AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

6 พาหะนำโรค หน้าฝนที่พ่อแม่ต้องระวังให้ดี!

ฤดูฝน หนึ่งในฤดูกาลของโรคร้าย … ไม่อยากให้ลูกป่วยไม่สบายต้องกันลูกให้พ้นจาก 6 พาหะนำโรค เหล่านี้ให้ดี!

 

 

เข้าสู่หน้าฝนกันแล้วนะคะ คุณพ่อคุณแม่ขา … อีกหนึ่งฤดูแห่งการเจ็บป่วยของเด็ก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องคอยเฝ้าระวังเป็นอย่างดี ซึ่งนอกเหนือจากโรคยอดฮิตที่มากับฤดูฝนแล้ว ยังมีเหล่าแมลงและสัตว์นานาชนิดที่ควรจะต้องระวังด้วยเช่นกัน ซึ่งในวันนี้ทีมงานจะขอหยิบยกคำเตือนของ นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย ภายหลังจากที่ได้ออกมาเปิดเผย สัตว์มีพิษ และแมลงต่าง ๆ ที่เป็น พาหะนำโรค ร้ายมาสู่ลูกหลายของเราให้ได้รู้จักกันค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น พร้อมแล้วไปดูกันเลย

นายแพทย์ดนัย ได้เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนนั้น ประชาชนส่วนใหญ่มักได้รับผลกระทบจากสัตว์มีพิษและแมลงที่มักจะชอบอยู่ตามบริเวณบ้าน หรือรอบ ๆ บ้านของเรา ซึ่งบางชนิดนั้นส่งผลอันตรายกับชีวิตลูกได้เลยทีเดียว ดังนั้น การรู้ให้เท่าทันเพื่อนำไปสู่การป้องกันที่ถูกต้องจึงเกิดขึ้น

6 พาหะนำโรค ที่ต้องระวังให้ดีช่วงหน้าฝน

1. งู

สัตว์มีพิษร้ายแรงที่พบมากในช่วงฤดูฝน และมักจะชอบอาศัยอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะ รก และมีแหล่งอาหาร และหากคุณพ่อคุณแม่เคยอ่านเรื่องราวที่มีการเผยแพร่บนโลกโซเชียลก็จะพบว่า บางครอบครัวนั้นเคยออกมาแชร์เตือนภัยหลังจากที่พบงูซ่อนและหลบอยู่ในรองเท้า หรือแม้แต่ช่องแอร์ก็ตาม ซึ่งวิธีป้องกันไม่ให้งูเข้ามาในบ้านนั้นสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด:

  1. รีบดูให้แน่ใจว่างูที่กัดเป็นงูอะไร พยายามจดจำ สี รูปร่าง ลักษณะศีรษะ ถ้าเป็นไปได้ ควรนำเอาตัวงู มาให้แพทย์
    ดูด้วย เพราะจะได้ทำการรักษาให้ตรงกับชนิดของงู แต่ถ้าไม่สามารถทำได้จริง ๆ ก็ไม่เป็นไรค่ะ อย่าเสียเวลา เพราะยิ่งนานพิษร้ายก็อาจเข้าสู่ร่างกายได้
  2. ใช้เชือกรัดเหนือบริเวณที่ถูกกัดเล็กน้อย ไม่ควรรัดแน่น เนื่องจากจะทำให้เนื้อบริเวณนั้นขาดเลือด และในบางส่วน เช่น นิ้ว ไม่ควรรัดบริเวณนิ้ว แต่ควรรัดบริเวณส่วนข้อมือ หรือข้อเท้าแทน ทั้งนี้ควรมีการคลายที่รัดไว้เดิมทุก ๆ 15 นาที
  3. ควรให้บริเวณที่ถูกกัด มีการขยับน้อยที่สุด
  4. ควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือล้างแผล ไม่ควรใส่ยาสมุนไพร เพราะจะทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อได้เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี หากคุณพ่อคุณแม่พบงูในบ้านสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่เบอร์ 199 นะคะ

2. แมลงก้นกระดก

เครดิตภาพ: สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

อีกหนึ่งแมลงตัวเล็กจิ๋วที่แฝงไปด้วยพิษสง ลักษณะของเจ้าแมลงก้นกระดกนี้ จะมีลักษณะลำตัวเป็นปล้อง ๆ สีดำสลับกับสีแดงหรือสีแดงอมส้ม เมื่อสัมผัสกับตัวแมลง มันจะปล่อยของเหลวออกมาทำให้ปวดแสบปวดร้อน  มีอาการคัน ผิวไหม้ ผื่นแดง และเป็นตุ่มน้ำ

วิธีป้องกันอันตรายจากแมลงก้นกระดก:

วิธีการปฐมพยาบาล: ในกรณีที่สัมผัสแมลงและมีอาการ ให้จุ่มหรือแช่บริเวณนั้นในน้ำเย็น 5-10 นาที สลับกับการเป่าให้แห้งหากมีอาการอักเสบร้ายแรง รีบพบแพทย์ทันที

3. กิ้งกือ

กิ้งกือ หนึ่งในสัตว์ที่หลาย ๆ คนคิดว่าไร้พิษสง แต่หารู้ไม่ว่า หากโดนเข้าไปละก็ สามารถสร้างความเจ็บปวดให้กับลูกของเราได้มากเลยละค่ะ ดังจะเห็นได้จากประสบการณ์จากคุณแม่ท่านหนึ่งที่ได้แชร์เตือนภัยว่า ลูกโดนพิษจากกิ้งกือจนแผลพุพอง โดยซึ่งกิ้งกือบางชนิดนั้นสามารถปล่อยสารพิษจากลำตัว หากสัมผัสจะทำให้ผิวหนังไหม้ ปวดแสบปวดร้อนได้เลยละค่ะ

วิธีการป้องกันไม่ให้กิ้งกือเข้าบ้าน: ให้คุณพ่อคุณแม่ปรับสภาพแวดล้อมบริเวณบ้าน ด้วยการกำจัดกองใบไม้ เล็มหญ้าให้สั้น ให้แดดส่องถึงพื้น และอุดรอยร้าว เพื่อป้องกันไม่ให้กิ้งกือคลานเข้าบ้าน

วิธีรักษาพิษจากคือ

  1. ให้ล้างผิวด้วยน้ำมาก ๆ และทายาฆ่าเชื้อโรค
  2. หากสารพิษเข้าตา จะทำให้ตาอักเสบ น้ำตาไหลมาก ให้ล้างด้วยน้ำอุ่นและหยอดยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

4. แมลงวันและแมลงสาบ

 

สองแมลงใกล้ตัวที่พบได้เห็นบ่อยครั้งตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งทั้งสองชนิดนั้นเป็น พาหะนำโรค ที่สามารถติดต่อผ่านทางอาหารได้ ยกตัวอย่างเช่น

วิธีป้องกันแมลงวัน และแมลงสาบ

  1. ทำความสะอาดบ้าน ปิดอาหารมิดชิด เก็บกวาดเศษอาหารและขยะให้เรียบร้อย
  2. หากใช้สารเคมีและเหยื่อพิษ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังตามเอกสารคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

5. ยุงลาย

เครดิตภาพ: Edgy Labs

ถือเป็น พาหะนำโรค ไข้เลือดออกต้องทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. เก็บขยะและคว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง ปิดโอ่งน้ำ ถังน้ำ ให้มิดชิด
  2. เปลี่ยนถ่ายน้ำในแจกัน กระถาง ทุกสัปดาห์
  3. หลีกเลี่ยงการโดนยุงกัด ด้วยการติดตาข่ายหรือมุ้งลวด กางมุ้งนอน หรือทายากันยุง เป็นต้น

6. หนู

หนู คือหนึ่งสัตว์ที่เป็น พาหะนำโรค ร้ายอย่างโรคฉี่หนูมาสู่มนุษย์เรา แต่หากถามว่าโรคฉี่หนูนั้นเกิดจากหนูเพียงอย่างเดียวหรือไม่ … คำตอบคือไม่ใช่ค่ะ โรคฉี่หนูนั้นพบได้ในสัตว์เลี้ยง ยกตัวอย่างเช่น สุนัข แมว หมู วัว ควาย ม้า แพะ แกะ หากแต่พบได้บ่อยจากหนูเท่านั้นเองค่ะ โรคฉี่หนูติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยขับถ่ายเชื้อโรคออกมาทางปัสสาวะ เชื้อโรคอาศัยได้ในดินที่ชื้นแฉะ และมีน้ำขัง เข้าสู่ผิวหนัง เช่น ซอกนิ้วมือ เท้า และบาดแผล การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน การหายใจเอาไอละอองที่ปนเปื้อนเข้าไป เข้าทางเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ตา และปาก

วิธีการป้องกัน:

  1. ไม่เดินย่ำ หรือในที่ที่มีน้ำท่วมขัง ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่รองเท้าบูทยาง ถุงมือยาง เป็นต้น
  2. ฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันโรค และไม่สัมผัสสัตว์ที่ไม่น่าไว้วางใจ หรืออาจเป็นพาหะ
  3. กำจัดหนู และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู
  4. เมื่อสัมผัสโดนสิ่งสกปรก รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็ว เพื่อป้องกันโรค

เห็นไหมละคะ สัตว์แต่ละชนิดที่จะมาเป็น พาหะนำโรค นั้นใกล้ตัวของพวกเราเสียเหลือเกินเลยละค่ะ เมื่อทราบแบบนี้แล้วอาจจะต้องเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่แล้วละนะคะ ที่จะช่วยกันป้องกันและแนะนำลูกให้เข้าใจว่าสัตว์แต่ละชนิดนั้นน่ากลัวเพียงใด

ขอบคุณที่มา: Sanook

อ่านต่อบทความอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids