ไอ คัดจมูก เป็นหวัด เจ็บคอ น้ำมูกไหล เป็นอาการป่วยที่พบบ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง แต่รู้หรือไม่? ไอในเด็กอันตราย อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกป่วยรุนแรงมากกว่าหวัดธรรมดา เช่น ปอดบวม ติดเชื้อในกระแสเลือด ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค ฯลฯ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของเด็ก 1 ใน 5
ในแต่ละปีเด็กอายุ 0-5 ขวบทั่วโลก เสียชีวิตจากปอดบวมถึง 2 ล้านคน และในไทยถือเป็นอันดับต้นๆ เช่นกัน เมื่อคุณพ่อ คุณแม่เห็นลูกน้อยไอ เป็นหวัด ควรใส่ใจและสังเกตอาการ อย่าประมาท จะได้รีบพาไปหาคุณหมอได้ทันท่วงที และช่วยกันลดการแพร่กระจายเชื้อด้วยการใช้ช้อนกลาง แยกภาชนะ ล้างมือ ทำความสะอาดให้ถูกสุขอนามัย เมื่อเป็นหวัด หรือไอ ให้ปิดปากปิดจมูก
- ไอมีเสมหะ
ไม่ว่าจะมีเสมหะสีเหลือง หรือสีเขียว แสดงให้เห็นว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อหวัด ภูมิแพ้ น้ำมูกลงคอ ถ้าเป็นแบบใส ไม่มีสี เกิดจากไวรัส หรือภูมิแพ้ ถ้าเป็นเขียว หรือเหลืองแสดงว่าติดเชื้อแบคทีเรีย
- ไอแบบแห้ง
เป็นสาเหตุมาจากการแพ้อากาศ ระคายคอและหลอดลม อาจมีเศษอาหารเล็กๆ ฝุ่นควัน กลิ่นฉุน บุหรี่ อากาศเย็น โรคหืด โรคหัวใจล้มเหลว มีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง
ไอแบบไหนบอกสัญญาณอันตราย?
การไอมีจากหลายสาเหตุ เช่น ไข้หวัด คออักเสบ ไซนัสอักเสบ เป็นสัญญาณบอกถึงการก่อตัวโรคร้าย โดยเฉพาะเด็กที่มีการไอเรื้อรัง อาจมีโอกาสเป็นโรคร้ายรุนแรงมาก สาเหตุที่เราไอเป็นกลไกที่ปกป้องเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมระคาย หรือมีเสมหะที่ลำคอ ร่างกายจะพยายามกำจัดทิ้ง ทำให้กระตุ้นให้เกิดการไอ เพื่อขับออกมา
การไอโดยทั่วไปจะไม่รุนแรง ค่อยๆ ดีขึ้นและหายเอง แต่ถ้าไอเรื้อรัง มีเลือดปน ต้องระวังโรคร้าย และรีบไปหาคุณหมอ การไอเรื้องรังจะไอติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ถ้ามีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าไม่ใช่โรคทั่วๆ ไป อาจเป็นวัณโรค หรือมะเร็งปอด อาจเป็นเพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ถ้ารักษาช้าอาจเกิดโรคแทรกซ้อน ทำให้การหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้
เพราะฉะนั้น เรื่องไอไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อย่าประมาท สังเกตอาการ ถ้ารู้สึกผิดปกติให้รีบพาไปหาคุณหมอทันที
อ่านต่อ “ยาแก้ไอก็อันตราย และการดูแลเมื่อไอแบบปลอดภัย” คลิกหน้า 2
ยาบรรเทาอาการไอก็อันตรายจริงหรือ?
สำหรับการบรรเทาอาการไอ โดยทั่วไปจะใช้ยาอมแก้ไอ ซึ่งมีหลายชนิด เช่น ยาที่กดอาการไอ มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม ซึ่งยาเหล่านี้มักมียาฆ่าเชื้ออยู่ ช่วยลดการระคายเคือง คุณพ่อ คุณแม่ไม่ควรซื้อยาเหล่านี้เองจากร้านขายยา เพราะอาจทำให้ดื้อยาได้ ควรพาลูกน้อยไปหาคุณหมอเป็นวิธีที่ดีที่สุด
จากข่าวสด ที่เคยมีเด็กนักเรียนชั้นประถมกินยาแก้ไอแล้วล้มป่วยเกือบ 100 คน ยาแก้ไอชนิดนี้มีชื่อว่า เดกซ์โทรเมธอร์แฟน เป็นยาแก้ไอแบบแห้ง อย.จัดให้ยานี้เป็นยาอันตราย ซึ่งมีทั้งแบบเม็ด และน้ำ ต้องได้รับการสั่งยาจากคุณหมอเท่านั้น แต่เด็กนักเรียนนำยาแก้ไอมาใช้ผิดประเภท กดประสาท ทำให้มึนงง ซึ่งเด็กๆ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 4 เม็ด ยาแก้ไอชนิดอื่นๆ ก็ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเช่นกัน
- ดื่มน้ำ และเครื่องดื่มอุ่นๆ บ่อยๆ มากกว่า 8 แก้วต่อวัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ลำคอ ลดคัดจมูก
- หลีกเลี่ยงอาหารแห้ง ทอด มัน เย็น หลีกเลี่ยงฝุ่นควัน ควันบุหรี่ และพักผ่อนให้เพียงพอ
- ยาบรรเทาอาการ ได้แก่ ยาแก้ไอน้ำดำ อมลูกกวาด หรือสมุนไพรไทย เช่น มะแว้ง มะขามป้อม
- ทำให้ร่างกายอบอุ่น ชวนลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้มากๆ
- เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวช่วง 6 เดือนแรก จะทำให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ
- พาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนด ช่วยป้องกันโรคต่างๆ และรับประทานวิตามินป้องกันโรค
- คุณแม่ตั้งครรภ์ และลูกเล็ก ควรหลีกเลี่ยงฝุ่นควัน ควันบุหรี่ หรือสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่อปอด
เครดิต: www.vejthani.com, , www.bloggang.com, www.kapook.com, สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล, www.todayhealth.org
Save