เมื่อลูกน้อยถึงวัยเข้าโรงเรียน สิ่งที่จะเจอคือสังคม เพื่อน ครู และสถานที่ใหม่ๆ พ่อแม่ก็อดห่วงไม่ได้ เพราะการอยู่ร่วมกันเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน โรคมือเท้าปากระบาดมาก แล้วถ้ายิ่งติด เชื้อ EV71 ซึ่งเป็นชนิดรุนแรง ก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ พ่อแม่ต้องหาวิธีป้องกัน
กระทรวงสาธารณสุขเตือน 17 จังหวัดเฝ้าระวัง เกิดโรค EV71 สายพันธุ์รุนแรงระบาด ซึ่งเป็นโรคมือเท้าปาก สายพันธุ์เอนเทอร์โรไวรัส 71 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 26,407 คน เสียชีวิตไปแล้ว 3 คน ที่จังหวัดสระบุรี ตาก และชลบุรี โดยพบว่าผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง และภาคใต้ เชื้อนี้ทำให้มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต พบในเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 4 ขวบ ยิ่งเป็นช่วงหน้าฝน ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเชื้อแพร่กระจายได้เร็ว
กระทรวงสาธารณสุขระบุจังหวัดที่สุ่มเสี่ยง เชื้อ EV71 ระบาด ได้แก่ สมุทรปราการ อ่างทอง สิงห์บุรี จันทบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม อำนาจเจริญ พะเยา นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฏร์ธานี ยะลา และนราธิวาส
นายแพทย์โสภณ เมฑธน อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมาแนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่สังเกตอาการลูก ไว้ดังนี้
1.มีไข้ ร่วมกับมีแผลในปาก และตุ่มที่มือหรือเท้า
2.มีเฉพาะไข้ และแผลในปาก แต่ไม่มีตุ่มที่มือหรือเท้า
3.มีไข้สูงเกิน 38 องศา และอาการเหม่อลอย
ถ้าพบว่าลูกน้อยของคุณพ่อ คุณแม่มีอาการเหล่านี้ รีบพาไปหาคุณหมอเพื่อทำการรักษาโดยด่วน เพราะเชื้อนี้จะแพร่กระจายไปที่ก้านสมองอย่างรวดเร็ว ทำให้ควบคุมการเต้นของหัวใจขัดข้อง มีโอกาสเสียชีวิตได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ประสบการณ์คุณแม่ เมื่อลูกป่วย ติดเชื้อ EV71 จนเสียชีวิต” คลิกหน้า 2
มีคุณแม่ท่านหนึ่งโพสต์ข้อความเอาไว้ในเฟสบุ๊คถึงประสบการณ์การเสียลูกสาววัย 4 ขวบไปด้วยโรคมือเท้าปาก เพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่าง เอาไว้ดังนี้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “คำแนะนำจากคุณหมอ เพื่อป้องกันเชื้อ EV71” คลิกหน้า 3
จากเหตุการณ์ดังกล่าว ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงออกมาให้คำแนะนำว่า โรคมือเท้าปากที่ทำให้เสียชีวิตคือเกิดจาก เชื้อ EV71 เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรง และในปีที่ผ่านมามีแนวโน้มสูงขึ้น และเพิ่มขึ้นมากกว่าทุกปี
ศ.นพ.ยง กล่าวว่า การตรวจหา เชื้อ EV71 ในเด็กที่ป่วยโรคมือเท้าปากทุกคนที่มาโรงพยาบาลคงเป็นไปไม่ได้ เพราะผู้ป่วยมีจำนวนมาก และโรงพยาบาลในต่างจังหวัดบางแห่งก็ไม่สามารถตรวจเองได้ ถ้ามีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มน้ำใส หรือตุ่มแดงขึ้นบริเวณหัวเข่า ข้อศอก และก้น ร่วมกับมีอาการไข้ให้วินิจฉัยไว้ก่อนว่าเป็น เชื้อ EV71 และควรส่งตรวจเชื้อ ใช้เวลาประมาณ 2 วัน จึงทราบผล กลุ่มเสี่ยงคือ เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เนื่องจากภูมิต้านทานยังไม่เต็มที่ เชื้อจึงมีโอกาสเข้าสู่สมองและหัวใจได้
ศ.นพ.ยง แนะนำว่า “การดูแลเรื่องสุขอนามัย ล้างมือ ทำความสะอาดสถานเลี้ยงเด็ก จะช่วยลดการระบาดลงได้” ส่วนการป้องกัน โรคมือเท้าปาก ทำได้ดังนี้
1.ล้างมือ ทำความสะอาด ดูแลสุขอนามัย ไม่ใช้ช้อนป้อนร่วมกัน สัมผัสอุจจาระ เปลี่ยนผ้าอ้อมต้องล้างมือ
2.ห้องเด็กควรเป็นห้องโล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี
3.ทำความสะอาดเครื่องใช้ของเล่นเด็กด้วยสาร sodium hypochlorite โดยใช้ hypochlorite ทำให้เจือจาง 5:25% ให้เป็น 1 : 50 หรือ Clorox สารละลาย คลอรีน เช็ดถูให้สะอาด (สามารถฆ่าเชื้อได้)
4.เด็กที่ป่วยต้องแจ้งให้โรงเรียนพื้นที่ ทราบ และหยุดอยู่บ้าน จนแผลทุกแห่งหาย ประมาณ 1 สัปดาห์ และมีระบบสื่อสารที่ดี กับทางโรงเรียน
5.ผู้ปกครอง ไม่พาเด็กไปที่มีคนหมู่มาก ห้าง สนามเด็กเล่น ในช่วงที่มีการระบาด
6.ความโปร่งใส ซื่อสัตย์ จิตสาธารณะ ทั้งของผู้ปกครอง และโรงเรียน
7.บอกความเป็นจริงทั้งผู้ปกครองและสถานเลี้ยงเด็ก จะช่วยลดการแพร่กระจายของโรคลงได้
8.เมื่อป่วย ต้องพบแพทย์
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
เตือนพ่อแม่!! ระวังโรคติดต่อทางน้ำมูกน้ำลาย “Enterovirus” ชนิดรุนแรง
สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ เพื่อรับมือกับ ‘โรคมือเท้าปาก’
[Blogger พ่อเอก-14] รอยยิ้มที่หาย ไปกับ ‘มือ เท้า ปาก’
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เครดิต: kaijeaw.com, taghr.net, Saowapa Sittikankaew, ผู้จัดการออนไลน์