ไข้เลือดออก หนึ่งในโรคร้ายที่ทำให้ลูกน้อยเสียชีวิตได้ แล้ว อาการ ไข้เลือดออก จะเป็นอย่างไร 10 สัญญาณเตือนโรคไข้เลือดออก หากลูกป่วยรีบสังเกตให้ดี
ไข้เลือดออก ระบาด! กทม. ตายแล้ว 5 คน
พบ 10 สัญญาณเตือน อาการ ไข้เลือดออก ในเด็ก
เมื่อช่วงกลางเดือน ส.ค. 2561 ที่ผ่านมา นายเมธิพจน์ ชาตะเมธีกุล ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. ได้ออกมาเปิดเผยว่า… โรคไข้เลือดออก เกิดจาก ยุงลายเป็นพาหะ ซึ่งในฤดูฝนจะเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคมากที่สุดเนื่องจากมีฝนตกน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของโรค
โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในพื้นที่กรุงเทพ ปี 2561 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม จำนวน 5,899 ราย ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวน 5 ราย
-
ในพื้นที่เขต หนองจอก 1 ราย
-
เขตดินแดง 2 ราย
-
เขตปทุมวัน 1 ราย
-
และเขตบางกะปิ 1 ราย
และเป็นผู้เสียชีวิตในกลุ่มคนวัยทำงานทั้งสิ้น ส่วนในปี 2560 มีจำนวนผู้ป่วยตลอดทั้งปีรวม 9,368 ราย มีผู้เสียชีวิตรวม 6 ราย
ซึ่งแนวโน้มผู้ป่วยในปี 2561 มีการคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับพื้นที่เขตหนองจอก เป็นพื้นที่ในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา ที่มีผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งพื้นที่เขตหนองจอกจากการสอบสวนโรคพบเป็นพื้นที่กว้าง และมีแหล่งพื้นที่ริมทาง จุดน้ำขังหลายบริเวณ อีกทั้งในชุมชนบางพื้นที่ มีการทิ้งขยะหมักหมมในบริเวณบ้านซึ่งเมื่อฝนตกเกิดน้ำท่วมขัง จึงเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของยุงลายได้จำนวนมาก
⇒ Must read : ไข้เลือดออกเดงกี โรคระบาดที่มากับฤดูฝน
⇒ Must read : ภัยร้าย ไข้เลือดออก ขณะตั้งครรภ์
ด้าน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ได้ออกมากล่าวถึงสถานการณ์โรค ไข้เลือดออก ว่า… ปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพฯ ได้มีการแพร่ระบาดของ โรคไข้เลือดออก ซึ่งเกิดผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง
ทาง กทม.จึงประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ และประชาชนในพื้นที่ ร่วมดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยได้สั่งการให้สำนักอนามัย และสำนักงานเขตพื้นที่ทั้ง 50 เขต วางมาตรการควบคุมโรค … ในเบื้องต้น จะลงพื้นที่ฉีดพ้นสารเคมีกำจัดยุงลายในจุดต่างๆ ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งข้อมูลการแพร่ระบาดของยุงในพื้นที่ ให้กทม.เข้าดำเนินการกำจัดและป้องกันโรคได้
อ่านต่อ >> “สัญญาณเตือนอาการไข้เลือดออกในเด็ก” คลิกหน้า 2
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : www.khaosod.co.th
ผู้ที่มีโอกาสเสียชีวิตจาก อาการ ไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่มาพร้อมกับ “ยุงลาย” ที่มีอายุสั้นเพียง 7 วันเท่านั้น ซึ่งสามารถเป็นได้ทุกฤดูกาล ขอเพียงมีแหล่งน้ำขัง ที่สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ แต่ในฤดูฝนจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นเพราะปริมาณน้ำมากทำให้เกิดแหล่งน้ำขังได้ในหลายพื้นที่
โดยกลุ่มอายุที่พบเป็นโรคดังกล่าวมาก คือ กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 8 – 14 ปี ในขณะที่กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูง เมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก คือ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ คนท้อง คนอ้วน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด เป็นต้น
⇒ Must read : ภัยร้าย ไข้เลือดออก ขณะตั้งครรภ์
ซึ่งผู้ป่วยที่เข้าข่ายความเสี่ยงนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์พยาบาลที่มีประสบการณ์ กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาโรคเด็กที่ยุ่งยาก ซับซ้อน รักษาเด็กป่วยที่ส่งต่อมาจากทั่วประเทศ พร้อมทั้งเป็นหน่วยงานที่มีศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านไข้เลือดออก โดยเป็นผู้นำในการทำแนวทางการวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ลดการเสียชีวิตหรือลดความพิการที่เกิดจากโรคไข้เลือดออก โดยได้รับการยอมรับในระดับโลกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น WHO Collaborating Center ด้านการดูแลรักษาโรคไข้เลือดออก
⇒ Must read : อาการขั้นวิกฤต ไข้ลด ตัวเย็น เสี่ยงช็อกเสียชีวิต จากไข้เลือดออก!
อาการ ไข้เลือดออก ในเด็ก
ไข้เลือดออก สามารถทำให้ลูกน้อยเป็นหนักและเสียชีวิตได้ เพราะพ่อแม่หลายคนมองอาการไม่ออก และคิดว่าเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา แต่ ไข้เลือดออกที่เป็นมากจะมีโอกาสเกิดภาวะช็อกเมื่อไข้เริ่มลด คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรประมาท และควรสังเกต 10 สัญญาณอาการเสี่ยงที่ลูกอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้ ดังนี้
1. มีไข้ขึ้นสูง 2-7 วันอย่างกะทันหัน ส่วนใหญ่สูงมากกว่า 38.5 °C บางรายที่เคยชัก อาจจะชักระหว่างมีไข้ได้
2. จากนั้นไข้ลงหรือไข้ลดลงแต่อาการเลวลง ยังเบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น และอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ตลอดเวลา
3. อาจมีอาการหน้าแดง ตัวแดง แต่จะมักไม่มีอาการไอ หรือน้ำมูก และปวดท้องมาก
4. พบเลือดออกที่ผิวหนังเป็นจุดแดงเล็กๆ กระจายไปทั่งร่างกาย ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดออกตามไรฟัน หรือหากมีอาการหนัก อาจอาเจียน หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด (มีสีดำคล้ำ)
5. คลำๆ ท้องบริเวณตับ จะรู้สึกว่าตับโต บวม กดแล้วเจ็บ
6. กระหายน้ำตลอดเวลา
7. ตัวเย็น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลาย
8. ถ้าเป็นเด็กเล็กจะร้องกวนมาก
9.ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะนานเกิน 4- 6 ชั่วโมง
10. หากมีอาการรุนแรง อาจมีอาการช็อกจากภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว เป็นช่วงที่ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว และอาจเสียชีวิตหลังภาวะช็อกภายใน 12-24 ชั่วโมง ถ้ามีอาการดังกล่าวแม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงแล้วควรต้องไปพบแพทย์
อ่านต่อ “การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้ 3 ขั้นตอน” คลิกหน้า 3
ข้อควรปฏิบัติหลังเป็น (หรือสงสัยว่าจะเป็น) ไข้เลือดออก
- อย่าทานยาลดไข้ที่มีส่วนผสมของแอสไพริน และ ไอบูโพรเฟน หรือยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอย เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน จะระคายกระเพาะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น ให้เลือกทานยาพาราเซตามอลจะปลอดภัยที่สุด
- หากมีไข้สูงติดต่อกัน 3 วันแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ และอาจปรึกษาแพทย์ว่าสมควรที่จะต้องตรวจเกล็ดเลือดหรือไม่ เกล็ดเลือดคนปกติจะมากกว่า 300,000 แต่ถ้าเกล็ดเลือดอยู่ที่ 200,000 หลังมีไข้ 3-4 วัน อาการอาจเริ่มน่าเป็นห่วง และหากเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ควรแอดมิทที่โรงพยาบาล เพราะถือว่าเกล็ดเลือดต่ำมากกว่าปกติ (สามารถตรวจเกล็ดเลือดได้ เมื่อไวรัสเริ่มออกตัว คือช่วงมีไข้วันที่ 3-4 ช่วงวันแรกๆ ยังตรวจไม่ได้)
อาการ ไข้เลือดออก ต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?
ไข้หวัดธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ อาการไข้มักจะลดจนหายเกือบจะเป็นปกติภายใน 2-3 วัน (อาการไอ อาจใช้เวลาหลายวัน หรือเป็นสัปดาห์กว่าจะหายสนิท) อาการที่พบในระยะแรกเหมือนไข้เลือดออกทุกประการจนยากจะแยกออก เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เจ็บคอ
แต่ข้อสังเกตคือ ส่วนใหญ่ อาการ ไข้เลือดออก มักไม่มีน้ำมูก หรือไม่มีอาการไอ ในขณะที่ไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล มีเสมหะ ไอ จาม เป็นต้น
⇒ Must read : รู้ไหมว่า ไข้เลือดออก กับ ไข้หวัดใหญ่ ต่างกันอย่างไร?
นอกจากนี้ อาการ ไข้เลือดออก มักมีไข้สูงกว่าไข้หวัดธรรมดา (เว้นแต่ไข้หวัดใหญ่ ที่มีไข้สูงได้เช่นกัน) และจะมีไข้สูงติดต่อกัน 3 วัน อาการไม่ค่อยดีขึ้นจากวันแรก ช่วงเวลาที่ไข้ลดลงยังคงรู้สึกอ่อนเพลียมาก แต่เบื่ออาหาร ทานอะไรไม่ค่อยลง หากไข้สูงติดต่อกัน 3 วันแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
ทั้งนี้หากเป็นแต่ไข้หวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ สามารถพบแพทย์เพื่อรับยา และรักษาตามอาการได้ สำหรับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่นๆ ที่ติดเชื้อกันได้ง่าย ก็อย่าลืมใช้ช้อนกลางเมื่อทานข้าว ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่กับคนอื่นด้วย นอกจากนี้คนใกล้ตัว และตัวคุณเอง สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ เพื่อป้องกันโรคติดต่อได้อีกทางหนึ่ง
ส่วน อาการ ไข้เลือดออก วิธีป้องกันคือ อย่าให้โดนยุงลายกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น น้ำในแจกัน กระถางต้นไม้ ยางรถยนต์ ชามหรือกะละมังรอบบ้านที่มีน้ำขัง และอย่าไปในที่ๆ เสี่ยงยุงลายชุกชุม เช่น ในพงหญ้าชื้นๆ พื้นที่มืดๆ หลังบ้าน มุมบ้าน ชายตลิ่ง ริมแม่น้ำ หรือพื้นที่ใกล้ขยะเปียก เป็นต้น
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า… การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้ 3 ขั้นตอน เปรียบเสมือนเป็นการสร้างเกราะภูมิคุ้มกันถึง 3 ชั้น โดย
- เกราะคุ้มกันชั้นที่ 1 แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็กอายุตั้งแต่ 9 ปี จนถึงผู้ใหญ่อายุ 45 ปี แบ่งการฉีดเป็น 3 เข็ม ระยะห่างกัน 6 เดือน(0, 6, 12 เดือน) แต่ไม่แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ซึ่งเป็นวัคซีนสำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกจากไวรัสเดงกี่เท่านั้น
- จากการวิจัยพบว่า ป้องกันการติดเชื้อได้ 60 % ป้องกันการเกิดโรครุนแรงได้ 90% แต่ถ้าร่างกายของผู้รับการฉีดวัคซีนเคยมีการติดเชื้อไวรัสเดงกี่อยู่แล้ว จะเป็นการเสริมภูมิป้องกันได้ดียิ่งขึ้น
- เกราะคุ้มกันชั้นที่ 2 คือ การช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขังในบ้าน การป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้ง ทายากันยุง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
- เกราะคุ้มกันชั้นที่ 3 คือ การไปพบแพทย์เมื่อป่วยเป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- อัพเดท! วัคซีนไข้เลือดออก ต้องเป็นก่อนถึงฉีดได้
- ลูกเป็นไข้เลือดออก กว่าแม่จะรู้เกือบสาย!
- แพ็คเกจวัคซีนไข้เลือดออก โรงพยาบาลในกทม.
ข้อมูลอ้างอิงจาก : www.sanook.com , www.thaihealth.or.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่