณะตั้งครรภ์ และดูแลตัวเองไม่เหมาะสม ก็อาจจะส่งผลต่อชีวิตได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “3 เรื่องหลักๆ ที่แม่ท้องโรคหัวใจต้องเจอ” คลิกหน้า 2

3 เรื่องหลักๆ ที่แม่ท้องโรคหัวใจต้องเจอ

1.คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4 สัปดาห์

ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ 10 – 20 ครั้งต่อนาที ซึ่งในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นถึง 20% จากค่าปกติและหลังจากคลอด 2 วัน จะยังสูงอยู่ แล้วจึงจะกลับมาปกติภายใน 10 วันหลังคลอด

2.คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 5 สัปดาห์

ปริมาตรเลือดที่หัวใจสูบฉีดออกมาจะเพิ่มขึ้นถึง 30 – 50% ในช่วง 20 -24 สัปดาห์ การเพิ่มขึ้นนี้มีผลจากการเต้นของหัวใจ ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึง 32 สัปดาห์ ปริมาตรเลือดที่หัวใจสูบฉีดออกมาสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก และการไหลเวียนของเลือด และช่วงหลังคลอดจะเพิ่มขึ้นสูงสุด 60 – 80% เพราะปริมาณเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องขวาเพิ่มขึ้นเพราะแรงกดทับของหลอดเลือดเวนาคาวาลดลง ซึ่งจะกลับสู่ปกติภายใน 24 ชั่วโมง หรือหลังคลอด 10 วัน และปริมาตรเลือดที่สูบฉีดหัวใจหนึ่งครั้งจะลดลงภายใน 2 สัปดาห์

อาการคนท้องที่เป็นโรคหัวใจ

3.คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 6 สัปดาห์

ปริมาตรเลือดจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงไตรมาตรที่ 3 หรือช่วง 30 สัปดาห์ เลือดจะเพิ่มขึ้น 45 – 50 % เกิดจากการเพิ่มขึ้นของพลาสมา 50% และเม็ดเลือดแดง 20 – 35% ทำให้มีการเจือจางของเลือด เกิดภาวะโลหิตจาง

การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจ และหลอดเลือดนื้ ส่งผลต่อการวินิจฉัยโรคในคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งค่อนข้างยาก คุณแม่จะมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหนื่อยมากขึ้น ไอเป็นเลือด เป็นลมหมดสติเมื่อออกแรง มีเสียงฟู่ของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ

ระดับความรุนแรงของโรคหัวใจในคุณแม่ตั้งครรภ์

1.สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ ไม่มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ ใจสั่น หรือเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไม่มีอาการปวดเค้นหัวใจ

2.สามารถทำกิจกรรมได้เล็กน้อย รู้สึกสบายเมื่อได้พัก ถ้าทำกิจกรรมตามปกติแล้วจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ใจสั่น หรือเจ็บหน้าอก

3.สามารถทำกิจกรรมได้น้อยมาก รู้สึกสบายเมื่อได้พัก ถ้าทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อยจะเริ่มเหนื่อย ใจสั่น เจ็บหน้าอก

4.ไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรได้เลย แม้กระทั่งเวลาพักก็จะเหนื่อยหอบ ในสั่น หรือเจ็บหน้าอก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ผลกระทบเมื่อแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ” คลิกหน้า 3

ผลกระทบเมื่อแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจนั้น ส่งผลต่อการตรวจวินิจฉัยโรค ซึ่งเป็นไปได้ยาก ทำให้การดูแลล่าช้า การทำงานของหัวใจที่หนักมากขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อาการของโรครุนแรง และกำเริบได้ง่าย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม และมีโอกาสเสียชีวิต

ผลกระทบนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ และระดับความรุนแรง และส่งผลต่อโอกาสการแท้ง คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจจะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น คลอดก่อนกำหนด ความดันโลหิตสูง ตกเลือดหลังคลอด และภาวะทารกโตช้าในครรภ์

การป้องกันสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ

เมื่อคุณแม่อยากจะมีลูกน้อย ควรปรึกษาคุณหมอก่อนจะตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลตัวเอง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทั้งก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด เพราะปัจจุบันพบว่าคุณแม่กว่าครึ่งหนึ่งที่เป็นโรคหัวใจ ไม่มีการวางแผนที่จะมีลูกน้อยมาก่อน จึงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคุณแม่ และลูกน้อยด้วย

เป็นโรคหัวใจแล้วตั้งครรภ์

ควรศึกษาข้อมูลทั้งคุณพ่อ คุณแม่ เกี่ยวกับความเสี่ยงจากโรดหัวใจ เช่น ความเสี่ยงในการเสียชีวิต และภาวะแทรกซ้อนที่แบ่งไปตามระดับความรุนแรง เพื่อหาแนวทางในป้องกัน เช่น การผ่าตัดรักษา หรือใส่สายสวนหัวใจก่อนตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีโรคหัวใจบางชนิดที่มีข้อห้ามในการตั้งครรภ์ ได้แก่

1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม

2.โรคความดันเลือดในปอดสูง

3.โรคไอเซนเมนเกอร์ เนื่องจากเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

4.ภาวะเลือดเซาะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่

5.ภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว

ทั้ง 5 โรคนี้จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาก่อนที่จะตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจส่วนใหญ่จะมารับการตรวจรักษาหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว โดยที่ไม่ได้รับการเตรียมตัวมาก่อน คุณหมอจะให้คำแนะนำความเสี่ยงต่างๆ ให้กับคุณแม่ และถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์จาก 5 โรคความเสี่ยงนี้ คุณหมออาจจะพิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ” คลิกหน้า 4

การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ

สำหรับคุณแม่ที่ยังสามารถควบคุม และดูแลตัวเองได้ คุณหมอก็จะแนะนำวิธีการดูแล และสังเกตตัวเองให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน คุณหมอจะให้คุณแม่ดูแลตัวเอง ควบคู่ไปกับการดูแลโดยคุณหมออย่างใกล้ชิด คุณหมอจะตรวจประเมินถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด

คุณหมอจะเช็คประวัติ ยาที่ได้รับก่อนการตั้งครรภ์ เพราะยาบางชนิดมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ทั้งต่อคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ ทำให้ลูกน้อยผิดปกติ ยาบางชนิดเป็นเป็นอันตราย และส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยง หรือเปลี่ยนตัวยาที่ปลอดภัย แต่บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใช้ ถึงแม้ว่าจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ การสังเกต และเฝ้าระวังจึงเป็นทางเดียวที่จะประเมินภาวะแทรกซ้อนนั้นได้

การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ

คำแนะนำในการฝากครรภ์

ช่วงก่อน 28 สัปดาห์คุณแม่ควรมาฝากครรภ์ทุกๆ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นควรมาตรวจทุก 1 สัปดาห์ไปจนถึงวันคลอด ในแต่ละครั้งที่มาตรวจ ควรประเมินอาการ และอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “การดูแลรักษาคุณแม่โรคหัวใจในระยะคลอด” คลิกหน้า 5

การดูแลรักษาคุณแม่โรคหัวใจในระยะคลอด

การคลอดสำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจนั้น คลอดแบบธรรมชาติปลอดภัยกว่าการผ่าตัด เพราะการผ่าตัดต้องดมยาสลบ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงโดยเฉพาะช่วงที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ รวมถึงความเสี่ยงในการใช้ยาชาเฉพาะที่ การเสียเลือดจากการผ่าตัดที่มากกว่าการคลอด เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน และแผลผ่าตัดหลังคลอด ภาวะเลือดออกง่ายในคุณแม่ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด

แต่ก็มีโรคหัวใจบางชนิดที่สามารถผ่าตัดได้ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวรุนแรง ภาวะเลือดลัดวงจร ภาวะขาดออกซิเจน เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ คุณหมอจะเตรียมความพร้อมในการรับมือความเสี่ยงให้คุณแม่ขณะคลอด

การดูแลคุณแม่โรคหัวใจในระยะคลอดและหลังคลอด

การดูแลคุณแม่โรคหัวใจหลังคลอด

ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจจะพบมากในช่วงหลังคลอด อาจเกิดจากการเสียเลือดหลังคลอด อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ดังนั้นการเฝ้าติดตามอาการหลังคลอด 72 ชั่วโมง การฝึกให้คุณแม่มีการเคลื่อนไหวหลังผ่าตัด หรือคลอดจะช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้

การคุมกำเนิดในคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจ

การคุมกำเนิดที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ในคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจที่ได้รับการประเมินแล้วว่าไม่เหมาะสมที่จะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อชีวิตของคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ ไม่ให้เกิดภาวการณ์แท้งได้ ควรเลือกการคุมกำเนิดแบบถาวร หรือทำหมัน

เครดิต: การ์แต้ว ตัวแสบ, พ.ญ. สุชยา  ลือวรรณ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง คลิก!!

แม่ตั้งครรภ์ เป็นโรคหัวใจ อันตรายกว่าที่คิด

10 ปลาไทย โอเมก้า 3 สูง! บำรุงสมองสดใส หัวใจแข็งแรง

ลูกฟันผุ เสี่ยงโรคหัวใจ ป้องกันด้วยการแปรงฟัน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save

Save

Save

Save