AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

โรคเด็กมีหาง สไปนา ไบฟิดา (spina bifida)

โรคเด็กมีหาง สไปนา ไบฟิดา (spina bifida)

จากเหตุการณ์จริง! ที่ประเทศจีน หนูน้อยวัย 5 เดือน เกิดมาพร้อมกับโรคสไปนา ไบฟิดา มีความบกพร่องทางกระดูกสันหลังที่หายาก คุณแม่ขอร้องให้คุณหมอผ่าตัดนำหางที่งอกออกมาด้วยความหวังว่าลูกจะหายดี แต่คุณหมอไม่สามารถผ่าตัดรักษา โรคเด็กมีหาง ให้ได้ เพราะจะสร้างความเสียหายกับระบบประสาท และทำให้เป็นอัมพาตได้

โรคเด็กมีหาง

โรค spina bifida ภาวะความบกพร่องทางกระดูกสันหลังที่หายาก

หนูน้อยวัย 5 เดือน เติบโตมาพร้อมกับหางที่ก้นยาว 5 นิ้ว เพราะเกิดจากโรคสไปนา ไบฟิดา คุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติของหางที่เติบโตมาพร้อมกับลูกน้อย ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่มีปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการขาดกรดโฟลิคตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ พบในคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 ใน 1,000 คนในประเทศอังกฤษ

โรค spina bifida ภาวะความบกพร่องทางกระดูกสันหลังที่หายาก

โรคสไปนา ไบฟิดาคืออะไร?

Spina Bifida เป็นความบกพร่องของกระดูกสันหลัง มีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลังออกมาตามตำแหน่งที่บกพร่องนั้น เกิดจากความผิดปกติในรูปทรงของกระดูกสันหลัง ซึ่งจะเป็นอันตรายไปถึงไขสันหลัง ส่วนมากจะเป็นที่กระดูกสันหลังตอนล่างประมาณ 3 ข้อกระดูกสันหลัง เด็กที่เป็นโรคนี้มักจะมีความพิการโดยกำเนิดอย่างอื่นด้วย เช่น เท้าแป มีน้ำในโพรงสมองเป็นต้น

อ่านต่อ “โรคสไปนา ไบฟิดา อาการ การรักษา และป้องกัน” คลิกหน้า 2

โรค spina bifida ภาวะความบกพร่องทางกระดูกสันหลังที่หายาก

โรคสไปนา ไบฟิดามีอาการอย่างไร?

เด็กอาจพัฒนาการช้า เช่น หัดเดินได้ช้า และเดินไม่มั่นคง กล้ามเนื้อที่ขา และเท้าไม่มีแรง ผิวหนังบริเวณก้น และต้นขาไม่มีความรู้สึก บางรายพบว่ามีเยื้อหุ้มไขสันหลังปูดออกมา รอยปูดจะอยู่ตรงกลางกระดูกสันหลังด้านล่าง มีลักษณะเหมือนถุงอ่อนนิ่ม และขั้วของประสาทไขสันหลังจะอยู่ในนั้นด้วย บางครั้งพบว่าถุงที่ปูดออกมาเกิดรั่ว น้ำไขสันหลังซึมออกมา ทำให้เป็นอันตรายจากการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง

การรักษาโรคสไปนา ไบฟิดา

เด็กที่เป็นโรคนี้จะต้องได้รับการผ่าตัดทันที แต่ถ้าไขสันหลังส่วนนั้นเสียไปแล้ว การผ่าตัดจะไม่สามารถช่วยให้ดีขึ้นได้ ส่วนมากเด็กจะมีโพรงสมองเป็นอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัด การรักษาจึงต้องมุ่งไปในทางการวางแผนฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้พอสมควร

ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด อาจทำให้มีแรงดันน้ำเลี้ยงสมองมากกว่าปกติ จนทำให้เด็กหัวโต และมีน้ำหนักเกินในช่องสมอง

การป้องกันโรคสไปนา ไบฟิดา – กรดโฟลิค และวิตามินบี ช่วยป้องกันโรคสไปนา ไบฟิดาได้

คุณแม่ที่พร้อมจะมีลูกควรรับประทานวิตามิน B หรือกรดโฟลิค เอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากกระดูกไขสันหลังจะมีการพัฒนาขึ้นในช่วง 4 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ การรับประทานหลังตั้งครรภ์แล้วมักจะสายเกินไป เพราะกว่าคุณแม่จะรู้ตัวว่าตั้งท้องก็จนกว่าจะทราบว่าประจำเดือนไม่มา ทำให้ช้าเกินกว่าจะป้องกัน

กรดโฟลิคมีอยู่รอบตัวเรา มีมากในพืชผัก เช่น ผักใบเขียว ข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวโอ๊ต เป็นต้น หน่วยงานชื่อ Oklahoma State Department of Health ในประเทศสหรัฐฯ ออกคำเตือนว่า ผู้หญิงที่อยู่ในวัยที่สามารถมีบุตรได้ควรรับประทานวิตามิน B, Folic Acid (กรดโฟลิก) ทุกวันเพื่อลดอัตราการเสี่ยงในการมีครรภ์แล้วถูกคุกคามโดยโรคสไปนา ไบฟิดาและมีกฎหมายบังคับให้เติมกรดโฟลิคในแป้งทำขนมปัง และอาหารกลุ่มธัญพืชทุกชนิด

โรค spina bifida ภาวะความบกพร่องทางกระดูกสันหลังที่หายาก

เครดิต: news.qtv.com.cn, dailymail.co.uk, นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง, ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, healthmeplease.com, พญ. สินีนาฏ คนธรรพ์

Save

Save

Save