โรคความจำเสื่อม ที่คนเข้าใจว่ามักพบในกลุ่มผู้สูงนั้น ปัจจุบันพบว่า เด็กและวัยรุ่นมีปัญหาความจำเสื่อมก่อนวัยเพิ่มขึ้นเพราะเล่นเทคโนโลยี ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า digital dementia หรือความจำเสื่อมจากการเสพติดดิจิทัล พ่อแม่จึงควรรู้ทันและป้องกันก่อนสายเกินไป
ปัจจุบันต้องยอมรับว่าหลายครอบครัวใช้มือถือเป็นตัวช่วยในการให้ลูกอยู่นิ่งในเวลาที่พ่อแม่อยากมีเวลาทำอย่างอื่นสักพัก หรือในเวลาที่ลูกไม่ยอมกินข้าว แค่มีมือถืออยู่ในมือ ก็ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่จัดการกับเจ้าตัวน้อยได้ง่ายขึ้น ทั้งๆ ที่ มีรายงานถึงผลกระทบจากการเสพติดมือถือของเด็กๆ มากมาย เช่น ทำให้สมาธิสั้น อารมณ์รุนแรง เด็กจะมีปัญหาทางความคิด มีอาการซึมเศร้า กระวนกระวาย และส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ และการเข้าสังคม
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีโรคใหม่ที่เรียกว่า digital dementia มาเพิ่มอีก ซึ่งโรคนี้ทำให้เด็กมีอาการความจำเสื่อมอย่างหนัก เนื่องจากเสพติดเทคโนโลยีมากเกินไป
บทความแนะนำ ผัก ผลไม้ บํารุงสมอง ป้องกัน อัลไซเมอร์
Digital Dementia คืออะไร?
Digital Dementia หรือ อาการความจำเสื่อมจากการเสพติดดิจิทัล เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปที่ใช้อุปกรณ์สำหรับสื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องคอมพิวเตอร์มากเกินไป โดยเฉพาะกับเด็กและวัยรุ่น ซึ่งผลกระทบของโรคนั้น เด็กจะมีปัญหาความจำเสื่อมถอย จนจดจำรายละเอียดในชีวิตประจำวันต่างๆ ไม่ได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ และอื่นๆ เพราะสมาร์ทโฟนช่วยคิด ช่วยจำแทนเรา หรือแม้แต่การคิดเลขง่ายๆ เราก็ใช้เครื่องคิดเลขแทน เมื่อสมองไม่ได้ถูกใช้งาน ความจำก็จะเสื่อมถอยลงนั่นเอง
Digital Dementia เกิดได้อย่างไร?
สาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่สมองถูกใช้พลังไปกับการใช้สื่อดิจิทัลมากเกินไป เช่น การใช้ social media บนสมาร์ทโฟน หรือการติดเกมออนไลน์บนคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก ทำให้พัฒนาการของสมองชะงักงัน โดยสมองซีกซ้ายจะมีการพัฒนามากกว่าซีกขวา หรืออีกนัยหนึ่ง สมองซีกขวามีการพัฒนาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งสมองซีกขวานั้นนับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากเป็นส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้สมาธิ รวบรวมข้อมูล และความจำ การพัฒนาที่ต่ำจึงกระทบต่อความจำและความสนใจ ทำให้มีอาการความจำเสื่อมก่อนวัย 15% นอกจากนี้ ยังพบว่า คนกลุ่มนี้ยังมีภาวะการพัฒนาทางอารมณ์ต่ำ โดยเด็กเสี่ยงสูงกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กมีสมองที่จะต้องพัฒนามากกว่าผู้ใหญ่
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ>> เคสจริง! เด็กเกาหลีใต้ ความจำเสื่อมเพราะเทคโนโลยี คลิกหน้า 2
เกิดขึ้นจริง! เด็กเกาหลีใต้ ความจำเสื่อมเพราะเทคโนโลยี
เกาหลีใต้ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดของโลก และปัญหาการเสพติดอินเทอร์เน็ตกำลังเป็นกันมากในหมู่ผู้ใหญ่และวัยรุ่น และทำให้เกิดภาวะอาการป่วยใหม่ คือ “digital dementia” ซึ่งมีอาการความจำเสื่อมถอย หรือไม่รับรู้สภาพสังคม คนรอบข้าง หรือโลกภายนอก ที่ปกติแล้วจะพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวรุนแรง หรือมีอาการทางจิต
ข้อมูลการศึกษา โดย ดร.ยุน จี-วอน แพทย์ประจำศูนย์วิจัยสมดุลสมอง ประเทศเกาหลีใต้ ระบุว่าปัจจุบันมีเด็กๆ อายุ 10-19 ปีมีโทรศัพท์มือถือใช้กันและใช้เป็นระยะเวลานานมากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวันเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ซึ่งตัวอย่างเคสที่ ดร.ยุน พบเจอกับโรคความจำเสื่อมจากสื่อดิจิทัลนั้นคือ คิม มิน-วู วัย 15 ปี ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความจำอย่างหนัก ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่า คิม มิน-วู มีอาการเริ่มต้นของโรคความจำเสื่อมเนื่องจากใช้ชีวิตผูกติดกับเทคโนโลยีดิจิตอลมากเกินไป
ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่เด็กชายวัย 15 ปีคนนี้จะมีอาการผิดปกติเช่นนี้ เพราะเขาใช้เวลาเกือบ 10 ปีในช่วงชีวิตวัยเรียนรู้ ผูกติดกับอุปกรณ์ไอที คอมพิวเตอร์ และ อินเทอร์เน็ต ตั้งแต่อายุ 5 ปี จนทำให้เขากลายเป็นเด็กติดเกมขั้นรุนแรง ใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟนหลายต่อหลายชั่วโมงในแต่ละวัน
บทความแนะนำ อุทาหรณ์ ลูกน้อยติดมือถือจนถึงขั้น “ลงแดง!!”
นพ.คิม ยัง-โบ แห่งศูนย์การแพทย์จิล แห่งมหาวิทยาลัยเกชอน อธิบายว่า อุปกรณ์ไอทีเป็นตัวบ่อนทำลายระบบความจำในสมอง เพราะอุปกรณ์ไอทีช่วยเหลือผู้ใช้ได้แทบทุกอย่าง ทำให้ผู้ใช้ไม่ใส่ใจที่จะใช้สมองในการจดจำอะไรอีกต่อไป เพราะการใช้สมาร์ทโฟนจะกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้าย ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับจินตนาการ และการเรียบเรียงเหตุผล มากกว่าซีกขวาที่เกี่ยวข้องกับการแสดงอารมณ์ และความจำ ทำให้กลายเป็นโรคสมองเสื่อมได้อย่างรวดเร็ว
ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาเตือนว่า พ่อแม่และผู้ปกครองควรจะตระหนักถึงอันตรายต่อการปล่อยให้บุตรหลานเล่นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ มากเกินไปค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ>> แก้ปัญหาลูกติดมือถือใน 7 วัน คลิกหน้า 3
อาการติดมือถือของลูก มักเริ่มจากพ่อแม่เป็นผู้หยิบยื่นเทคโนโลยีให้ลูก ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เพราะคิดว่าลูกจะได้ฝึกภาษา จดจำคำศัพท์ได แต่เมื่อให้ลูกใช้บ่อยๆ เข้า จาก 5-10 นาทีกลายเป็นชั่วโมง หากเริ่มสังเกตเห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูก เริ่มดูคลิปไม่จบ เปลี่ยนคลิปไปเรื่อย โวยวาย ใจร้อน แสดงว่าลูกเริ่มติดอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องหาวิธีแก้ไขอย่างเร่งด่วน ดังนี้
แก้ปัญหาลูกติดมือถือ วันที่ 1
วันแรกเริ่มจากการเก็บอุปกรณ์มือถือ และแท็บเลต ออกไปให้พ้นหูพ้นตาลูกๆ ปิดเครื่องได้จะยิ่งดี คุณพ่อ คุณแม่ก็ต้องไม่ใช้ด้วย ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ ถ้าลูกร้องอยากขอดูมือถือ แท็บเลต ก็ชักจูงให้ลูกไปทำอย่างอื่น เช่น เล่นน้ำ ให้อาหารปลา เล่นกับสุนัข เก็บก้อนหิน รดน้ำต้นไม้ ดูนก อ่านนิทาน เป็นต้น คุณพ่อ คุณแม่ต้องอดทน เพราะลูกจะขอเล่นมือถือบ่อยๆ บางครั้งอาจจะทุกๆ 15 นาที คุณพ่อ คุณแม่อาจจะต้องทำตัวเป็นมือถือแทน เช่น ลูกติดเพลงที่ฟังทุกคืนในมือถือ คุณพ่อ คุณแม่ก็ต้องร้องเพลงนี้แทนการใช้มือถือจริงๆ ใจความสำคัญหลักคือ ความอดทน ใจเย็นๆ อย่าหงุดหงิด อย่าดุลูก พยายามทำให้ลูกสนุก
แก้ปัญหาลูกติดมือถือ วันที่ 2 – 4
เมื่อคุณพ่อ คุณแม่ผ่านวันแรกมาได้แล้ว วันต่อๆ มาก็จะง่ายขึ้น แต่ลูกอาจจะเริ่มเบื่อดูนก ดูปลา อาจหาตัวช่วย เช่นซื้อหนังสือเล่มใหม่ให้ลูก ในเรื่องที่ลูกสนใจ เช่นลูกสนใจสัตว์ต่างๆ ก็ซื้อหนังสือเกี่ยวกับสัตว์ให้ลูก เลือกหนังสือที่มีภาพ และสีสันดึงดูดใจ หลายๆ หน้า ลูกจะได้เปิดอ่านจนหลับ แทนมือถือ และแท็บเลต ต้องใช้ความอดทน เพราะตอนแรกๆ ลูกอาจจะไม่สนใจ ลองเปิดหนังสือ ชี้ให้ลูกดูภาพ ทำเสียงสนุกๆ ตื่นเต้นประกอบภาพจะยิ่งทำให้สนุกตื่นเต้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ>> แก้ปัญหาลูกติดมือถือใน 7 วัน คลิกหน้า 4
แก้ปัญหาลูกติดมือถือ วันที่ 5 – 6
เมื่อลูกสงบลง มีสมาธิมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เล่นสิ่งของรอบตัวมากขึ้น เริ่มไม่ถามหามือถือ และแท็บเลต คุณพ่อ คุณแม่ลองวางมือถือ และแท็บเลตเอาไว้ให้ลูกเห็น พอลูกเดินมาจะหยิบ ก็พูดด้วยเสียงที่นุ่มนวลปกติกับลูกว่า “อย่าหยิบนะลูก วางมันลง” อย่าเสียงดัง แรกๆ ลูกอาจไม่วางทันที ลองใช้วิธีเอามือไปจับมือลูกออก แล้วชมลูกว่า “ดีมากจ้ะ” ทำแบบนี้ประมาณ 2 – 3 ครั้ง ลูกจะรู้ว่าควรทำอย่างไรด้วยตัวเอง และเขาจะเตือนตัวเขาเองว่า “ไม่ ไม่” แล้วเดินจากไปแทน
แก้ปัญหาลูกติดมือถือ วันที่ 7
เมื่อลูกไม่มีปฏิกิริยาอะไรกับมือถือ และแท็บเลตอีกต่อไป เห็นใครใช้ก็ไม่เข้าไปขอดู พ่อแม่ก็ควรใช้ไม่ให้ลูกเห็น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก นอกจากนี้ลูกจะกลายเป็นเด็กที่ชอบอ่านหนังสือ และมีสมาธิมากขึ้น เรียนรู้คำศัพท์ได้เร็ว สังเกตได้จากถ้าเราเปิดคลิปจากมือถือ 20-30 ครั้ง ลูกจะจำคำศัพท์ได้เพียง 2-3 คำ แต่เมื่อคุณพ่อ คุณแม่พูดเอง หรือเปิดหนังสือให้ลูกอ่าน ลูกจะจำคำศัพท์ได้รวดเร็วกว่ามาก
นี่เป็นเพียงแนวทางในการแนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่หาวิธีมาเบี่ยงเบนความสนใจลูกจากมือถือ และแท็บเลต วิธีเหล่านี้อาจจะไม่ได้ผลกับเด็กทุกคน ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของเด็กแต่ละคน คุณพ่อ คุณแม่ต้องมีความยับยั้งชั่งใจว่า เมื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้แล้ว จะให้ลูกใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ต่อหรือไม่ อะไรที่ง่ายสำหรับเราย่อมไม่เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับลูกแน่นอน เด็กได้ความรู้และพัฒนาสมองได้จากสิ่งรอบตัวมากกว่าการนั่งดูมือถือ และแท็บเลตเสียอีก
อ่านต่อบทความแนะนำ คลิก!
“7 พฤติกรรมก่ออันตรายให้ลูก” ที่พ่อแม่ติดมือถือต้องหยุดทำ!
ชีวิตเปลี่ยน…เมื่อซื้อมือถือให้ลูกน้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก: pantip.com, report.thaihotline.org, komchadluek.net
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่