คุณพ่อคุณแม่จ๋า รักลูก พยายามหลีกเลี่ยงการ ใช้ขวดน้ำซ้ำ หากไม่อยากให้ลูกต้องติดเชื้อแบคทีเรีย!
การดื่มขวดน้ำจากขวดพลาสติกนั้นถือเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ เชื่อว่าหลาย ๆ บ้านนิยมนำขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ และแน่นอนว่าจะต้องมีหลาย ๆ ครอบครัวที่ไม่ได้ล้าง และเติมน้ำดื่มลงไปในขวดเลย ทราบหรือไม่คะว่า การกระทำเช่นนั้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นอย่างมากเลยละค่ะ
นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อดีตรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ช่วงนี้มีฝนตกหนักในหลายจังหวัด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จึงมีความจำเป็นต้องนำขวดพลาสติกเปล่าที่ใช้แล้วมากักตุนน้ำไว้สำหรับดื่ม และใช้ในช่วงน้ำท่วม บางครั้งไม่ได้มีการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะบริเวณปากขวดและฝาขวด ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคจากการสัมผัสกับมือและปากที่มีการดื่มน้ำจากขวดโดยตรงได้
การนำกลับมาใช้ใหม่ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือไม่? คลิก!
เครดิต: MGR Online
ใช้ขวดน้ำซ้ำ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งจริงหรือไม่?
นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ อธิบายว่า ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้วใช้อีก อันตรายจริง โดยเฉพาะขวดน้ำพลาสติกแบบโพลีคาร์บอเนต เมื่อโดนเย็นจัดหรือร้อนจี๋ หรือการขบกัดขูดขีดกระแทก จะทำให้มีสารก่อมะเร็งกลุ่ม BPA ซึ่งเป็นสารเคมีที่พบในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากพลาสติกออกมา
ซึ่งจากงานวิจัยของฮาร์วาร์ดพบว่าเพียง 3-4 ส่วนในล้านส่วนก็ก่อมะเร็งในหนูทดลองได้ ที่ซุปเปอร์มาร์เกตในแคนาดาจึงออกกฎเตือนว่า เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องปิดฉลากเตือนไว้และถ้าเป็นเครื่องบริโภคบางอย่างถึงขนาดห้ามใช้พลาสติกเลยทีเดียว แต่สำหรับประเทศไทยบ้านเรานั้นไม่ค่อยตื่นเต้นกันเสียเท่าไร เพราะเป็นผลการวิจัยว่าเกิดมะเร็งในระดับสัตว์ทดลอง และมีปริมาณสารพิษไม่มาก แต่อย่างไรก็ดี เราคงไม่จำเป็นต้องรอจนถึงวันนั้นกันหรอกใช่ไหมละคะ แค่ไม่ประมาทและป้องกันเอาไว้ก่อนดีที่สุด
นายแพทย์ได้กล่าวถึงลักษณะของการใช้ขวดน้ำที่เสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพ
คลิกอ่านต่อได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
ใช้ขวดน้ำแบบไหน เสี่ยงต่อสุขภาพ?
สิ่งที่นายแพทย์กฤษดา พูดออกไปนั้น ไม่ได้หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถนำขวดน้ำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้นะคะ เพียงแต่ให้รู้จักใช้ได้อย่างถูกต้องเท่านั้น และนี่คือลักษณะของการใช้ขวดน้ำที่เสี่ยงต่อสุขภาพและร่างกาย จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
- ขวดพลาสติกหรือแก้วพลาสติกเอามาใช้แล้วใช้อีกซ้ำไปซ้ำมาบ่อยเกินไป
- การใช้ขวดน้ำซ้ำโดยที่ไม่ได้ทำความสะอาดก่อน
- ขวดน้ำพลาสติกที่ได้รับการกระทบกระแทกขูดขีดไปมาจากการทิ้งไว้ในรถ
- การนำขวดน้ำพลาสติกไปแช่ในความเย็นจัดที่ต่ำกว่า 0 องศา หรือไปใช้กับน้ำที่ร้อนจัด เป็นต้น
การนำขวดน้ำเก่ามาใช้นั้นเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชื่อว่า “โคลิฟอร์มแบคทีเรีย” ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยในสิ่งสกปรกต่าง ๆ รวมถึงอุจจาระของคนด้วย และเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกหรือสมาชิกในครอบครัวได้รับเชื้อนี้เข้า ก็ส่งผลให้ท้องเสีย และท้องร่วงได้
ไม่ม่ีใครตอบได้ว่า เราสามารถนำขวดน้ำพลาสติกกลับมาใช้ได้ใหม่ทั้งหมดกี่ครั้ง แต่ก่อนที่จะนำมาใช้นั้นจะต้องล้างทำความสะอาดขวดทั้งภายในและภายนอกให้เรียบร้อยก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปากขวด จะต้องสังเกตว่าสีของขวดพลาสติกที่จะนำกลับมาใช้นั้นมีสีเหลือง ขวดบุบ มีรอยร้าวแตกหรือไม่ หากมีตามที่กล่าวไปแล้วนั้น ไม่ควรนำกลับมาใช้โดยเด็ดขาด เพราะอาจจะมีสารเคมีในเนื้อพลาสติกหลุดลอกลงไปในน้ำดื่มได้ ทำให้ลูกและสมาชิกทุกคนในครอบครัวเกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียได้
เครดิต: Kapook และ สำนักข่าวไทย
อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
- แบคทีเรียกินเนื้อคน ลูกติดเชื้อจนเกือบเสียชีวิต
- ระวัง “เป่าอาหาร” เท่ากับส่งต่อแบคทีเรีย “ ลูกฟันผุ ” ไม่รู้ตัว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่