หมอศิริราชได้ออกมาเตือนภัยอันตราย! หากพ่อแม่ปล่อยให้ลูก เล่นโทรศัพท์ตอนปิดไฟ หรือดูโทรทัศน์ในที่มืด อาจส่งผลร้ายต่อดวงตาและเสี่ยงทำให้ลูกตาบอดได้
พ่อแม่ระวัง! ให้ลูก เล่นโทรศัพท์ตอนปิดไฟ เสี่ยงตาบอด
ตาของเด็กเป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดูแลก็เช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ หลักใหญ่ๆ ก็คือ ทำ ให้ร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ การจัดสถานที่อ่านหนังสือ หรือทำงาน ให้แสงสว่างเพียงพอสำหรับสายตา จะ ช่วยให้ช่วยถนอมสายตาได้วิธีหนึ่ง และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะเกิดเป็นอันตรายต่อเด็ก โดยเฉพาะของเล่นที่มีความแหลมคม เช่น ฉมวก เบ็ด หรือเล่นหนังยาง ซึ่งอาจพุ่งมากระทบตา อาจทำให้ตาบอดได้
⇒ Must read : นี่คือสายตาของเด็กทารกที่มองเห็นพ่อแม่ในแต่ละเดือน จนถึงอายุ 1 ขวบ
ซึ่งนอกจากสิ่งของอันตรายที่ต้องระวังแล้ว โทรทัศน์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ก็อาจทำร้ายดวงตาของลูกน้อยทางอ้อมได้ ไม่ต่างจากสิ่งของพวกนั้นเลย
ในบ้านเราเด็กส่วนมากขาดโอกาสที่จะได้ตรวจสุขภาพตาก่อนเข้าเรียน พ่อแม่หลายคนพาลูกมาตรวจตาเมื่อเข้าเรียนไปแล้ว โรคตา ในเด็กส่วนใหญ่ ถ้าพามารักษาช้า มักจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะเด็กที่มีสายตาเลือนลาง อาจจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
⇒ Must read : เช็กก่อนสาย! ลูกตาบอดสี หรือไม่
⇒ Must read : อุทาหรณ์ เด็กเล่นปากกาเลเซอร์ จนเสียสายตาไปกว่า 75%
⇒ Must read : เด็กสายตาสั้น ป้องกันได้ตั้งแต่ยังเล็ก มาดูกันว่าทำอย่างไร?
วิธีสังเกตความผิดปกติของตาลูก
- สังเกตดูรูปหน้าเปรียบเทียบกันว่าสมดุลกันดีหรือไม่ ด้านซ้ายด้านขวาแตกต่างกันหรือไม่
- ตาดำสองข้าง มีขนาดเท่ากันหรือไม่รูปตาข้างใดโตกว่าหรือเล็กกว่ากัน
- เมื่อลืมตาเต็มที่ หนังตาเปิดกว้างเท่ากันหรือไม่ บางคนหนังตาตกข้างเดียว ทำให้มีอุปสรรคต่อการมองเห็น
- มีสีขาวขุ่นอยู่ตรงกลางโดยไม่ทราบสาเหตุ
- น้ำตาไหลเอ่อตาอยู่เสมอ
- ขยี้ตาอยู่บ่อย ๆ ตาขาวไม่ขาว มีสีแดงเรื่อ ๆ
- เวลามองแสงจ้าจะหรี่ตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำ หรือเงยหน้าดูจึงจะเห็นชัด
- ลูกตาควรใสสะอาด ไม่ควรมีขี้ตา ลูกตาดำทั้งสองข้างไม่ควรมีสีขุ่นขาว ต้องดูใส
- ลูกตาดำมีลักษณะเขเข้าและดูแวววาว คล้ายตาแมวในเวลากลางคืน
- ลูกตาดำเขเข้าหรือเขออก เป็นบางครั้ง หรือเห็นว่าเขตลอดเวลา
- เห็นภาพสองภาพ ปวดศีรษะ ตามัว
- ตาดำสั่นอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมการสั่นของลูกตาดำได้
- มีพัฒนาการทางร่างกายช้า ไม่สัมพันธ์กับการมองเห็น เช่น เด็กอายุ 3-4 เดือน ควรจะมองหน้าและประสานสายตากับแม่ได้ สามารถแสดงกิริยายิ้ม โต้ตอบเมื่อมีอารมณ์พอใจ
อ่านต่อ >> “อันตรายจากการ ให้ลูกเล่นโทรศัพท์ตอนปิดไฟ” คลิกหน้า 2
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- หยุดเด็กตื่นมาดูมือถือกลางดึก ภัยเงียบส่งผลอ่อนเพลียที่โรงเรียน
- รังสีจากมือถือ ลดคุณภาพอสุจิของคุณพ่อ
- อุทาหรณ์ ลูกน้อยติดมือถือจนถึงขั้น “ลงแดง!!”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ทั้งนี้เมื่อสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามากขึ้น พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไป โดยพ่อแม่ และเด็ก ๆ จะอยู่กับเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้งานดวงตาก็เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ทำให้โอกาสที่ลูกน้อยจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคตา จึงมีมากขึ้นด้วย
โดยนพ.นริศ กิจณรงค์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะเลขาธิการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า มีผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตามากกว่าร้อยละ 80 สาเหตุมาจากการได้รับรังสียูวี (UV) 400, ยูวีเอ (UVA) 1 และแสงสีฟ้าจากการจ้องมองคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เป็นเวลานานเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน
นอกจากนี้ ผู้ป่วยมีทั้งผู้สูงอายุ วัยทำงาน และเด็ก พฤติกรรมที่พบส่วนใหญ่ คือ ช่วงเวลาก่อนนอนจะหยิบสมาร์ทโฟนมาเล่นในขณะที่ปิดไฟแล้ว ซึ่งเป็นส่วนที่เร่งให้มีอาการทางสายตาเพิ่มขึ้น อันตรายจากแสงยูวี แสงสีฟ้าที่อยู่ในจอสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ จะทำลายดวงตาเมื่อจ้องเป็นเวลานาน เนื่องจากการกะพริบตาจะน้อยลง
ขอบคุณภาพจาก : MSI Global
เพราะโดยปกติแล้วคนเราจะกะพริบตาประมาณ 20 ครั้งต่อนาที เพื่อให้ตาได้รับความชุ่มชื้น การเพ่งมองเป็นเวลานานจะทำให้ตาแห้ง แสบตา ส่งผลให้การมองเห็นเริ่มผิดปกติ เห็นภาพซ้อน ภาพไม่ชัด พร่ามัว ปวดเบ้าตา กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นและเป็นส่วนที่ทำให้เกิดต้อเนื้อ ต้อลม และจอประสาทตาเสื่อม จะพบมากขึ้นเรื่อย ๆ และรักษาได้ยากจนอาจส่งผลทำให้ตาบอดได้
ด้านนายแพทย์ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญโรคตาประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ได้เปิดเผยว่าการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ โทรทัศน์ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเทคโนโลยีซินโดรม ซึ่งเจ้าโรคเทคโนโลยีซินโดรมนี้ไม่ได้ทำให้เกิดจุดรับภาพจอตาเสื่อม หรือตาบอด แต่จะทำให้เกิดความล้าของสายตา ตาแห้ง เนื่องจากต้องใช้สายตาเพ่งที่ภาพหรือตัวอักษรที่มีขนาด เล็กและอยู่ในจอ
การเพ่งจะทำให้ม่านตาขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่นิยมปิดไฟดูทีวี เล่นสมาร์ทโฟน ไอแพด มีแอพพลิเคชั่นมาก ๆ รวมไปถึงการส่องไฟฉายอ่านหนังสือ จะมีความเสี่ยงเกิดเทคโนโลยีซินโดรมได้ง่ายเพราะต้องใช้สายตากำกับตลอดเวลา จะทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ตาแห้ง เครียดตลอดเวลา ยิ่งรายละเอียดเยอะ ตายิ่งทำงานหนัก สร้างความเครียดให้ผู้ใช้ เพราะต้องเพ่งสายตาที่จอ ทำให้ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเกิดโรคต้อหินถึงขั้นตาบอดได้เช่นกัน
แล้วการปิดไฟดูทีวี เล่นสมาร์โฟนในที่มืด จะทำให้เป็นต้อหินได้อย่างไร?
นั่นก็เพราะการใช้เทคโนโลยีมาก ๆ นาน ๆ จะทำให้สายตาล้า มีอาการตาแห้ง จึงเกิดความเครียดขึ้นได้ และไปทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของต้อหิน การที่สายตาล้าก็เกิดจากการเพ่งภาพหรือตัวอักษรหน้าจอที่มีขนาดเล็กมากเกินไป ยิ่งเราเพ่งก็จะยิ่งทำให้ม่านตาขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
โดยเฉพาะผู้ที่นิยมปิดไฟดูทีวี เล่นสมาร์ทโฟน ไอแพด ส่องไฟฉายอ่านหนังสือ คนกลุ่มนี้ต้องใช้สายตากำกับตลอดเวลา ทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ตาแห้ง เครียดตลอดเวลา ยิ่งรายละเอียดเยอะตาก็ยิ่งทำงานหนัก จึงเสี่ยงต่อโรคเทคโนโลยีซินโดรม
สำหรับโรคต้อหินนั้น นายแพทย์ฐาปนวงศ์ ได้อธิบายว่า โรคนี้จะมีการทำลายของเส้นประสาทตาจากหลายสาเหตุ สาเหตุสำคัญเกิดจากความดันในลูกตาสูงเกินไป ทั้งจากการสร้างน้ำในลูกตามากเกินไป หรือระบายออกน้อยเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และคนเป็นจะไม่รู้ตัว
ทั้งนี้ หากเป็นแล้วจะมีผลให้ลานสายตาแคบลงเรื่อย ๆ หากไม่รักษา ปล่อยทิ้งไว้ จะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด แม้จะรักษาความดันได้เป็นปกติ แต่สายตาจะไม่กลับคืนเป็นปกติ หรือเรียกว่าสูญเสียอย่างถาวร หากบอดแล้วบอดเลย หรือตาพร่ามัวตลอดชีวิต
อาการเตือน คือ เริ่มรู้สึกแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล กะพริบตาบ่อย ปวดเมื่อยล้าที่กระบอกตา สายตาพร่า มองเห็นไม่ชัด สำหรับผู้ใญ่บางคนมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมด้วย
สรุปอันตรายจากการใช้มือถือในที่มืดนานๆ
- เสี่ยงต่ออาการแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล
- ปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ
- สายตาไม่ชัด พร่ามัว หรือสายตาสั้นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
- มีโอกาสเป็นโรคต้อหิน
- เส้นประสาทตาถูกทำลาย จนการมองเห็นพร่ามัวมากขึ้น
- อาจมีความเสี่ยงที่จะตาบอดได้ด้วย (แต่ไม่ได้เป็นมะเร็งที่ตา)
อ่านต่อ >> “วิธีหลีกเลี่ยงลูกน้อยจากอันตรายของการใช้สมาร์ทโฟนในที่มืด” คลิกหน้า 3
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- โทรศัพท์มือถืออันตราย กับลูกน้อยจริงหรือไม่?
- Smart Phone แก้ปัญหาลูกติดมือถือใน 7 วัน
- แชร์ประสบการณ์ลูกเสี่ยงตาบอดเพราะ เนื้องอกหลอดเลือด บนผนังตา
- มะเร็งจอตา โรคฮิตอันดับ 3 ในเด็ก!! เช็กง่ายๆ ด้วยสมาร์ทโฟน
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.whatphone.net, www.sanook.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีหลีกเลี่ยงจากอันตรายของการใช้เล่นโทรศัพท์ตอนปิดไฟ ในที่มืด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง
- ดื่มน้ำบ่อยๆ เพิ่มความชุ่มชื่นในตา หรือหากท่านใดตาแห้งมากๆ หรือใส่คอนแทคเลนส์ ควรใช้น้ำตาเทียมเมื่อมีอาการตาแห้ง
- ทำประคบเย็น โดยให้ใช้ผ้าขนหนูหนาหรือผ้าเช็ดหน้า พับ 3 ส่วน นำไปแช่น้ำที่มีน้ำแข็งจนเย็น บิดหมาด ๆ วางปิดตั้งแต่ขมับให้ทับพาดผ่านดวงตา เว้นสันจมูก ไปถึงขมับอีกข้าง ถ้าเย็นเกินไปให้เอาออก หากหายเย็นให้นำไปแช่น้ำเย็นใหม่อีกครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 20 นาที พัก 1 นาที วันละ 2 หน จะช่วยลดความเครียด เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา
- ควรเปิดไฟในห้องให้มีความสว่างเพียงพอ
- ไม่ควรนอนหงายเล่นสมาร์ทโฟน เพราะหน้าจอจะไม่ได้รับแสงสว่างจากโคมไฟบนเพดาน แม้กระทั่งนอนตะแคงก็อาจทำให้ดวงตาต้องเพ่งจ้องที่หน้าจอหนักกว่าปกติเหมือนกัน
- ไม่ควรจ้องหน้าจอโทรศัพท์นานจนเกินไป ควรมีการพักสายตาบ้าง ทุกๆ 20-30 นาที
ที่สำคัญ ควรเปิดไฟขณะที่ให้ลูกดูทีวี หรือการ์ตูนในมือถือ และอ่านหนังสือในที่แสงสว่างเพียงพอ ดีที่สุดควรใช้เทคโนโลยีเท่าที่จำเป็น ใช้ให้ปลอดภัย เหมาะสม คือใช้นานประมาณ 25 นาที และให้พัก 5 นาที หรือใช้นาน 30 นาที และพัก 10 นาที เปลี่ยนอิริยาบถสลับกันไป จะช่วยได้ให้เหมาะสม ถ้าไม่จำเป็นอย่ายุ่งกับเทคโนโลยี ให้ควบคุมใจตัวเอง
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว หากคุณพ่อคุณแม่บ้านไหน ที่ชอบเปิดทีวี แท็บเล็ต หรือมือถือให้ลูกดูการ์ตูน ฟังนิทานก่อนนอน ควรที่จะงดการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ในที่มืด เพราะจะส่งผลอันตรายให้กับดวงตาของลูกน้อยได้ ควรที่จะใช้งานในที่มีแสงสว่างเพียงพอ และไม่ควรใช้งานหรือจ้องเป็นเวลานาน ๆ
สารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตาของลูก
ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของวิตามินที่หลากหลายในอาหารหลากชนิด จึงไม่ยากที่คุณพ่อคุณแม่จะจัดหามาให้ลูกรับประทาน ถึงกระนั้นคนเราต้องได้รับวิตามินทุกตัวผสมผสานกัน จึงจะเสริมให้ดวงตามีศักยภาพที่ดีได้
⇒ Must read : 15 อาหาร บำรุงสุขภาพ สายตาลูกน้อย
- วิตามิน A มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยในการสร้างเม็ดสีสำหรับการมองเห็นภาพในที่มืดนอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการรักษาเยื่อบุต่างๆ ในร่างกาย เช่น เยื่อบุตาขาว เยื่อบุทางเดินหายใจ ทางเดินอาหารให้คงสภาพปกติ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันเชื้อโรคของร่างกายทำงานได้ดีอีกด้วย
อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ได้แก่ ตับ ไข่แดง น้ำมันตับปลา น้ำนม โดยเฉพาะ ‘น้ำนมแม่’ ถือเป็นแหล่งที่ดีที่สุดของวิตามินเอ นอกจากนี้ยังพบในผักที่มีสีเขียวเข้มและผลไม้ที่มีสีเหลืองส้มซึ่งจะให้สารเบต้าแคโรทีน (โดยปกติร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอได้ตามที่ร่างกายต้องการ) เช่น ผักตำลึง ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ฟักทอง แครอท มะละกอสุก กล้วย มะม่วงสุก เป็นต้น
- ทอรีน คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง มีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ สติปัญญาและการมองเห็นในเด็ก นอกจากนี้ทอรีนยังช่วยทำให้ทารกดูดซึมไขมันที่จำเป็นต่อสติปัญญาและการเจริญเติบโตได้ดีขึ้นอีกด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยทอรีน ได้แก่ น้ำนมแม่ (แต่ในนมวัวจะพบทอรีนน้อยมาก) เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น สัตว์ปีก เนื้อหมู และอาหารทะเล เป็นต้น
- ลูทีน ทำหน้าที่สำคัญในการปกป้องเซลล์รับภาพบริเวณจอประสาทตา ที่มีความสำคัญในการมองเห็นภาพของเราในชีวิตประจำวัน โดยลูทีนจะทำหน้าที่กรองแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายต่อดวงตาของมนุษย์ รวมถึงดวงตาเด็กที่ยังบอบบาง และทำหน้าที่สำคัญในการต้านปฏิกิริยาอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในดวงตาได้อีกด้วย นอกจากนี้ สารลูทีนยังถูกพบในสมองบริเวณที่เกี่ยวกับการมองเห็นมากกว่า 66% ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าน่าจะมีส่วนช่วยให้คนเรามองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาหารที่อุดมไปด้วยลูทีน ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม และผักหรือผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ผักโขม ผักบล็อกโคลี พริกหยวกสีเหลือง เป็นต้น
- กรดไขมันDHA (Decosahexaenoic acid) เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองโดยเฉพาะด้านความจำ การเรียนรู้ และประสาทตา ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและการเชื่อมโยงของเซลล์สมอง ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้เกิดความจำและการเรียนรู้ ทั้งนี้ในสมองและประสาทตาของคนเราประกอบไปด้วยกรดไขมันหลายชนิด แต่ชนิดที่มีมากก็คือ AA และ DHA อาหารที่อุดมไปด้วย DHA ได้แก่ น้ำนมแม่ ปลาทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาโอ ปลาทู ปลาซาบะ ฯลฯ
♥ Must read : 10 ปลาไทย โอเมก้า 3 สูง! บำรุงสมองสดใส หัวใจแข็งแรง
ควรพาลูกไปตรวจดวงตาเมื่อไร และที่ไหนดี?
ข้อมูลจาก American Optometric Association (AOA) แนะนำว่า การตรวจดวงตาทารกครั้งแรกในช่วง 6 เดือนความสำคัญมาก เพราะโรคเกี่ยวกับดวงตาส่วนใหญ่สามารถตรวจพบ และรักษาอาการผิดปกติของดวงตาได้ หากว่าได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
โดยระยะเวลาในการตรวจดวงตาของลูกครั้งแรก ควรเริ่มเมื่อลูกมีอายุ 6 เดือน ครั้งที่สองเมื่อลูกมีอายุ 3 ขวบ และครั้งที่สามคือก่อนเข้าโรงเรียน คุณแม่สามารถพาลูกไปตรวจตาได้ที่ โรงพยาบาลของรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชน
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- แม่เตือน! ลูกเล่นมือถือ มากเกินไปส่งผลต่อพัฒนาการ
- กรมสุขภาพจิตพบ! เด็กเล็กเป็นโรค ไฮเปอร์เทียม มากขึ้น เพราะพ่อแม่ให้ลูกเล่นแท็บเล็ต-มือถือ
- เตือนภัยพ่อแม่! เชื้อโรค จากมือถือ ภัยร้ายใกล้ตัว หากจะคิดเอาให้ลูกเล่น
ขอบคุณข้อมูลจาก : baby.haijai.com