AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ให้ลูกกินน้ำนมได้ไหม ถ้าแม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ติดเชื้อโควิด-19

ถ้าแม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง กังวลว่าหาก ติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นมา ยังให้ลูกกินนมแม่ได้ไหม  ต้องทำอย่างไรให้ลูกกินนมได้ปลอดภัย หรือต้องตัดใจให้ลูกหย่านม เพื่อป้องกันไว้ดีที่สุด

แม่เสี่ยง ติดเชื้อโควิด-19 ยังให้นมได้หรือเปล่า

ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่การแพร่ระบาดมากขึ้น คุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ  หรือมีโอกาสพบปะกับผู้เสี่ยงติดเชื้อ ทำให้รู้สึกกลัวว่าถ้าตัวเองติดเชื้อขึ้นมา จะทำให้ลูกป่วยไปด้วยหรือไม่

เชื้อโควิด-19 ผ่านนมแม่ได้หรือไม่

สำหรับคุณแม่ให้นมอาจรู้สึกกังวลเป็นพิเศษว่า หากติดเชื้อโควิด-19 เชื้อจะส่งผ่านน้ำนมไปถึงลูกน้อย ณ.ปัจจุบัน ยังไม่มีการตรวจพบเชื้อไวรัสชนิดนี้ในน้ำนม จึงยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าถ่ายทอดผ่านน้ำนมได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม โควิด-19 สามารถแพร่กระจายจากละอองฝอยจากการไอ หรือจามได้

MUST READ : คำแนะนำในการรับมือไวรัสโคโรนา สำหรับแม่ท้องและให้นม

แม่เสี่ยง ติดเชื้อโควิด-19 ยังให้นมได้หรือไม่

ช่วงการให้นมลูก ที่คุณแม่ต้องโอบกอด หรือนอนใกล้ชิดกับลูกเป็นเวลานาน หากคุณแม่ติดเชื้อก็มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อให้ลูกได้ ดังนั้นหากคุณแม่ได้รับการยืนยันว่าได้รับ ติดเชื้อ โควิด – 19  มีความเสี่ยง หรือเข้าข่าย ควรใช้มาตรการป้องกันที่เป็นไปได้ทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อไวรัสไปสู่เด็กทารก

ในอีกมุมหนึ่ง น้ำนมแม่เป็นเกราะชั้นดีที่ช่วยป้องกันโรคภัย และเป็นแหล่งอาหารดี่ที่สุดสำหรับทารก สำหรับคุณแม่ในกลุ่มเสี่ยง หรือเข้ารับการตรวจแล้วรอการยืนยันผลตรวจ อาจจำเป็นต้องอยู่ห่างลูกน้อยไปก่อน โดยไม่จำเป็นต้อง “หย่านม” แต่ให้เปลี่ยนวิธีการให้นม  ด้วยการปั๊มนมใส่ขวด  ให้คนในบ้านที่ไม่เสี่ยงติดเชื้อ  เป็นผู้ป้อนนมแทน เป็นต้น

 3 ขั้นตอนแม่ควรทำ ก่อนให้นมลูก

อ่าน เมื่อแม่จำใจต้องให้ลูกหย่านม ต้องทำอย่างไร หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

 

การหย่านมเป็นเรื่องทำใจลำบากสำหรับคนเป็นแม่ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งใจจะเลี้ยงด้วยนมแม่ให้ยาวนานที่สุด แต่ด้วยเหตุสุดวิสัย หรือเพื่อป้องกันไม่ให้ลูก ติดเชื้อโควิด-19  ซึ่งไม่สามารถให้นมแม่ต่อไปได้ ทำให้ “คุณแม่จำใจต้องหย่านม”  จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า  เนื่องจากการหย่านมแม่แบบกะทันหันมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของทั้งคุณแม่และลูกน้อย เช่น อาการคัดเต้า เต้านมอักเสบ  ซึมเศร้า  ลูกร้องงอแง เป็นต้น ดังนั้นการหย่านมจึงควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป

แม่จำใจต้องให้ ลูกหย่านม ควรทำยังไงดี

คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ เพจนมแม่ป้าหมอสุธีรา ได้แนะนำการเตรียมตัวสำหรับคุณแม่หย่านมไว้ว่า เริ่มต้นจากดูก่อนว่าปริมาณน้ำนมมากหรือน้อย หากมีน้ำนนมมาก ควรใช้วิธีค่อยๆลดการดูดนมให้น้อยลง 1 ครั้งทุกๆ 3-4 วัน ไม่ควรหยุดทันที เพราะทำให้เต้านมคัดและอักเสบตามมา แต่ถ้าจำเป็นต้องหยุดกะทันหันควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาหยุดน้ำนม (Parlodel) ก่อน หากปวดเต้าให้บีบน้ำนมออกบางส่วนจนหายเจ็บ อย่าปั๊มจนเกลี้ยงเต้า เพื่อหลอกร่างกายให้ผลิตนมน้อยลง ประคบเย็นบ่อยๆและใส่เสื้อชั้นในรัดกว่าปกติ

สำหรับลูกน้อยวัยก่อน 4 เดือน ให้สลับการดูดเต้ากับการให้ดูดขวด หรือถ้วย แต่ถ้าลูกโตกว่านั้น อาจยากที่จะฝึกให้ดูดขวด ซึ่งต้องหัดกันใหม่โดยให้ลูกดูดขวดก่อนเข้าเต้า หรือก่อนอาหารวันละ 1-2 ครั้ง ไม่ควรบังคับ หรือหากลูกดื่มนมจากภาชนะอื่น ก็ไม่จำเป็นต้องดูดขวด ส่วนลูกวัย 9 เดือนขึ้นไปที่กินอาหารเสริมได้มากขึ้น จะเริ่มสนใจการดูดนมแม่น้อยลง จะสามารถหย่านมได้ง่ายกว่า อาจใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์ นอกจากลูกป่วยหรือเจ็บปากเพราะฟันขึ้น อาจต้องการกลับไปดูดนมแม่อีกครั้งเพื่อความอุ่นใจ

สิ่งไม่ควรทำ อยากให้ลูกหย่านมได้สำเร็จ

อย่างก็ดี อยากให้คุณแม่ไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะหย่านมลูกในช่วงที่มีโรคระบาดนี้ เพราะน้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันที่ช่วยปกป้องลูกแข็งแรงได้ หากยังสามารถให้นมแม่ได้ ก็ควรให้ต่อไปเพียงแค่เปลี่ยนวิธีเป็นการปั๊มนมให้กินแทน เพื่อให้ลูกปลอดภัยและได้ประโยชน์ครบถ้วน แต่ถ้าจำเป็นต้องหย่านม ขอให้คุณแม่ปฏิบัติอย่างถูกต้อง ที่สำคัญต้องไม่รู้สึกผิดกับตัวเอง เพราะสุขภาพจิตที่ดีของแม่มีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยด้วย

บทความน่าอ่าน

9 คาถากันโรคภัยไข้เจ็บ สวดได้ทุกวันทั้งครอบครัว

วิธีทำหน้ากากผ้าง่ายๆ ให้ลูก จาก “ผ้ามัสลิน” กันโควิด-19 ดีสุด!

มารู้จัก “เอลเดอร์เบอร์รี่” ซุปเปอร์ฟู้ดสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัสได้


แหล่งข้อมูล : UNICEF   เพจเลี้ยงนมแม่ป้าหมอสุธีรา

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids