เมื่อ เด็กเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่ก็คงจะกังวลใจกันไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะ ยิ่งตอนนี้เข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งโรคภัยต่างๆ ก็มักจะมากับหน้าฝนซะด้วยสิ แถมแต่ละโรคก็อันตรายไม่ใช่น้อยเลย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมตััวรับมือกับ เด็กเป็นไข้ จะดูแลอย่างไรให้หายดี กันค่ะ วันนี้ทีมงาน Amarin Baby & Kids ก็มีบทความที่น่าสนใจ จาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มาฝากกันค่ะ
วิธีดูแล เด็กเป็นไข้ อันตรายที่มากับหน้าฝน
ถ้าถามว่าระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ฝ่ายใดเจ็บป่วยง่ายกว่ากัน? ไอ้หยา…ก็ไม่รู้สินะ เพราะแต่ละคนจะมีภูมิต้านทานแตกต่างกัน บางที่ผู้หญิงก็ไม่สบายว่ายกว่า แต่บางคราผู้ชายป่วยง่ายกว่าฝ่ายหญิงก็มี แต่ละคนไม่เหมือนกันหรอกเนอะ
นี่ก็เข้าฤดูฝนหรือหน้าฝนกันแล้ว แถมผนก็ตกได้ตลอดเวลาซะด้วยสิ บางทีนึกอยากจะตกก็ตก ตอนพวกเรากำลังออกจากบ้านงี้ บางทีก็ตกตอนกลางวันที่กำลังจะออกไปหาของกินกัน หรือตกตอนเลิกงาน นี่เจ็บปวดเลย ในเมื่อเอาแน่เอานอนกับฟ้าฝนไม่ได้ จึงควรพกหมวกและร่มติดตัวไว้ตลอดเวลา ถ้าเผื่อต้องใช้งานจะได้หยิบจับออกมาใช้งานได้ทันที
อีกอย่าง อยากให้ท่านผู้อ่านดูแลสุขภาพในช่วงฤดูฝนกันให้ดีๆ โดยเฉพาะครอบครัวไหนมีเด็กๆ จึงควรดูแลบุตรหลานในบ้านด้วยน้า เพราะโรคภัยไข้เจ็บที่มากับฤดูฝนนี้มีอันตรายไม่ใช่น้อย เช่น
* กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ หรืออาหารเป็นพิษ โรคเหล่านี้เกิดจากการทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจุลชีพ โดยผู้ป่วยมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้ ปวดบิดในท้อง ดังนั้น ในฤดูฝนจึงควรระมัดระวังอาหารการกิน ควรทานอาหารสุกใหม่ๆ สะอาดและใช้ช้อนกลาง อย่าลืมซะล่ะ
* กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหวัด, ไข้หวัดใหญ่, คออักเสบ, หลอดลมอักเสบ, ปอดอักเสบหรือปอดบวม แล้วไหนยังมีโรคหวัดสายพันธุ์ใหม่อีก จึงควรระวังกันไว้
* กลุ่มโรคติดต่อที่เกี่ยวกับยุง ได้แก่ ไข้เลือดออก, ไข้สมองอักเสบและโรคมาลาเรีย ล้วนแต่มียุงเป็นพาหะนำโรคทั้งนั้น จึงควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่อาจมีอยู่รอบบ้านไปให้หมด แล้วจะสุขสบายหากบ้านปราศจากยุงลายและ ยุงก้นปล่อง
ทีนี้หากคุณมีลูกมีหลานในบ้าน แล้วถ้าเกิดบุตรหลานไม่สบายขึ้นมา แล้วจะรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างนี้ได้ยังไงน้า? ที่จริงก็ไม่มีใครอยากให้เด็กๆในบ้านป่วยหรือไม่สบายกันหรอกเนอะ แต่เมื่อเป็นแล้ว จะดูแลกันอย่างไรนี่สิ เช่น
1. หมั่นสอบถามและติดตามดูความเปลี่ยนแปลงของบุตรหลานในแต่ละวัน หากวันไหนเด็กมีอาการไอจาม บางทีนี่อาจเป็นสัญญาณว่าเด็กป่วยเป็นไข้หวัดก็ได้นะ
2. ถ้าเด็กในบ้านเป็นโรคหวัดขึ้นมา ก่อนอื่นต้องวัดไข้ก่อนว่า มีไข้หรือไม่? หากเด็กมีอาการตัวร้อน, หน้าแดง, ตัวแดง ก็ควรเช็ดตัวให้ด้วยน้ำอุ่น และอาจใช้แผ่นเจลลดไข้มาปิดที่หน้าผากของเด็กก็ได้ หากเช็ดตัวหรือระบายความร้อนแล้วเด็กมีอาการดีขึ้นก็เยี่ยมไปเลย
3.ให้อาหารที่ย่อยง่ายแก่เด็ก ยามป่วยเด็กอาจไม่อยากอาหาร จึงจำเป็นต้องให้อาหารที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก, ข้าวต้ม หรือซุปก็แล้วแต่ จะช่วยให้เด็กดีขึ้นในเร็ววัน แล้วพาไปหาหมอด้วยยิ่งดี.
ขอบคุณที่มา : คนสมถะ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
เมื่อรู้จักอาการป่วยไข้ที่มาพร้อมกับหน้าฝนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็คงจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วอาการป่วยไข้แบบไหนล่ะที่ควรไปหาหมอ อ่านต่อได้ที่นี่ค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เมื่อ เด็กเป็นไข้ อาการแบบไหนที่ควรไปหาหมอ
ไข้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาการไข้เป็นการต่อสู้ตามธรรมชาติของร่างกายที่มีต่อการติดเชื้อ แต่มันก็มีอาการไข้อีกหลายอย่างมากที่ไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากการติดเชื้อ และควรต้องระวังเป็นพิเศษ ควรรีบไปพบแพทย์ หากการมีไข้มาพร้อมกับอาการรุนแรงอื่นๆ ร่วมด้วย ต่อไปนี้
• ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน
• มีผื่นขึ้นตามตัว เจ็บคอ ปวดศีรษะ คอแข็ง และ/หรือแขนขาอ่อนแรง
• หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก
• คอบวม หายใจไม่ออก
• ปวดท้องมาก
• มีอาการทางปัสสาวะ เช่น ปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด ปวดแสบขณะปัสสาวะ
แต่ถึงแม้จะไม่มีอาการเหล่านี้ แต่หากมีอาการไข้ที่ไม่ลดลงภายใน 2-3 วัน ทั้งที่ดูแลตัวเองแล้ว รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ก็ควรไปพบแพทย์ในสองวันหากมีอาการไข้ต่อเนื่อง หรือไข้ขึ้นๆ ลงๆ นานเกิน 3-4 วัน
สำหรับเด็กที่ยังมีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กเป็นไข้ ถือเป็นเรื่องที่ควรต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยถ้าหากทารกอายุน้อยกว่า 3 เดือน และมีอุณหภูมิร่างกาย 38 องศาหรือสูงกว่า ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณถึงการติดเชื้อที่คุกคามถึงชีวิต หรือหากมีอุณหภูมิมากกว่านั้นอาจทำให้เด็กชักได้
อาการชักจากไข้สูง มักพบในผู้ป่วยเด็กช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 6 ปี โดยเด็กที่เคยชักเวลามีไข้สูงหรือพ่อ แม่ พี่ มีประวัติชักเมื่อไข้สูง ต้องระวังเป็นพิเศษในขณะมีไข้ โดยเช็ดตัวและให้ยาลดไข้เพื่อป้องกันไม่ให้ไข้สูง ถ้าเด็กมีไข้สูงมาก การให้ยาลดไข้จะไม่ค่อยได้ผล ควรเช็ดตัวให้ไข้ลดเสียก่อน
นอกจากนั้นหากมีอาการเหล่านี้ร่วมกับมีไข้สูง ก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน
- ง่วงซึม อ่อนแรง
- หงุดหงิด ไม่มีความอยากอาหาร
- เจ็บคอ ไอ ปวดหู
- อาเจียน และท้องร่วง
- มีอาการชัก
- มีผื่นแดง
- รู้สึกตึงบริเวณคอ หรือปวดหู
ในเด็กเล็ก ไม่จำเป็นต้องมีอาการดังกล่าว แต่หากมีไข้ตามจำนวนวันต่อไปนี้ ก็ควรรีบไปพบแพทย์ นั่นคือ
- ในเด็กที่มีอายุ น้อยกว่า 2 ขวบ มีไข้มากกว่า 1 วัน
- ในเด็กที่มีอายุ 2 ขวบขึ้นไป มีไข้มากกว่า 3 วัน
เมื่อ เด็กเป็นไข้ สำหรับอาการไข้ ไข้หวัด และ อาการป่วยทั่วไปต่างๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่อย่าได้วิตกกังวลจนเกินไป เพราะอาการเหล่านี้จะสามารถหายได้เองเมื่อร่างกายของลูกสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคเหล่านี้ได้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้คือ ช่วยให้ลูกไม่ทรมานจากอาการป่วยต่างๆ เช่น เช็ดตัวลดไข้ ให้ทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย ป้อนยาลดน้ำมูกที่หมอสั่งเพื่อให้ลูกหายใจได้สะดวกขึ้น เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.seedoctornow.com/fever/
อ่านบทความดีๆ ต่อได้ที่นี่
การเช็ดตัวลดไข้ให้ลูกอย่างถูกวิธี
รีบไปใช้สิทธิ์! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี ทั่วประเทศ ปี 2561
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่