สาธารณสุขเตือนระวัง โรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยแล้วกว่า 400 ราย แนะกำจัดลูกน้ำยุงลาย นพ.วิฑูรย์ เหลืองดิลก นพ.สาธารณสุขจังหวัดตรัง กล่าวถึง สถานการณ์โรคไข้เลือดออกใน จ.ตรัง ว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกแล้ว 427 ราย ซึ่งยอดผู้ป่วยในขณะนี้นับตั้งแต่ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงปัจจุบัน จึงอยากเตือนพี่น้องประชาชนชาวตรัง และทุกคนที่อยู่ในพื้นที่จ.ตรัง ให้การระวังเรื่องไข้เลือดออก โดยเฉพาะเดือน ก.ค. เพียงเดือนเดียว พบผู้ป่วยกว่าร้อยราย ดังนั้นจึงจำมีความเป็นที่พวกเราต้องช่วยกัน
“อยากให้ทุกบ้านทุกครัวเรือนต้องช่วยตัวเองกันไม่ให้มีลูกน้ำยุงช่วยกันเก็บบ้านให้สะอาด เพราะหากบ้านที่รกจะทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำได้ ซึ่งสามารถกำจัดได้ด้วยสเปรย์ ส่วนภายนอกหากมีโอกาสช่วยด้วยก็ดูแลเช่นเดียวกันทั้งทางสาธารณสุขเทศบาล อบต. ท้องถิ่นทุกหน่วยก็จะช่วยกันดูแลให้ที่สำคัญถึงแม้กำจัดยุงไม่ได้ก็อย่าให้ยุงกัด ป้องกันด้วยการทาโลชั่นกันยุง หรือจะเป็นตะไคร้หอมก็ได้หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไปเพราะมีกลิ่นหอม ยุงจะไม่กล้าเข้าใกล้” นพ.วิฑูรย์ กล่าว
โรคไข้เลือดออก รีบพบแพทย์ อย่าซื้อยาตามร้านขายยา
ด้านอาการของ โรคไข้เลือดออก แรกๆ จะมีอาการคล้ายผู้ป่วยเป็นไข้หวัด หากจะซื้อยากินเองตามที่สะดวกก็ไม่เป็นไรแต่อย่าให้เกิน 3 วัน และโดยเฉพาะเด็กเล็กต้องระวังให้มากเพราะจะมีอาการรวดเร็ว โดยเฉพาะเด็กเล็กหากซื้อยาตามร้านยาอย่าซื้อยาลดไข้สูงโดยเด็ดขาด โดยทางสาธารณสุข ย้ำเรื่องความสะอาดของบ้านเรือนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ขยะทุกชิ้นมีโอกาสเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำได้หมดแม้แต่ขวดพลาสติกที่ทิ้งไว้ กะลามะพร้าว หรือแค่ซอกใบไม้ก้านมะพร้าวหากมีน้ำขังแค่นิดเดียวเปิดเมื่อไหร่ก็ทำให้เจอลูกน้ำได้เช่นกัน
อ่านเรื่อง “สาธารณสุขเตือนระวังไข้เลือดออก พบผู้ป่วยแล้วกว่า 400 ราย แนะกำจัดลูกน้ำยุงลาย” คลิกหน้า 2
วิธีการสังเกตและดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคไข้เลือดออก
อาการหรือสัญญาณอันตรายของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ไข้สูงลอยเกิน 2 วัน อาเจียน เบื่ออาหาร กินยาแล้วไข้ไม่ลดลงภายใน 1-2 วัน ถ้ามีอาการใดอาการหนึ่งให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาให้ทันท่วงที เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกในระยะแรกแล้ว มักให้ผู้ป่วยกลับมารักษาตัวที่บ้าน ซึ่งผู้ดูแลก็สามารถใช้วิธีปฏิบัติง่ายๆ คือ การเช็ดตัวให้ผู้ป่วยไม่ให้ตัวร้อนจัด รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนและอาหารที่ทำให้ร่างกายสดชื่น เช่น น้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ และพักผ่อนมากๆ และที่สำคัญต้องคอยเฝ้าสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอยู่เสมอ
โดยเฉพาะช่วงที่ไข้ลดลงประมาณวันที่ 3-4 ถ้าผู้ป่วยฟื้นไข้ สดชื่น วิ่งเล่นได้ แสดงว่าหายป่วย และปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกแล้ว แต่ถ้าพบว่าผู้ป่วยซึมลง อ่อนเพลียมาก กินและดื่มไม่ได้ กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ปวดท้องกะทันหัน หรืออาเจียนเป็นเลือด แสดงว่าเข้าสู่ภาวะช็อก ต้องรีบนำผู้ป่วยกลับไปพบแพทย์อีกครั้งโดยเร็วที่สุด
ซึ่งช่วงที่อันตรายของโรค คือ ช่วงที่ไข้ลดลง เนื่องจากเป็นช่วงที่เข้าสู่ระยะช็อก ซึ่งหากรักษาไม่ทันจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตภายใน 1 วันได้ และพบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เนื่องมาจากมาพบแพทย์ช้าเกินไปในช่วงที่ไข้ลดแล้วช็อกนั่นเอง เพราะฉะนั้น เมื่อป่วยเป็นไข้สูงเกิน 2 วัน อย่านิ่งนอนใจรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว (ที่มาจาก. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ)
ที่มาจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
อัพเดท! วัคซีนไข้เลือดออก ต้องเป็นก่อนถึงฉีดได้