AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

5 วิธีสังเกตโรค ไข้เลือดออก อาการ อันตราย..ต้องรีบไปลูกไปหาหมอ

5 วิธีสังเกตโรค ไข้เลือดออก อาการ อันตราย ต้องรีบไปลูกไปหาหมอ

ระวังให้ดี..ลูกป่วยเป็น ไข้เลือดออก อาการ “ไข้ลด” ระยะอันตรายที่สุดของโรคนี้!! ไปหาหมอช้า อาจถึงขั้นช็อคและเสียชีวิตได้ จะมี วิธีสังเกตอาการไข้เลือดออก อย่างไร มาดูกัน

ไข้เลือดออก อาการ เริ่มต้นที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง!

ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ประเทศไทยมีผู้ป่วย โรคไข้เลือดออก เป็นอันดับที่ 2 รองจากฟิลิปปินส์ กลุ่มอายุที่เป็นไข้เลือดออกมากที่สุด คืออายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี, 15-24 ปี และ 25-34 ปีตามลำดับ เรียกได้ว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ทั้งนี้หากมีผู้ป่วย 1,000 ราย จะเสียชีวิต 1 ราย จาก 2 สาเหตุ คือภาวะเลือดออกมาก และเลือดรั่วจากเส้นเลือดจนเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิต

ยุงลาย พาหะนําโรคไข้เลือดออก

สาเหตุที่เสียชีวิตจากไข้เลือดออก

หากลูกป่วยเป็นไข้เลือดออก ในช่วงที่รักษาตัวจนไข้ลด ภายใน 48 ชั่วโมง อาจมีอาการหนักจนเกิดอาการช็อก หรือเลือดออกตามร่างกาย ซึ่งสาเหตุจากการเสียชีวิตในโรคนี้ก็มาจากอาการช็อก ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง (แม้เราจะไม่เห็นว่าลูกมีอาการขาดน้ำจากภายนอกแต่ย่างใด) น้ำในหลอดเลือดจะไหลไปอยู่ในเนื้อเยื่อข้างเคียง ความดันเลือดลดลง จนเกิดอาการช็อกตามมา แต่หากไม่แสดงอาการใดๆ ก็จะถือว่าปลอดภัยแล้ว

โดย อาการไข้เลือดออก แบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่

ไข้เลือดออก อาการ ระยะที่ 1 = ระยะไข้สูง (2-7 วัน) ลูกจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา

ไข้เลือดออก อาการ ระยะที่ 2ระยะช็อคและมีเลือดออก ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง ลูกจะมีอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย ช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ในรายที่รุนแรง จะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อค และอาจถึงตายได้ ระยะนี้กินเวลา 24-48 ชั่วโมง ซึ่งแต่ละรายไม่จำเป็นต้องเป็นรุนแรงและเข้าสู่ภาวะช็อคทุกราย

ในเด็กที่เป็น ไข้เลือดออก อาการ ไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดก็จะมีอาการดีขึ้น รับประทานอาหารได้ เข้าสู่ระยะฟื้นตัว

ไข้เลือดออกอาการ ระยะที่ 3 = ระยะฟื้นตัว อาการต่างๆจะเริ่มดีขึ้น รู้สึกอยากกินอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว

อาการโรคไข้เลือดออกที่พ่อแม่ต้องรีบไปลูกไปหาหมอ

5 วิธีสังเกตอาการไข้เลือดออก อันตรายที่พ่อแม่ต้องรู้!

ไข้เลือดออก อาการ จะแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล แต่โดยส่วนใหญ่ที่พบ คือ

  1. มีไข้สูงเฉียบพลัน หรืออาจสูงถึง 40-41 องศาเซลเซียส ซึ่งบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชัก และมีเลือดออกที่ผิวหนัง เป็นจุดเลือดเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน
  2. ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) อาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อก
  3. สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุด คืออาการช็อก ที่ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดล้มเหลว
  4. บางรายมีภาวะตับโต กดเจ็บ ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3-4 นับตั้งแต่เริ่มป่วย ตับจะนุ่มและกดเจ็บ
  5. มีภาวการณ์ไหลเวียนล้มเหลว ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง โดยเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือภาวะช็อก เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด ช่องท้อง เกิด hypovolemic shock ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดอาการช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ าจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค หรือวันที่ 8 ของโรค ซึ่งจะมีอาการเลวลง เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบา เร็ว และความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง

การรักษาโรคไข้เลือดออก หากอาการไม่รุนแรง มีเพียงไข้สูง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ยังไม่มีอาการเลือดออกหรือภาวะช็อก พ่อแม่ควรให้ลูกนอนพักผ่อนมากๆ หากมีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ และให้ยาลดไข้พาราเซตามอล (ห้ามใช้แอสไพรินโดยเด็ดขาด) ถ้าลูกเคยชัก ควรให้รับประทานยากันชักไว้ก่อน และเฝ้าสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และหากลูกอาเจียนมาก มีภาวะช็อก หรือเลือดออก ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

ทั้งนี้อาการป่วยไข้เลือดออก ครั้งแรกจะไม่ค่อยรุนแรงมาก แต่หากเป็นครั้งที่ 2 จะเกิดความรุนแรงมากขึ้น ทำให้เลือดออก และช็อกได้ ส่วนการวินิจฉัยโรคในช่วงแรกจะแยกจากอาการไข้ทั่วไปค่อนข้างยาก ต้องตรวจจากการเจาะเลือด ซึ่งหากป่วยเพียง 1-2 วัน การเจาะเลือดอาจจะไม่พบเชื้อ ต้องใช้เวลา 3-4 วัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลด้วย … และแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีตัวยาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ได้ แต่พ่อแม่ก็สามารถป้องกันลูกน้อยและตัวเองจากภัยเงียบที่น่ากลัวนี้ได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก พร้อมคอยดูแลบริเวณบ้านให้สะอาด อย่าให้มีน้ำขัง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย เพียงเท่านี้ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงโรคไข้เลือดออก ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อดังกล่าวมาสู่สมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้างได้


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.phyathai.comwww.paolohospital.comwww.mukinter.com ,  www.thonburihospital.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพได้เลย 

แพทย์เผย! ข้อมูลใหม่ แม่ต้องรู้ก่อนให้ลูก ฉีดวัคซีนไข้เลือดออก

โรคไข้หวัดใหญ่ ระบาดหนัก 3 เดือนแรก พบเด็กแรกเกิด-4 ปี ป่วยมากสุด!

6 โรคที่มากับหน้าฝน ในเด็กที่ต้องระวัง รู้เท่าทันป้องกันลูกป่วย

โรคติดเชื้อในกระแสเลือด ในเด็ก อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน แม่ควรรู้!

โรคเฮอร์แปงไจน่า โรคระบาดในเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง