เครดิตภาพ www.o-livemagazine.com
ถ้าพูดถึง อาการเรอ หลายคนก็คงจะคิดว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรใช่มั้ยคะ เพราะเป็นอาการปกติ ที่ใครๆก็เป็นได้ และพบเห็นได้บ่อย แต่คุณรู้ไม่ว่า? ถ้าเกิดอาการ เรอบ่อย จนผิดปกติขึ้นมาล่ะ อาจเป็นผลมาจากโรคร้ายบางอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวคุณก็ได้
เรอบ่อย บอกโรคได้
เรอ เป็นอาการของร่างกายในการขับลมออกจากกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหารออกทางปาก ทำให้เกิดเสียงที่เกิดจากสั่นของหูรูดหลอดอาหาร และมีกลิ่นของอาหารที่ได้บริโภคยังค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร โดยมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไปและทำให้กระเพาะอาหารพองตัว
เรอบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร?
เรอบ่อย เกิดจากการมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ ซึ่งการที่มีลมมากกว่าปกตินั้น มาจากสาเหตุหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อย คือ รับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำอัดลม แต่การเรอบ่อย ก็ยังสามารถมาจากสาเหตุอื่นได้ เช่น จากอาการไม่สบายท้องที่เกิดจากสาเหตุอื่น ดัังนี้
การกลืนลม การกลืนอากาศเข้าไป โดยการกลืนลมในปริมาณมาก อาจจะเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมต่อไปนี้
- รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มเร็วเกินไป
- รับประทานอาหารพร้อมกับคุยไปด้วย
- เคี้ยวหมากฝรั่ง
- ดื่มน้ำจากหลอดดูด
- สูบบุหรี่
- ใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี
- เกิดความวิตกกังวล
- ดูดนม เช่น เด็กอ่อนที่กินนมแม่
- หายใจลึก ยาว หรือเร็วกว่าปกติ
การรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มบางชนิด ทำให้เรอบ่อยขึ้น เช่น
- น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- อาหารที่มีแป้ง น้ำตาล หรือไฟเบอร์สูง
- อาหารที่ทำมาจากโฮลเกรนหรือธัญพืชเต็มเมล็ด
- ถั่ว
- บรอกโคลี
- หัวหอม
- กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก
- กล้วย
- ลูกเกด
- ขนมปังโฮลวีท
การมีกรดในกระเพาะอาหารมาก เช่น
- ดื่มกาแฟ (สารคาเฟอีน)
- ปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ และความเครียด
- มีอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารมาก จากน้ำย่อยอาหารไม่เพียงพอ เช่น กินอาหารมากเกินไป
เกิดจากยาบางชนิด เช่น
- ยาอะคาร์โบส (Acarbose) เป็นยารักษาเบาหวาน ชนิดที่ 2
- ยาระบาย เช่น ยาแลคตูโลส (Lactulose) และยาซอร์บิทอล (Sorbitol)
- ยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยานาพรอกเซน ยาไอบูโพรเฟน และยาแอสไพริน โดยการใช้ยาแก้ปวดในปริมาณมากอาจทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เรอบ่อย
คลิกหน้า 2 >> แพทย์เตือน เรอบ่อยเสี่ยงหลายโรคได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เรอบ่อย สัญญาณอันตราย บอกโรคร้ายอะไรบ้าง?
นายแพทย์สมดี รัตนาวิบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เคยกล่าวว่า “สาเหตุที่ร่างกายมีอาการปั่นป่วนเกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย เรอ และผายลมบ่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงาน เพราะจากปัญหาความเครียด ทั้งจากการแข่งขันภายในองค์กร เศรษฐกิจ สังคม และภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีต่อครอบครัว ส่งผลให้เครียดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งแพทย์ก็ได้เตือว่า หากคาดว่ามีภาวะเสี่ยงดังที่กล่าวมา ควรปรับการใช้ชีวิต และรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ”
แต่นอกเหนือไปกว่านั้น การ เรอบ่อย ก็เป็นสัญญาณเตือนได้ว่า คุณอาจจะกำลังเสี่ยงโรคร้ายได้ เช่น
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- โรคกรดไหลย้อน
- โรคกระเพาะอาหาร หรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- ภาวะแพ้น้ำตาลแล็กโทส ซึ่งอยู่ในอาหารที่มีนมเป็นส่วนประกอบ
- ภาวะการดูดซึมฟรุกโตสหรือซอร์บิทอล ที่ผิดปกติ คือ ไม่สามารถย่อยน้ำตาลฟรุกโตส หรือซอร์บิทอลได้
- โรคติดเชื้อเอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร
- โรคเซลิแอค (Celiac Disease) หรืออาการแพ้กลูเตนในอาหารที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมปัง
- โรคตับอ่อนทำงานบกพร่อง ทำให้ขาดน้ำย่อยที่ใช้ในการย่อยอาหาร
- Dumping Syndrome เป็นภาวะที่กระเพาะอาหารย่อยอาหารและส่งไปยังลำไส้เร็วเกินไปก่อนที่อาหารจะถูกย่อย
อาการเรอบ่อย สามารถบรรเทาได้อย่างไร? >> อ่านต่อหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาการเรอบ่อย สามารถบรรเทาได้อย่างไร?
เมื่อมีอาการเรอบ่อย ผิดปกติ จนอาจเป็นเหตุเสี่ยงหลายโรค อย่างที่กล่าวมา ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน หรือตวรจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ
แต่ถ้าหากเป็นอาการการเรอทั่วไป สามารถบรรเทาได้ ดังนี้
- รับประทานอาหาร และดื่มเครื่องดื่มให้ช้าลง จะช่วยลดการกลืนอากาศให้น้อยลงได้
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารพร้อมกับคุยไปด้วย
- ดื่มน้ำให้มากขึ้น และหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก
- หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาลแลคโตส สารให้ความหวานซอร์บิทอล หรือฟรุกโตส ซึ่งอาจทำให้การย่อยอาหารผิดปกติสำหรับบางคน
- หลีกเลี่ยงผัก หรือผลไม้บางชนิด เช่น ถั่ว กะหล่ำปลี หัวหอม แครอท แอปริคอท ลูกพรุนบรอกโคลี หัวหอม กะหล่ำดอก กล้วย ลูกเกด ขนมปังโฮลวีท รวมไปถึงหลีกเลี่ยงหรือลดอาหารที่ทำจากโฮลเกรนหรือธัญพืชเต็มเมล็ด ซึ่งบางคนจะย่อยได้ยากและทำให้เกิดก๊าซมาก
- อาจรับประทานโยเกิร์ตแทนดื่มนม เพราะบางคนที่รับประทานโยเกิร์ตแทนการดื่มนมจะทำให้เกิดก๊าซน้อยกว่า เนื่องจากแบคทีเรียที่อยู่ในโยเกิร์ตได้ย่อยน้ำตาลแลคโตส ที่ทำให้เกิดปัญหาในการย่อยสำหรับบางคนได้บางส่วน
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือ อมลูกอม เพราะขณะที่กำลังเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือ อมลูกอม จะทำให้กลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- ตรวจสอบฟันปลอม เพราะหากฟันปลอมที่ใส่อยูไม่พอดี อาจทำให้ต้องกลืนอากาศเข้าไปมากเวลารับประทานอาหารและดื่มน้ำ
- หลีกเลี่ยงความเครียด ความวิตกกังวล
รักษาด้วยการซื้อยาที่จำหน่ายที่ร้านขายยา
- รักษาอาการจุกเสียด แน่นท้อง หรือ แสบร้อนกลางอก ด้วยยาลดกรดและยาช่วยขับลมที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาไซเมทิโคน (Simethicone) หรือถ่านกัมมันต์ (Activated Charcoa)
- อาหารเสริมเอนไซม์ เช่นAlpha-D-Galactosidase สามารถช่วยย่อยน้ำตาลในผักและธัญพืชต่าง ๆ ซึ่งย่อยได้ยากหรือทำให้เกิดก๊าซมาก
- ผู้ที่มีปัญหาการย่อยอาหารที่ผิดปกติ จากภาวะตับอ่อนบกพร่อง สามารถรับประทานเอนไซม์จากตับอ่อนเสริมพร้อมอาหาร เพื่อเพิ่มเอนไซม์ที่ขาดหายไปได้
- ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน อาจจำเป็นต้องรักษาโดยแพทย์และใช้ยาตามแพทย์สั่ง รวมไปถึงการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก www.pobpad.com / www.sanook.com
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
5 วิธีแก้ปัญหา ลูกท้องอืดท้องเฟ้อ
สะระแหน่ ไล่แมลง หนู แมงมุมได้ เคล็ดลับ ที่คุณแม่ๆต้องรู้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่