ฉี่ใส่สระว่ายน้ำ อันตรายต่อสุขภาพ ไหนใครเคยปัสสาวะลงในสระว่ายน้ำบ้างเอ่ย รู้ไหมว่านอกจากจะเป็นเรื่องที่ไม่สุภาพ แล้วยังจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ไม่ใช่เฉพาะตัวเรา แต่ยังไม่ปลอดภัยต่อคนอื่นๆ ที่ใช้สระว่ายน้ำร่วมกันด้วยนะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลของเรื่องนี้มาบอกต่อให้ได้ทราบกันค่ะ
ฉี่ใส่สระว่ายน้ำ อันตรายต่อสุขภาพ
อย่างที่เกริ่นไปค่ะว่าการ ฉี่ใส่สระว่ายน้ำ อันตรายต่อสุขภาพ อย่างในครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ แล้วพาไปสระ ว่ายน้ำโดยมากจะให้ใส่เป็นผ้าอ้อมสำหรับว่ายน้ำ ตรงนี้สามารถกันปัสสาวะหรืออุจจาระรั่วออกจากผ้าอ้อม ได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย พอรู้เรื่องและไม่ต้องใส่กางเกงผ้าอ้อมว่ายน้ำ แต่รู้หรือไม่คะว่า เด็กๆ ก็อาจมีเผลอฉี่ใส่ลงไปในสระว่ายน้ำได้เหมือนกัน อาจจะด้วยอารมณ์ขี้เกียจขึ้นจากสระว่ายน้ำ หรือไม่ ก็กำลังเล่นสนุกอยู่กับเพื่อนๆ ในสระ พอบวดฉี่ก็ขอเนียนๆ ใส่ลงไปในสระนั่นเลยล่ะกัน
บทความแนะนำ คลิก>> ลูกติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เพราะล้างไม่สะอาด
ซึ่งจริงๆ ไม่อยากจะบอกว่าไม่ใช่แค่เฉพาะเด็กๆ เท่านั้นนะที่ทำเบลอเผลอปัสสาวะลงในสระว่ายน้ำ เพราะกับผู้ใหญ่ที่บางคนก็มีทำพฤติกรรมไม่น่ารักนี้ด้วยเหมือนกัน คือคนอื่นไม่รู้ แต่ตัวคุณทำย่อมรู้ดีเสมอ ฉะนั้นใครที่ชอบทำพฤติกรรมไม่น่ารักนี้เวลาไปสระว่ายน้ำ ขอเลิกทำนะคะ รวมถึงพ่อแม่ก็ต้องสอนและเตือนลูกๆ ด้วยว่าถ้าหนูปวดฉี่ ต้องขึ้นจากสระแล้วไปเข้าห้องน้ำอย่างเดียวเท่านั้น พ่อแม่ควรต้องอธิบายเหตุผลให้ลูกทราบสักนิดนะคะว่าเพราะอะไร เพื่อที่เขาจะได้เข้าใจถึงผลเสีย และไม่ปัสสาวะลงสระว่ายน้ำค่ะ
อ่านต่อ อันตรายจากการปัสสาวะลงสระว่ายน้ำ หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ปัสสาวะลงสระว่ายน้ำ อันตรายต่อสุขภาพ !!
อ.นพ.พงษ์ศักดิ์ ชัยศิลป์วัฒนา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ข้อมูลไว้ว่ากรดยูริคที่อยู่ในปัสสาวะของมนุษย์นั้น เมื่อได้มาผสมกับคลอรีนที่อยู่ในสระว่ายน้ำ จะก่อให้เกิดสารเคมีชนิดใหม่ที่เรียกว่า ไซยาโนเจน คลอไรต์ ซึ่งเป็นสารเคมีตระกูลเดียวกันกับสารไซยาไนต์ ซึ่งสารดังกล่าว มักจะถูกใช้ในวงการอุตสาหกรรมที่ใช้ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์ แก๊สพิษในทางการทหาร อนุพันธ์เบนซิน รวมไปถึงเป็นส่วนประกอบในแก๊สรมฆ่าแมลง
หากใครก็ตามได้สัมผัสสารดังกล่าวผ่านทางระบบหายใจ เข้าปากหรือจมูก หรือผ่านทางผิวหนังต่างๆ เข้าทางตา อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองทั้งตา จมูก และระบบทางเดินหายใจ ขณะเดียวกัน อาจจะก่อให้เกิดอาการชีพจรเต้นเร็ว หายใจ หรือเร็วกว่าผิดปกติ ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารที่ร่างกายรับเข้าไป ปวดศีรษะ มึนงง สับสน คลื่นไส้ และอาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใครที่ใช้บริการสระว่ายน้ำที่มีสารดังกล่าวเป็นประจำนั้น อาจจะมีอาการเรื้อรัง เช่น เยื่อบุตาอักเสบ หนังตาบวม ไปจนถึงเสียงแหบได้ แม้ว่าปริมาณของไซยาโนเจน คลอไรต์ ที่พบในสระว่ายน้ำอาจจะไม่ได้เข้มข้นมากนัก แต่ในอีกทางหนึ่งก็ต้องเผื่อไปถึงโอกาสที่จะมีการแพ้สารชนิดนี้อย่างรุนแรงด้วย
บทความแนะนำ คลิก>> สัญญาณ มะเร็งอัณฑะ จากปัสสาวะคุณผู้ชาย
แม้ว่าสระว่ายน้ำบางแห่งจะมีการเปลี่ยนน้ำบ่อยก็ตามที แต่ด้วยปริมาณของคลอรีน หากใครมีอาการแพ้คลอรีน อาจจะมีอาการติดเชื้อได้ โดยสามารถติดได้ทั้งทางช่องคลอด ตรงบริเวณเยื่อบุปากช่องคลอด ซึ่งจะมีอาการแสบ เมื่อได้สัมผัสกับปัสสาวะตนเองหลังจากขึ้นมาจากสระว่ายน้ำ อาจจะทำให้เกิดภาวะมีพยาธิในช่องคลอด เชื้อรา หนองใน หรือเชื้อโรคต่างๆ จากผู้ที่เล่นน้ำด้วยกัน แถมยังมีโอกาสที่จะรับเชื้อรคผ่านสู่ปาก เช่น โรคท้องร่วง หรือ ตับอักเสบได้ นอกจากนี้หากได้รับบาดแผลจากเศษกระเบื้องในสระว่ายน้ำ อาจจะมีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง คล้ายแผลที่เกิดเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นแผลที่ค่อนข้างหายยากอีกด้วย – ที่มาข่าว pptvhd36
อ่านต่อ พาลูกไปสระว่ายน้ำอย่างไรให้ปลอดภัย หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีดูแลลูกเมื่อไปสระว่ายน้ำ อย่างไรให้ปลอดภัย?
ความปลอดภัย ผู้ใหญ่ควรอยู่ดูแลตลอดเวลาเพื่อช่วยเหลือในกรณีที่ลูกจมน้ำหรือสำลักน้ำ ยิ่งถ้าเป็นคนที่มีความรู้เรื่องการช่วยชีวิตก็ยิ่งดี แม้ลูกจะว่ายน้ำเป็น อยู่ในห่วงยางหรืออยู่ในบริเวณน้ำตื้น ก็ไม่ได้เป็นสิ่งรับประกันความปลอดภัยได้นะคะ นอกจากนี้ ลูกอาจได้รับบาดเจ็บจากการเล่นสไลเดอร์ การกระโดดน้ำด้วยความประมาท หรือลื่นล้มจากการวิ่งเล่นริมขอบสระด้วย ที่สำคัญพ่อแม่ควรต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดในเรื่องเหล่านี้ด้วย นั่นคือ
1. ความสะอาดของสระ
เพราะลูกอาจกลืนน้ำเข้าไปโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ ถ้าสระไม่ได้มาตรฐานเรื่องความสะอาด เมื่อมีผู้แพร่เชื้อลงไปในสระ เชื้อโรคที่ออกมาทางน้ำมูกหรือน้ำลายก็ไม่อาจถูกทำลายโดยคลอรีนที่มีน้อยเกินไป ผู้รับเชื้อจึงอาจเป็นโรคติดต่อได้ เช่น หวัด ตาแดง อาเจียน หรือท้องร่วง ในทางตรงข้าม ถ้าใส่คลอรีนมากเกินไป ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องตาอักเสบหรือผิวหนังอักเสบจากสารเคมี
2. ระยะเวลา
ในกรณีที่อุณหภูมิของน้ำในสระค่อนข้างเย็น เด็กเล็กไม่ควรเล่นนานเกินครึ่งชั่วโมง และ เด็กโตไม่ควรนานเกิน 1 ชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น เพราะอุณหภูมิร่างกายอาจลดต่ำเกินไป จนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบายได้ง่าย
3. การดูแลเส้นผมและผิวหนัง
สารคลอรีนและแสงแดดมักเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นผมและผิวหนังถูกทำลาย และผิวหนังของเด็กก็บอบบางและอ่อนแอกว่าผู้ใหญ่มาก จึงควรให้การดูแลเป็นพิเศษ เช่น เลือกชุดว่ายน้ำที่ปกปิดผิวหนังและมีสารเคลือบป้องกันรังสี UVA และ UVB ทาครีมกันแดดแบบกันน้ำ (waterproof) ก่อนลงน้ำ และไม่ว่ายน้ำกลางแดดจ้า
หากมีปัญหาผิวหนังเป็นผื่นแดงจากการแพ้สารคลอรีน ก็ใช้วาสลีนหรือปิโตรเลียมเจลทาเคลือบผิวก่อนลงน้ำและอย่าเล่นน้ำนาน เมื่อขึ้นจากน้ำแล้ว ควรรีบล้างตัวเอาคลอรีนออกและอาบน้ำ เช็ดตัว เป่าผมให้แห้ง เพราะถ้าใส่ชุดที่เปียกแฉะตลอดเวลา ก็อาจทำให้เป็นเชื้อราหรือเกิดผื่นแพ้
หากมีปัญหาผิวแห้ง ควรทาโลชั่นบำรุงผิวเป็นประจำ เพราะการเล่นน้ำหรืออาบน้ำบ่อยๆ อาจทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำมันตามธรรมชาติจนทำให้ผิวแห้งมากยิ่งขึ้น
ส่วนการดูแลเส้นผม ถ้าผมยาว ควรมัดผมให้เรียบร้อยแล้วใส่หมวกด้วย จะช่วยป้องกันไม่ให้ผมเสียจากแสงแดด และหมวกจะช่วยป้องกันไม่ให้ผมยุ่งหรือพันกันมากตอนอยู่ในน้ำ เวลาสระผม ควรใช้แชมพูของเด็กและใช้ครีมนวดผมด้วยเพื่อให้ผมลื่นไม่พันกัน เวลาสางผม ให้ใช้หวีซี่ใหญ่ เพื่อไม่ให้หนังศีรษะถูกดึงมาก และควรเป่าผมด้วยลมเย็น ไม่ใช่ลมร้อน
เห็นถึงอันตรายจากการปัสสาวะลงในสระว่ายน้ำกันแล้วใช่ไหมคะ ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต้องทำให้เป็นนิสัยก็คือ หากปวดฉี่ หรือปวดอุจจาระ ขอให้ขึ้นจากสระว่ายน้ำแล้วไปเข้าห้องน้ำจัดการธุระส่วนตัวกันให้เรียบร้อย ห้ามมักง่ายปลดทุกข์ลงในสระเด็ดขาดนะคะ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของเราเอง และคนอื่นๆ ที่อยู่ในสระน้ำ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
แพ้อาหาร ผ่านไมโครเวฟ แพ้กลิ่นหรือควันอาหาร
หมอชี้ 4 อาการร้าย! ที่บอกว่าลูกคุณเป็นโรคภูมิแพ้
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
pptvhd36