ทั้งนี้การประชุมเวิร์ลด์ซัมมิทเมื่อปี พ.ศ.2558 กำหนดเป้าหมายที่จะลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กทารกในปี พ.ศ.2573 ให้เด็กมีอัตราการเสียชีวิตน้อยลงที่ 25 คน ต่อเด็กเกิดใหม่ 1,000 คน ซึ่งตอนนี้มีอัตราการเสียชีวิตที่ 41 คน จากเด็ก 1,000 คน ลดลงจาก 93 ราย เมื่อปี 2533
ทั้งนี้ในบางประเทศความเสี่ยงที่เด็กจะเสียชีวิตก่อนอายุ 5 ขวบ สำหรับเด็กหญิงนั้นสูงกว่าเด็กชายอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นไปจามแนวโน้มทั่วโลก โดยประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่เอเชียใต้และเอเชียตะวันตก
ทั้งนี้หลายประเทศในเอเชียมีวัฒนธรรมแต่ดั้งเดิมที่โปรดปรานเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ทำให้มีการเลือกทำแท้งอย่างบ้าคลั่งและเด็กชายมักได้รับการเลี้ยงดูที่ดีกว่าทั้งด้านอาหารและการักษาพยาบาล
ภาวะทุพโภชนาการ หมายถึง?
ภาวะที่ทารกและเด็กบริโภคอาหารและได้ รับกำลังงานสารอาหารไม่ถูกต้องทั้ง ปริมาณ ชนิด และคุณภาพ ซึ่งอาจจะได้รับมากเกินความต้องการ จนกลายเป็นโรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรืออาจได้รับน้อยเกินไปจนเกิดภาวะขาดโภชนาการ ซึ่งอาจรุนแรงจนเกิดภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร หรือบางคนได้อาหารเพียงพอ แต่สัดส่วนของอาหารไม่ถูกต้อง หรือบางคนอาจได้อาหารและกำลังงานเพียงพอแต่ขาดสารอา หารบางตัว เช่น วิตามินและเกลือแร่ ซึ่งในที่นี้จะเน้นเฉพาะเรื่องการขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร
สาเหตุของภาวะทุพโภชนาการ
สาเหตุหรือปัจจัยของภาวะทุพโภชนาการเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันตั้งแต่
- ปัญหาทางเศรษฐกิจ และทางสังคมของประเทศ
- แหล่งอาหารในชุมชน
- ความจำกัดของครอบครัวที่จะผลิตหรือซื้ออาหาร
- การขาดความรู้ที่ถูกต้องของครอบครัวในการเลี้ยงดู และในการจัดอาหารให้แก่ทา รกและเด็ก และมีความเชื่อบางอย่างที่ห้ามกินอาหารบางชนิด
- การเจ็บป่วยของทารกและของเด็ก ทำให้เด็กได้รับสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้น้อย เช่น ปัญหาการติดเชื้อ ปัญหาท้องร่วง/ท้องเสียเรื้อรัง การดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ไม่ดี ท่อน้ำดีตีบตัน ทำให้การดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันผิดปกติ เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
- ปัญหาพันธุกรรมบางอย่างทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ปกติ เพราะมีความผิดปกติในการย่อยสารอาหารบางอย่าง
- การขาดความเอาใจใส่ในการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพตามวัย
วัยที่พบภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารมากที่สุด
เด็กที่พบภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหารมากที่สุด คือ “เด็กวัยก่อนเรียน” เนื่องจาก
- วัยนี้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ความต้องการโปรตีนและกำลังงานสารอาหารต่อน้ำหนักตัวสูงกว่าวัยอื่นๆ
- ยังไม่สามารถกินอาหารด้วยตนเองได้เต็มที่
- วัยนี้มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าวัยอื่นๆ
- พฤติกรรมการเลี้ยงดู ความเชื่อของผู้เลี้ยงดูเด็ก ทำให้เด็กได้รับอาหารโปรตีนและกำลังงานสารอาหารไม่เพียงพอ
อ่านต่อ >> “อาการของโรคขาดสารอาหารที่พ่อต้องควรรู้” คลิกหน้า 3
ขอบคุณข้อมูล ปัญหาโภชนาการในเด็ก : การขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร จาก : ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณี เจตศรีสุภาพ วว.กุมารเวชศาสตร์, อว.โลหิตวิทยา โดยเว็บไซต์ haamor.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่