จากเหตุการณ์ดังกล่าว ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงออกมาให้คำแนะนำว่า โรคมือเท้าปากที่ทำให้เสียชีวิตคือเกิดจาก เชื้อ EV71 เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรง และในปีที่ผ่านมามีแนวโน้มสูงขึ้น และเพิ่มขึ้นมากกว่าทุกปี
ศ.นพ.ยง กล่าวว่า การตรวจหา เชื้อ EV71 ในเด็กที่ป่วยโรคมือเท้าปากทุกคนที่มาโรงพยาบาลคงเป็นไปไม่ได้ เพราะผู้ป่วยมีจำนวนมาก และโรงพยาบาลในต่างจังหวัดบางแห่งก็ไม่สามารถตรวจเองได้ ถ้ามีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มน้ำใส หรือตุ่มแดงขึ้นบริเวณหัวเข่า ข้อศอก และก้น ร่วมกับมีอาการไข้ให้วินิจฉัยไว้ก่อนว่าเป็น เชื้อ EV71 และควรส่งตรวจเชื้อ ใช้เวลาประมาณ 2 วัน จึงทราบผล กลุ่มเสี่ยงคือ เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เนื่องจากภูมิต้านทานยังไม่เต็มที่ เชื้อจึงมีโอกาสเข้าสู่สมองและหัวใจได้
ศ.นพ.ยง แนะนำว่า “การดูแลเรื่องสุขอนามัย ล้างมือ ทำความสะอาดสถานเลี้ยงเด็ก จะช่วยลดการระบาดลงได้” ส่วนการป้องกัน โรคมือเท้าปาก ทำได้ดังนี้
1.ล้างมือ ทำความสะอาด ดูแลสุขอนามัย ไม่ใช้ช้อนป้อนร่วมกัน สัมผัสอุจจาระ เปลี่ยนผ้าอ้อมต้องล้างมือ
2.ห้องเด็กควรเป็นห้องโล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี
3.ทำความสะอาดเครื่องใช้ของเล่นเด็กด้วยสาร sodium hypochlorite โดยใช้ hypochlorite ทำให้เจือจาง 5:25% ให้เป็น 1 : 50 หรือ Clorox สารละลาย คลอรีน เช็ดถูให้สะอาด (สามารถฆ่าเชื้อได้)
4.เด็กที่ป่วยต้องแจ้งให้โรงเรียนพื้นที่ ทราบ และหยุดอยู่บ้าน จนแผลทุกแห่งหาย ประมาณ 1 สัปดาห์ และมีระบบสื่อสารที่ดี กับทางโรงเรียน
5.ผู้ปกครอง ไม่พาเด็กไปที่มีคนหมู่มาก ห้าง สนามเด็กเล่น ในช่วงที่มีการระบาด
6.ความโปร่งใส ซื่อสัตย์ จิตสาธารณะ ทั้งของผู้ปกครอง และโรงเรียน
7.บอกความเป็นจริงทั้งผู้ปกครองและสถานเลี้ยงเด็ก จะช่วยลดการแพร่กระจายของโรคลงได้
8.เมื่อป่วย ต้องพบแพทย์
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
เตือนพ่อแม่!! ระวังโรคติดต่อทางน้ำมูกน้ำลาย “Enterovirus” ชนิดรุนแรง
สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ เพื่อรับมือกับ ‘โรคมือเท้าปาก’
[Blogger พ่อเอก-14] รอยยิ้มที่หาย ไปกับ ‘มือ เท้า ปาก’
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เครดิต: kaijeaw.com, taghr.net, Saowapa Sittikankaew, ผู้จัดการออนไลน์