เรอบ่อย บอกโรคได้ เรื่องใกล้ตัว ที่หลายคนยังไม่รู้ - Amarin Baby & Kids
เรอบ่อย

เรอบ่อย บอกโรคได้ เรื่องใกล้ตัว ที่หลายคนยังไม่รู้

event
เรอบ่อย
เรอบ่อย

เครดิตภาพ www.o-livemagazine.com

ถ้าพูดถึง อาการเรอ หลายคนก็คงจะคิดว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรใช่มั้ยคะ เพราะเป็นอาการปกติ ที่ใครๆก็เป็นได้ และพบเห็นได้บ่อย แต่คุณรู้ไม่ว่า? ถ้าเกิดอาการ เรอบ่อย จนผิดปกติขึ้นมาล่ะ อาจเป็นผลมาจากโรคร้ายบางอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวคุณก็ได้

เรอบ่อย บอกโรคได้

 

เรอ  เป็นอาการของร่างกายในการขับลมออกจากกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหารออกทางปาก ทำให้เกิดเสียงที่เกิดจากสั่นของหูรูดหลอดอาหาร และมีกลิ่นของอาหารที่ได้บริโภคยังค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร โดยมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไปและทำให้กระเพาะอาหารพองตัว

เรอบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร?

เรอบ่อย เกิดจากการมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ ซึ่งการที่มีลมมากกว่าปกตินั้น มาจากสาเหตุหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อย คือ รับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำอัดลม แต่การเรอบ่อย ก็ยังสามารถมาจากสาเหตุอื่นได้ เช่น จากอาการไม่สบายท้องที่เกิดจากสาเหตุอื่น ดัังนี้

             การกลืนลม การกลืนอากาศเข้าไป โดยการกลืนลมในปริมาณมาก อาจจะเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มเร็วเกินไป
  • รับประทานอาหารพร้อมกับคุยไปด้วย
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง
  • ดื่มน้ำจากหลอดดูด
  • สูบบุหรี่
  • ใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี
  • เกิดความวิตกกังวล
  • ดูดนม เช่น เด็กอ่อนที่กินนมแม่
  • หายใจลึก ยาว หรือเร็วกว่าปกติ

               การรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มบางชนิด ทำให้เรอบ่อยขึ้น เช่น

เรอบ่อย

  • น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาหารที่มีแป้ง น้ำตาล หรือไฟเบอร์สูง
  • อาหารที่ทำมาจากโฮลเกรนหรือธัญพืชเต็มเมล็ด
  • ถั่ว
  • บรอกโคลี
  • หัวหอม
  • กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก
  • กล้วย
  • ลูกเกด
  • ขนมปังโฮลวีท

                 การมีกรดในกระเพาะอาหารมาก เช่น

  • ดื่มกาแฟ (สารคาเฟอีน)
  • ปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ และความเครียด
  • มีอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารมาก จากน้ำย่อยอาหารไม่เพียงพอ เช่น กินอาหารมากเกินไป

                เกิดจากยาบางชนิด เช่น

  • ยาอะคาร์โบส (Acarbose) เป็นยารักษาเบาหวาน ชนิดที่ 2
  • ยาระบาย เช่น ยาแลคตูโลส (Lactulose) และยาซอร์บิทอล (Sorbitol)
  • ยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยานาพรอกเซน ยาไอบูโพรเฟน และยาแอสไพริน โดยการใช้ยาแก้ปวดในปริมาณมากอาจทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เรอบ่อย

 

คลิกหน้า 2 >> แพทย์เตือน เรอบ่อยเสี่ยงหลายโรคได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up