ท้องร่วง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าหนาว โดยเฉพาะโรคท้องร่วงที่เกิดจาก โรต้าไวรัส และ โนโรไวรัส ที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว เด็กเล็กอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
ระบาดหนัก!! หนาวนี้พบป่วย “ท้องร่วง” เก้าแสนกว่าคนแล้ว
นายแพทย์สุวรรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้เผยแพร่พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ วันที่ 17-23 พ.ย.2562 โดยกล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะเชื้อโรต้าไวรัส ซึ่งพบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ท้องร่วง ชนิดรุนแรงได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังได้รายงานสถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในประเทศไทย ดังนี้
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 18 พ.ย. 2562 พบผู้ป่วย 942,095 คน เสียชีวิตแล้ว 7 คน โดยมีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ และกลุ่มอายุที่ป่วยสูงสุด คือ อายุมากกว่า 65 ปี (13.69%) รองลงมา คือ 15-24 ปี (11.98%) และ 25-34 ปี (11.46%) ตามลำดับ ซึ่งตั้งแต่ต้นปีพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเป็นกลุ่มก้อนจำนวน 4 เหตุการณ์ สาเหตุล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่ามีสาเหตุมาจากเชื้อโรต้าไวรัส
กรมควบคุมโรค คาดว่า จำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรต้าไวรัส เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวจะเจริญเติบโตและทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ดีในช่วงฤดูหนาว ทำให้ประชาชนมีโอกาสได้รับเชื้อจากการกินอาหารและน้ำ หรือสัมผัสกับของเล่น หรือเครื่องใช้ที่มีไวรัสปนเปื้อนสูงขึ้น
ทั้งนี้ แนะนำให้ประชาชนเลือกรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และมีการปรุงหรือผลิตที่ได้มาตรฐาน ก่อนกินอาหารควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งและในกรณีที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ควรระมัดระวังเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้เป็นกรณีพิเศษ ไม่ควรใช้ภาชนะ หรือแก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น
หากผู้ใดมีอาการถ่ายเหลวมากกว่าวันละ 3 ครั้ง ควรดื่มน้ำเกลือแร่ หรือสารละลายเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปทันที หากอาการยังไม่ดีขึ้น รู้สึกอ่อนเพลีย อาเจียนรุนแรง หรือมีอาการขาดน้ำ ควรรีบไปพบแพทย์ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงได้
ขอบคุณข่าวจาก : https://news.thaipbs.or.th/dcontent/286184
กลุ่มเด็กเล็ก เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดต่อโรคท้องร่วงนี้ เพราะมักจะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ และยิ่งหากมีอาการ ท้องร่วง ที่เกิดจากไวรัสโรต้าหรือโนโรไวรัสแล้ว จะทำให้เด็กอาเจียน ท้องร่วง ได้รุนแแรงกว่าผู้ใหญ่ทั่วไป
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ท้องร่วง..ในเด็ก มีอาการอย่างไร? เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?
ท้องร่วง..ในเด็ก มีอาการอย่างไร?
ผู้ป่วยโรคท้องร่วงจะมีอาการ แน่นท้อง ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และถ่ายบ่อย การให้ยาเพื่อบรรเทาอาการท้องร่วงในเด็กนั้น จะให้เหมือนผู้ใหญ่ไม่ได้ จึงทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการขาดน้ำได้ ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการต่อไปนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
- อุจจาระมีหนอง หรือเลือด
- มีไข้มากกว่า 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- อาการไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง
- มีอาการปวดท้องอย่างมาก
- มีอาการของการขาดน้ำ โดยในเด็กเล็ก มีวิธีการสังเกตอาการขาดน้ำของลูก ดังนี้
- ปากและลิ้นแห้ง
- ไม่มีน้ำตาเวลาร้องไห้
- ไม่มีปัสสาวะมากกว่า 3 ชั่วโมง
- แก้มตอบ ท้องแฟบ ตากลวง
- มีไข้สูง
- ร้องกวน
- ผิวแห้ง
9 สิ่งที่ควรทำ และควรหลีกเลี่ยงเมื่อลูกท้องร่วง
- ห้ามกินยาแก้ท้องเสียที่ทำให้หยุดถ่ายโดยเด็ดขาด เพราะแม้ตัวยาจะทำให้ร่างกายหยุดถ่าย แต่เชื้อโรคและอุจจาระที่ค้างอยู่ภายในลำไส้ก็ยังคงอยู่ สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ อาการปวดท้อง แน่นท้องมากขึ้น ฉะนั้น หากเกิดอาการท้องเสีย ผู้ป่วยต้องถ่ายอุจจาระออกไปให้หมดเพื่อล้างเชื้อโรคที่อยู่ในลำไส้
- งดนมและผลไม้
- ดื่มน้ำเกลือแร่เข้าไปทดแทนน้ำที่เสียไปพร้อมกับอุจจาระ โดยการใช้น้ำต้มสุกผสมกับผงเกลือแร่ แล้วจิบแทนน้ำทุกครั้งเมื่อมีอาการท้องเสีย โดยให้จิบน้อย ๆ แต่บอ่ย
- หลีกเลี่ยงการดื่มนม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งเครื่องดื่มจำพวกชา กาแฟ รวมถึงน้ำผลไม้
- ควรรับประทานเฉพาะอาหารอ่อนที่สามารถย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มเกลือ และหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดหรือรสจัด
- รับประทานอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เพราะเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวจะช่วยทำให้อาการท้องร่วงทุเลาลง
- ทานยาเฉพาะที่จำเป็น เลี่ยงการให้ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ป้องกันอาการท้องเสียทั้งหมดในครั้งเดียว เพราะจะทำให้เกิดอันตรายจากฤทธิ์ยาได้
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมากเกินไปในแต่ละมื้อ เพราะจะทำให้ผนังท้องขยายตัว เป็นผลให้ต้องถ่ายอุจจาระออกมาอีก
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียดที่สุด เพื่อให้กระเพาะอาหารสามารถย่อยอาหารได้โดยง่าย และการรับประทานอาหารอย่างเร่งรีบจะทำให้เกิดแก๊สสะสมในลำไส้ ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืดตามมา
โรคท้องร่วงท้องเสียนั้น สามารถติดต่อกันได้ง่ายกว่าที่คิด โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มักจะชอบเอามือเข้าปาก ดังนั้น ในช่วงนี้จึงขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่คอยระมัดระวังให้มากขี้น
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ลูกชอบอมมือ-เอามือเข้าปาก พรากชีวิตลูกได้จากโรคท้องเสียในเด็ก
แม่เตรียมเฮ!! คาดอนุมัติ เด็กไทย หยอดโรต้าฟรี ปี63
วิธีรับมือโรคหวัดหน้าหนาว ลดลูกเสี่ยงเสียชีวิต
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.siamhealth.net, honestdocs.co
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่