สหประชาชาติเผย มีเด็กเสียชีวิตวันละ 15,000 คน จากทั่วโลก โดยส่วนมากเป็นเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งเสียชีวิตจากโรคที่สามารถป้องกันได้ ถือเป็นจำนวนที่สูงอย่างยอมรับไม่ได้
โดยรายงานของสหประชาชาติระบุว่า แม้อัตราการเสียชีวิตของเด็กทารกลดลงอย่างมาก แต่ทั่วโลกยังคงมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีเสียชีวิตวันละ 15,000 คนจากโรคที่สามารถป้องกันได้
UN เผย เด็กเสียชีวิต วันละกว่า 1.5 หมื่นคน จากโรคที่ป้องกันได้!!
ซึ่งทางรายงานเตือนว่า นับจากนี้จนถึงปี 2573 จะมีเด็กเล็กกว่า 60 ล้านคนเสียชีวิตจากโรคที่สามารถรักษาได้ เนื่องจากยังมีบางประเทศในแอฟริกาและเอเชียใต้ที่ยังขาดแคลนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ องค์การอนามัยโลก และธนาคารโลกระบุในรายงานว่า เมื่อปี 2559 มีเด็กราว 5.6 ล้านคนเสียชีวิตก่อนอายุครบ 5 ปี ตัวเลขดังกล่าวลดลงอย่างมากจากเมื่อปี 2533 ซึ่งมีจำนวนถึง 12.6 ล้านคน แต่การเสียชีวิตของเด็กเล็ก 15,000 คนต่อวัน ก็ยังถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก
รายงานระบุว่า โรคที่สามารถป้องกันได้แต่คร่าชีวิตเด็กมากที่สุด ได้แก่
-
ปอดอักเสบ
-
ท้องร่วง
-
มาลาเรีย
-
และยังมี โรคภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งทำให้เด็กร่างกายอ่อนแอในการต่อต้านโรคต่างๆ นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึงครึ่งหนึ่ง
⇒ Must read : ปอดอักเสบ ในเด็ก (ปอดบวม) ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
⇒ Must read : รู้จัก ไวรัสโรต้า ต้นเหตุลูกน้อยท้องร่วง พร้อมราคาวัคซีน
⇒ Must read : ทำไม ยุงชอบกัดลูก และเด็กเล็ก?
โดยช่วงที่เด็กมีความเสี่ยงสูงสุดคือช่วงไม่กี่วันแรกหลังเด็กเกิด ซึ่ง 45% ของการเสียชีวิตเกิดขึ้น ก่อนที่เด็กจะอายุครบ 1 เดือน
นอกจากนี้ในรายงานยังได้ระบุอีกว่า…
- ในแอฟริกาแถบตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา มีอัตราการเสียชีวิตของทารกมากที่สุด โดยเมื่อปี 2559 มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ย 79 คนต่อเด็กเกิดใหม่ทุก 1,000 คน
- ขณะที่อินเดียมีจำนวนเด็กเสียชีวิตมากที่สุดถึง 850,000 คน รองลงมาคือ ไนจีเรีย มีจำนวนกว่า 450,000 คน
อ่านต่อ >> “โรคภาวะทุพโภชนาการ
สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กเสียชีวิตกว่าครึ่งหนึ่งทั่วโลก” คลิกหน้า 2
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก สำนักข่าวไทย และ www.prachachat.net
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ทั้งนี้การประชุมเวิร์ลด์ซัมมิทเมื่อปี พ.ศ.2558 กำหนดเป้าหมายที่จะลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กทารกในปี พ.ศ.2573 ให้เด็กมีอัตราการเสียชีวิตน้อยลงที่ 25 คน ต่อเด็กเกิดใหม่ 1,000 คน ซึ่งตอนนี้มีอัตราการเสียชีวิตที่ 41 คน จากเด็ก 1,000 คน ลดลงจาก 93 ราย เมื่อปี 2533
ทั้งนี้ในบางประเทศความเสี่ยงที่เด็กจะเสียชีวิตก่อนอายุ 5 ขวบ สำหรับเด็กหญิงนั้นสูงกว่าเด็กชายอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นไปจามแนวโน้มทั่วโลก โดยประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่เอเชียใต้และเอเชียตะวันตก
ทั้งนี้หลายประเทศในเอเชียมีวัฒนธรรมแต่ดั้งเดิมที่โปรดปรานเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ทำให้มีการเลือกทำแท้งอย่างบ้าคลั่งและเด็กชายมักได้รับการเลี้ยงดูที่ดีกว่าทั้งด้านอาหารและการักษาพยาบาล
ภาวะทุพโภชนาการ หมายถึง?
ภาวะที่ทารกและเด็กบริโภคอาหารและได้ รับกำลังงานสารอาหารไม่ถูกต้องทั้ง ปริมาณ ชนิด และคุณภาพ ซึ่งอาจจะได้รับมากเกินความต้องการ จนกลายเป็นโรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรืออาจได้รับน้อยเกินไปจนเกิดภาวะขาดโภชนาการ ซึ่งอาจรุนแรงจนเกิดภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร หรือบางคนได้อาหารเพียงพอ แต่สัดส่วนของอาหารไม่ถูกต้อง หรือบางคนอาจได้อาหารและกำลังงานเพียงพอแต่ขาดสารอา หารบางตัว เช่น วิตามินและเกลือแร่ ซึ่งในที่นี้จะเน้นเฉพาะเรื่องการขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร
สาเหตุของภาวะทุพโภชนาการ
สาเหตุหรือปัจจัยของภาวะทุพโภชนาการเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันตั้งแต่
- ปัญหาทางเศรษฐกิจ และทางสังคมของประเทศ
- แหล่งอาหารในชุมชน
- ความจำกัดของครอบครัวที่จะผลิตหรือซื้ออาหาร
- การขาดความรู้ที่ถูกต้องของครอบครัวในการเลี้ยงดู และในการจัดอาหารให้แก่ทา รกและเด็ก และมีความเชื่อบางอย่างที่ห้ามกินอาหารบางชนิด
- การเจ็บป่วยของทารกและของเด็ก ทำให้เด็กได้รับสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้น้อย เช่น ปัญหาการติดเชื้อ ปัญหาท้องร่วง/ท้องเสียเรื้อรัง การดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ไม่ดี ท่อน้ำดีตีบตัน ทำให้การดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันผิดปกติ เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
- ปัญหาพันธุกรรมบางอย่างทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ปกติ เพราะมีความผิดปกติในการย่อยสารอาหารบางอย่าง
- การขาดความเอาใจใส่ในการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพตามวัย
วัยที่พบภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารมากที่สุด
เด็กที่พบภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารมากที่สุด คือ “เด็กวัยก่อนเรียน” เนื่องจาก
- วัยนี้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ความต้องการโปรตีนและกำลังงานสารอาหารต่อน้ำหนักตัวสูงกว่าวัยอื่นๆ
- ยังไม่สามารถกินอาหารด้วยตนเองได้เต็มที่
- วัยนี้มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าวัยอื่นๆ
- พฤติกรรมการเลี้ยงดู ความเชื่อของผู้เลี้ยงดูเด็ก ทำให้เด็กได้รับอาหารโปรตีนและกำลังงานสารอาหารไม่เพียงพอ
อ่านต่อ >> “อาการของโรคขาดสารอาหารที่พ่อต้องควรรู้” คลิกหน้า 3
ขอบคุณข้อมูล ปัญหาโภชนาการในเด็ก : การขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร จาก : ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณี เจตศรีสุภาพ วว.กุมารเวชศาสตร์, อว.โลหิตวิทยา โดยเว็บไซต์ haamor.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาการของโรคขาดสารอาหาร
อาการแสดงของโรคมีหลายแบบซึ่งมักขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของโรค เช่น
- ถ้าเด็กขาดอาหารไม่มาก เด็กยังดูแข็งแรงดีไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่อาจมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกติเมื่อเทียบตามอายุ
- ถ้าเด็กขาดแคลอรีอย่างมาก มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กจะมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ ผอมแห้ง หนังหุ้มกระดูก ผิวหนังเหี่ยวย่น ตาลึก แก้มตอบ คล้ายมีภาวะขาดน้ำ มักเรียกโรคขาดอาหารแบบนี้ว่า มาราสมัส
- ถ้าเด็กขาดโปรตีนอย่างมาก มักพบในเด็กอายุ 1-5 ปี ซึ่งถือเป็นภาวะที่รุนแรง อาจตายด้วยโรคแทรกซ้อน เช่น ท้องเดิน ปอดอักเสบ เป็นต้น อาการแสดงของภาวะนี้เด็กจะมีอาการบวมของมือและเท้า หรืออาจบวมที่หน้าหรือบวมทั้งตัว น้ำหนักน้อยกว่าปกติ เซื่องซึม ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เบื่ออาหาร ผมบางเปราะแห้งและมีสีจาง ผิวหนังมีผื่นสีกระดำกระด่าง และหลุดลอกเป็นแผลที่บริเวณก้น ขาหนีบและต้นขา อาจมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวและเป็นฟอง โรคขาดสารอาหารแบบนี้มีชื่อเรียกว่า ควาชิวากอร์(kwashiorkor)
สิ่งตรวจพบ
มักตรวจพบเด็กจะมีน้ำหนักน้อย ผอมแห้ง หรืออาจมีอาการบวม ผมบางเปราะแห้งและมีสีจาง มีอาการซีด ลิ้นมันเลี่ยน ตับโต
ภาวะแทรกซ้อน
เด็กจะมีภูมิคุ้มกันต่ำซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เช่น ไข้หวัด ท้องเดิน ปอดอักเสบ หัด เป็นต้น เมื่อเป็นแล้วมักมีอาการรุนแรงอาจถึงตายได้ง่ายๆ อย่างก็ดีพบว่าโรคขาดสารอาหาร ทำให้เด็กอาจมีสติปัญญาต่ำกว่าปกติจากภาวะที่สมองเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
การรักษา
- ควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลถ้าเด็กมีอาการบวม เบื่ออาหาร มีท่าทางเซื่องซึม อาจต้องป้อนอาหารทางสายยาง รักษาโรคติดเชื้อ และแก้ไขภาวะอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย
- ควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลเช่นเดียวกันถ้าสงสัยว่ามีโรคติดเชื้อที่รุนแรง
- หากไม่มีอาการใดๆ ให้ดูแลรักษาดังนี้
- แนะนำการให้อาหารและการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง
- ให้การรักษาตามสาเหตุของโรคที่พบร่วม เช่น ไข้หวัด ท้องเสีย แผลพุพอง ทอนซิลอักเสบ เป็นต้น
- ให้ยาบำรุงโลหิตหรือวิตามินรวม
การป้องกัน
- ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน โดยเฉพาะในครอบครัวที่ยากจนและมีลูกมากไม่ควรหย่านมบุตรเร็วเกินไป
- ให้อาหารเสริมอย่างเพียงพอและถูกต้องแก่ทารก
- ให้วัคซีนป้องกันโรคแก่เด็กเล็ก
- ควรแนะนำการเลี้ยงดูและการให้อาหารเสริมถ้าพบว่าน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ จึงควรหมั่นชั่งน้ำหนักเด็กเป็นระยะๆ หากยังไม่ได้ผลควรแนะนำให้ไปพบแพทย์
- ไม่ต้องงดของแสลงเมื่อเด็กเจ็บป่วย เช่น มีบาดแผลอักเสบ คางทูม หัด อีสุกอีใส เป็นต้น เพื่อบำรุงร่างกายเด็กจึงควรให้กินอาหารประเภทโปรตีนมากๆ เช่น เนื้อ นม ไข่ และถั่วต่างๆ
อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!
- อันตราย!! 8 โรค ที่แถมมาจากโรงพยาบาล ต้องระวังโรคอะไรบ้าง?
- 5 อันดับโรคยอดฮิตของเด็กไทย
- นมแม่ป้องกันโรค ช่วยลูกสุขภาพดีตั้งแต่แรกเกิด
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.healthcarethai.com