ฟันหัก เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น หกล้มปากกระแทก หรือการบดเคี้ยวกัดอาหารแข็งๆ ก็ทำให้ฟันได้รับความเสียหายจนเกิดการแตกหัก บิ่นได้ค่ะ อย่างในกรณีข่าวดังล่าสุดที่คุณครูลงโทษเด็กนักเรียนด้วยการตบเข้าที่ใบหน้าจนเด็กล้มปากกระแทกจนทำให้ฟันหน้าหัก ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อแนะนำในการดูแลกรณีฟันหัก ฟันแตกมาบอกกันค่ะ
ฟันหัก เพราะถูกทำโทษ!!!
เมื่อวานอ่านข่าวครูทำโทษเด็กนักเรียนจน ฟันหัก บอกตามตรงว่าตกใจมากค่ะ และเชื่อว่าพ่อแม่ก็รู้สึกแย่และตกใจกับข่าวนี้ไม่ต่างกัน ในฐานะพ่อแม่ทุกคนยอมรับกฎกติกาได้หากบางครั้งลูกจะถูกทำโทษบ้างเล็กๆ น้อยๆ เมื่อพวกเขาทำผิดจริงๆ ซึ่งความผิดนั้นก็ต้องว่ากันไปตามเหตุและผล แต่ต้องไม่ใช่วิธีการทำโทษที่รุนแรง ใช้อารมณ์ในการทำโทษเด็กเป็นที่ตั้ง จนส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทั้งร่างกาย และจิตใจของเด็กๆ ได้ค่ะ
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ปกครอง ด.ช.เอ (นามสมมติ) นักเรียนชั้น ม.2 อายุ 14 ปี รร.ชื่อดังแห่งหนึ่งใน จ.ชัยภูมิ ได้แจ้งความต่อ ร.ต.ท.สุเมธ เสนากร รอง.สว.สส.สภ.เมืองชัยภูมิ เพื่อให้เอาผิดกับครูรายหนึ่งซึ่งมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงลงโทษบุตรชาย โดยตบเข้าที่ใบหน้าจนหน้าไปกระแทกกับชั้นเหล็กภายใน รร.เลือดกบปากฟันซี่หน้าหัก 1 ซี่ ทั้งนี้เมื่อผู้บริหารของ รร.ทราบเรื่องได้เรียกครูและนักเรียนมาพูดคุยกัน โดยครูยอมรับว่าทำเกินกว่าเหตุจริงและพร้อมที่จะรับผิดชอบช่วยค่ารักษาพยาบาลตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่ผ่านมากว่า 1 เดือนแล้วกลับไม่แสดงความรับผิดชอบ นอกจากนี้กลับมีเพื่อนครู พยายามเข้ามาช่วยโดยข่มขู่ไม่ให้เอาเรื่อง
ด.ช.เอ เล่าว่า วันเกิดเหตุได้เดินเข้าไปหาครูกำลังซื้อน้ำโดยมีเศษเงินเหรียญ ซึ่งตนเองต้องการขอแลกเพื่อนำไปเติมโทรศัพท์เท่านั้น จากนั้นครูก็บอกว่าไม่ใช่เพื่อนเล่น และไม่รู้ว่าไปโมโหใครมา ใช้มือตบเข้าที่ใบหน้าจนหัวไปกระแทกกับชั้นเหล็กอยู่ข้างๆ แถมเดินตามเข้ามาตบซ้ำ และเตะซ้ำอีก 1 ครั้ง ก่อนเดินจากไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ด้าน นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผวจ.ชัยภูมิ กล่าวว่า ทราบเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วพร้อมสั่งการให้ทาง สพม.เขต 30 จ.ชัยภูมิและฝ่ายงานเกี่ยวข้องตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้น รวมทั้งเยียวยาให้ความช่วยเหลือสภาพจิตใจของเด็กและครอบครัวเป็นการด่วน ส่วนเรื่องทางคดีหากพบว่าผิดจริงให้เอาผิดทางวินัยและดำเนินคดีอาญาโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตัวเด็กที่ไม่กล้าไปโรงเรียน
บทความแนะนำ คลิก>> ลูกมีกลิ่นปาก สัญญาณบอกโรคที่ต้องระวัง!
นายปราโมทย์ ภูมิพันธ์ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.) เขต 30 จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า ได้รับรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเบื้องต้นได้สั่งย้ายครูคนดังกล่าวมาประจำที่สำนักงาน สพม.เขต 30 ไว้ก่อน ระหว่างตั้งกรรมการสอบสวนภายใน 15 วัน เพื่อเอาผิดทางวินัยร้ายแรงเพิ่มเติม หากพบว่ามีครูรายอื่น ๆ หรือใครที่ไปเกี่ยวข้องในการข่มขู่เด็กและครอบครัวของเด็ก ก็จะต้องถูกสอบสวนด้วยเช่นกัน ส่วนคำให้การของครูผู้ก่อเหตุได้ลงบันทึกยอมรับผิดว่าทำเด็กจริง เพราะเกิดจากโทสะ ก็ต้องดำเนินไปตามระเบียบราชการ – ที่มาข่าวจาก : newtv
จากข่าวนี้จะเห็นว่าฟันของเด็กหักจากการกระแทกเข้ากับของแข็ง ซึ่งโดยทั่วไปฟันสามารถแตกหัก หรือบิ่นได้จากหลาย กรณี ไม่ว่าจะจากการกัดและบดเคี้ยวอาหารที่แข็งมากๆ ก็ทำให้ฟันเกิดการเสียหายขึ้นได้ค่ะ และเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ เข้าใจถึงวิธีการดูแลฟันของลูก หรือแม้แต่ฟันของตัวเอง ที่ก็อาจเกิดการแตก หักขึ้นมาได้โดยไม่ได้ตั้งใจ…
อ่านต่อ วิธีดูแลรักษาเมื่อ ฟันแตก-หัก-บิ่น หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เมื่อลูก ฟันหัก ควรดูแลรักษาอย่างไร?
เมื่อพูดถึงฟันที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหารจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชุด คือ…
- ฟันน้ำนมมีจำนวน 20 ซี่ (ฟันบน 10 ซี่ ฟันล่าง 10 ซี่) โดยฟันน้ำนมซี่แรกจะเกิดมาเมื่ออายุจากแรกเกิดได้ 8-12 เดือน และฟันน้ำนมซี่สุดท้ายจะหลุดไปเมื่ออายุได้ 10-12 ปี
- ฟันแท้มีจำนวน 32 ซี่ (ฟันบน 16 ซี่ (ด้านขวาบน 8 ซี่ ด้านซ้ายบน 8 ซี่) และฟันล่าง 16 ซี่ (ด้านขวาล่าง 8 ซี่ ด้านซ้ายล่าง 8 ซี่)) โดยลำดับการขึ้นของฟันแท้จะขึ้นอยู่กับฟันน้ำนมที่หลุดไปค่ะ ซึ่งเด็กแต่ละคนหากได้รับการดูแลช่องปากและฟันมาเป็นอย่างดีตั้งช่วงที่ยังเป็นฟันน้ำนมก็อาจทำให้ฟันน้ำหลุดช้า และฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทนที่ก็อาจช้าไปเล็กน้อย (สามารถเช็กได้จากทันตแพทย์ของแต่ละครอบครัวอีกครั้ง)
บทความแนะนำ คลิก>> ฟลูออไรด์สาหรับเด็ก กับการใช้ยาสีฟันที่ถูกต้องในเด็ก โดยสมาคมทันตแพทย์ ปี 2560
และอย่างที่เกริ่นไปข้างต้นค่ะ ว่ามีได้หลายสาเหตุที่ทำให้ฟันของเด็กได้รับความเสียหายจนทำให้ ฟันหัก ฟันแตก ฟันบิ่น ขึ้นมา ซึ่งยิ่งถ้าเป็นฟันแท้ด้วยแล้วยิ่งต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างดีและเหมาะสมที่สุด เพราะฟันแท้ทุกซี่มีผลต่อการกัด บดเคี้ยวอาหารอย่างมาก หากซี่ใดซี่หนึ่งมีปัญหาไป สามารถส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่นๆ ได้ค่ะ
สำหรับการดูแลลูกเบื้องต้นเมื่อฟันลูกถูกกระแทก จนได้รับความเสียหาย ดังนี้…
ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ฟันของลูกเกิดการหัก แตก หรือบิ่นจนเลือดออกมาด้วย สิ่งที่ต้องทำเร่งด่วนคือพาเด็กส่งโรงพยาบาลทันที ในกรณีที่ซี่ฟันหลุดออกมา(ฟันแท้)ทั้งซี่ให้จัดการกับซี่ฟันที่หลุดดังนี้
- ให้จับฟันขึ้นมา จับตรงตัวฟัน ห้ามจับตรงบริเวณรากฟัน
- ล้างฟันด้วยน้ำสะอาดที่ไหลเบาๆ ห้ามขัดถูฟันและห้ามใช้ สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจานทำความสะอาดฟัน
- จากนั้นให้รีบพาลูกพร้อมนำเอาซี่ฟันที่หลุดออกมาส่งทันตแพทย์ทันที
คำแนะนำในการรักษาฟันหัก โดย ทันตแพทย์ อดิศร หาญวรวงศ์
ถ้าพบว่าลูกๆ ที่บ้าน หรือคนในครอบครัวมีอาการของฟันหัก แตก บิ่น ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นะคะ เพราะไม่เช่นนั้นผิวเนื้อฟันจะมีปัญหาตามมาได้ และที่สำคัญทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทานอาหารด้วยค่ะ
อ่านต่อ 4 เทคนิคดูแลฟันแท้ให้แข็งแรง หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
4 เทคนิคในการดูแลรักษาฟันลูกให้แข็งแรง
อยากให้ลูกมีเหงือกและฟันที่สวยแข็งแรง คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นดูแลช่องปากและฟันลูกได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น ไปจนถึงฟันแท้ขึ้นเต็มปาก ทญ.นราวัลลภ์ เชี่ยววิทย์ งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มีเทคนิคง่ายๆ ให้พ่อแม่ได้ใช้ดูแลฟันลูก ดังนี้ค่ะ…
1. ไม่ควรให้เด็กเล็กหลับคาขวดนม
เพราะจะเป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุลุกลามรุนแรงได้ เด็กควรเลิกดูดนมจากขวดเมื่ออายุ 12-18 เดือน
2. แปรงฟันให้ลูกวันละ 2 ครั้ง
เช้าและก่อนนอน คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่บริเวณด้านหลังของเด็กเพื่อให้สามารถมองเห็นฟันเด็กได้ทั่วทุกด้าน
- เด็กเล็กอายุ 1-3 ปี
อาจไม่จำเป็นต้องแปรงฟันในห้องน้ำ แต่สามารถนอนแปรงฟันบนเตียงได้โดยให้เด็กนอนหนุนตัก คุณพ่อคุณแม่จะสามารถแปรงฟันได้สะอาดครบทุกด้าน
- เมื่อเด็กโตขึ้น
คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้แปรงฟันโดยวิธีถูไปมาสั้นๆ ในแนวนอน แต่คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยแปรงซ้ำอีกครั้งในบริเวณที่เด็กแปรงไม่ทั่วถึงจนกว่าลูกจะสามารถแปรงเองได้ดี ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องช่วยถึงอายุประมาณ 7-9 ปี
- เด็กโตตั้งแต่วัยนี้จนถึงอายุ 11 ปี
สามารถแปรงฟันเองได้ดี แต่อาจต้องช่วยบางตำแหน่งที่เด็กแปรงไม่ถึงเท่านั้น
3. กรณีที่มีฟันซ้อนเกหรือเบียดชิด
จำเป็นต้องใช้ไหมขัดฟันเพื่อทำความสะอาดบริเวณซอกฟัน นอกเหนือจากการแปรงฟัน คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องทำให้จนกว่าลูกจะอายุ 12 ปีจนเขาทำเองได้
4. ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันครั้งแรก
อย่างช้าไม่เกินอายุ 1 ขวบ 6 เดือน และจากนั้นควรพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อตรวจประเมินฟันผุ ทำความสะอาดฟัน เคลือบฟลูออไรด์ และรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพฟัน
อยากให้ลูกยิ้มสวย เหงือกและฟันแข็งแรง พ่อแม่ต้องเริ่มต้นดูแลรักษาความสะอาดช่องปากให้ลูกตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นเลยนะคะ และหากพบว่าฟันลูกมีปัญหาไม่ว่าจะด้วยสาเหตุก็ตาม ขอให้รีบพาไปพบทันตแพทย์ทันที ที่สำคัญควรปลูกฝังให้ลูกแปรงฟันให้สะอาดและถูกต้อง พาลูกไปเช็กช่องปากและฟันปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อยด้วยนะคะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
หมอแนะ! ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ช่วยป้องกันลูกฟันผุ ได้ตั้งแต่ซี่แรก
ลูกนอนกัดฟัน ส่งผลเสียอย่างไร และแก้ด้วยวิธีไหน?
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.newtv.co.th
ทันตแพทย์ อดิศร หาญวรวงศ์. ฟันหักหรือฟันบิ่นจะทำยังไงดี. Adisorn The Dentist
ทญ.นราวัลลภ์ เชี่ยววิทย์ งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. ดูแลฟันลูกจนถึงวัยฟันแท้. นิตยสาร Amarin Baby & Kids