เมื่อลูกมี เลือดกำเดาไหล อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนตื่นตระหนกตกใจกลัว และกังวลว่า ลูกกำลังเป็นโรคอะไรหรือเปล่า ซึ่งสำหรับเด็กบางคนอาจไม่น่ากังวล แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรละเลย เพราะถ้าลูกมี เลือดกำเดาไหล ผิดปกติ ก็ต้องรีบดูแลรักษานะคะ เพื่อมาให้กลายเป็นเรื่องบานปลาย
พ่อแม่ควรรู้ อาการ เลือดกำเดาไหล ในเด็กแบบไหนอันตราย!
หากพูดถึงอาการ เลือดกำเดาไหล เป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็กเล็ก 2-3 ขวบไปจนถึงวัยประถมต้น มักมีอาการเลือดออกที่ไม่รุนแรง และเลือดมักหยุดได้เองภายใน 5-10 นาที หลังจากมีการบีบจมูกเบา ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการแคะ แกะ เกาบริเวณจมูกอย่างแรง จนทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณเยื่อบุจมูกแตกง่าย ทว่าอาการเลือดกำเดาไหลบ่อย ไม่ใช่อาการที่เราควรมองข้าม เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณความผิดปกติของระบบภายในโพรงจมูก
ซึ่งการที่เลือดเหล่านี้ไหลออกมา จะออกทางด้านหน้าหรือหลังโพรงจมูก สามารถไหลออกมาจากรูข้างเดียวหรือทั้งสองข้างพบได้ในทุกเพศทุกวัย และนอกจากนี้ยังพบในช่วงที่มีอากาศหนาวมากกว่าในช่วงอากาศชื้น หรืออากาศที่แห้ง หรือเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุบริเวณใบหน้า หรือศีรษะ หรือ มีโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้จมูก เป็นต้น อาการดังกล่าวมักหายได้เองเมื่ออายุโตขึ้น แต่จะพบบ้างในเด็กบางคนที่มีรูปโครงสร้างจมูกที่ผิดปกติ ซึ่งจะทำให้มีเลือดกำเดาไหลได้ง่ายขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม เลือดกำเดาไหลอาจเป็นอาการของโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรทราบว่าเมื่อใดที่ลูกน้อยมีเลือดกำเดาไหลมากจนอาจเป็นอันตรายและควรพาไปพบแพทย์
สาเหตุเลือดกำเดาไหลเกิดจากอะไร ?
สาเหตุของเลือดกำเดาไหลเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน แพทย์จะมีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ซึ่งได้แก่
1. กลุ่มที่มีเลือดออกจำนวนน้อย และสามารถหยุดหายไปได้แต่มีอาการเลือดกำเดาไหลบ่อย เป็นมาหลายครั้ง พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุยังไม่มาก เลือดดังกล่าวจะไหลออกมาที่โพรงจมูกด้านหน้า เรียกว่า “anterior epistaxis”
2. กลุ่มที่มีเลือดกำเดาไหลออกเพียงครั้งเดียว แต่มีปริมาณเลือดออกมาก ไม่สามารถหยุดอาการได้เอง และมักหาสาเหตุไม่พบในเบื้องต้น พบได้บ่อยในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง การไหลของเลือดจะไหลจากโพรงจมูกด้านหลัง เรียกว่า “posterior epistaxis”
ตำแหน่งเลือดกำเดาไหล บอกสาเหตุได้
ตำแหน่งที่มีอาการเลือดกำเดาไหลออกมาจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ตำแหน่งหลักๆ ด้วยกัน ซึ่งจะสามารถบอกได้คร่าวๆ ว่าอาการเลือดกำเดาไหลเกิดจากอะไร
1. เลือดกำเดาหลจากด้านหน้าโพรงจมูก เป็นอาการที่พบได้มากถึงร้อยละ 90 ของตำแหน่งที่เลือดกำเดาไหลทั้งหมด พบได้ทั้งในเด็กและวัยรุ่นเป็นจำนวนมาก สาเหตุมักมาจากการแคะจมูกด้วยความรุนแรง เลือดที่ออกมาจะมาจากผนังกั้นที่ส่วนของช่องจมูกด้านหน้า ซึ่งเต็มไปด้วยหลอดเลือดหลายแขนงรวมกันอยู่
2. เลือดกำเดาจากด้านหลังโพรงจมูก ผู้ป่วยจะสัมผัสได้ถึงอาการเลือดกำเดาไหลลงไปในคอ ได้กลิ่นคาวเลือด เป็นอาการที่รุนแรงกว่าชนิดแรก สาเหตุมักมาจากผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง และในผู้สูงอายุที่มีปัญหาหลอดเลือดแข็งตัว รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีภาวะเนื้องอกในโพรงจมูก ซึ่งตัวเนื้องอกจะมีเส้นเลือดขนาดเล็กมาหล่อเลี้ยงเป็นจำวนมาก การสังเกตความผิดปกติ แพทย์จะใช้วิธีการส่องกล้องตรวจเข้าไปด้านในเพื่อหาต้นตอของอาการเลือดออก
3. เลือดกำเดาไหลจากด้านบนโพรงจมูก เลือดกำเดาที่ไหลออกออกจากด้านบนโพรงจมูก มักจะเกิดขึ้นจากโรคเป็นสาเหตุ แต่พบได้น้อย ซึ่งมักจะมาจากการผ่าตัดไซนัส, เนื้องอกในโพรงจมูกบางชนิด และอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ เป็นต้น
อ่านต่อ >> “อาการเลือดกำเดาไหล (อันตราย) ในเด็ก ที่พ่อแม่ควรระวัง” คลิกหน้า 2
อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!
- 3 วิธีเคลียร์น้ำมูก ให้ลูกจมูกโล่ง
- แชร์ประสบการณ์จริง แม่เป็นมะเร็งโพรงจมูก
- อุทาหรณ์! ลูกเอาของยัดจมูก จนจมูกเกือบเน่า
- สีของน้ำมูก สามารถบอกสุขภาพของลูกได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ภาวะเลือกกำเดาไหลในเด็ก
โดยปกติร่างกายของเราจะมีเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเลือดชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ในการป้องกันเลือดออกและช่วยในการหยุดของเลือดหากเกิดบาดแผล อาการเลือดกำเดาไหลจึงอาจเป็นอาการแสดงของโรคเลือดที่ทำให้เกล็ดเลือดลดจำนวนลงหรือทำงานผิดปกติ จึงทำให้มีเลือดออกง่ายจากเยื่อบุต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง
– โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ เช่น โรควอนวิลล์แบรนด์ (von Willebrand disease – VWD) ซึ่งอาจมีประวัติเลือดออกง่ายหยุดยากในครอบครัว ร่วมด้วย
– โรคที่เกิดขึ้นภายหลังซึ่งทำให้เกล็ดเลือดมีปริมาณต่ำลง เช่น โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิต้าน ทานตนเอง (immune thrombocytopenia – ITP) ซึ่งเป็นภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่พบบ่อยในเด็กภายหลังโรคติดเชื้อประมาณ 1-3 สัปดาห์ หรือหลังได้รับการฉีดวัคซีน โรคไขกระดูกฝ่อทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดได้อย่างพอเพียง ทำให้มีโลหิตจาง ติดเชื้อง่ายเนื่องจากมีเกล็ดเลือดขาวต่ำลง และเกล็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย หรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแทรกซึมอยู่ในไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดที่ปกติได้ลดลง
นอกจากนี้ในรายที่มีเลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ และเป็นเวลานาน อาจทำให้เด็กเกิดภาวะซีดจากการสูญเสียเลือดเรื้อรัง จนเกิดภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก สังเกตอาการง่าย ๆ หากเด็กมีอาการเวียนศีรษะ เป็นลมง่าย หรือ เหนื่อยง่าย ให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด และรับยาธาตุเหล็กไปรับประทาน
ทำไมเลือดกำเดาไหลบ่อย ?
เลือดกำเดาไหลบ่อย เกิดขึ้นได้หลายกรณี เราสามารถแบ่งชนิดที่มาจากสาเหตุที่รุนแรงและชนิดไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง ที่พบได้ทั่วไปคือ
1. อาการระคายเคืองหรืออาการบาดเจ็บที่โพงจมูก หากผู้ป่วยมีพฤติกรรมชอบแคะจมูกแรงๆ บ่อยๆ ก็จะทำให้เลือดกำเดาไหลบ่อย มักพบในคนที่มีน้ำมูกเรื้อรัง แห้งเกรอะอยู่ด้านใน
- เมื่อแคะก็จะเกิดแผลถลอก จนมีเลือดไหลออกมาด้วย บางรายเป็นแผลเรื้อรังอยู่ที่ส่วนหน้าในรูจมูก
- เมื่อแคะบ่อยๆ ก็ทำให้เลือดออกมาได้ง่าย การได้รับการกระแทกทำให้กระดูกจมูกแตกหัก
- หรือเส้นเลือดฝอยแตก การผ่าตัดเนื้อเยื่อบุจมูก การผ่าตัดผนังกั้นจมูก การผ่าตัดโพรงไซนัส
- การใส่ท่อช่วยหายใจ การเปลี่ยนแปลงความกดอากาศอย่างรวดเร็ว การสั่งน้ำมูกแรงๆ ฯลฯ
อาการเหล่านี้มักไม่ค่อยเป็นอันตราย จะมีเลือดกำเดาไหลออกช่วงสั้น ๆ และหาไปได้เอง แต่หากมีพฤติกรรมการแคะจมูกที่รุนแรง หรือทำให้จมูกเกิดบาดแผล ก็จำทำให้มีเลือดกำเดาไหลบ่อยตามมาได้ง่าย
2. เลือดกำเดาออกในปริมาณมากภายหลังจากการได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุ ปริมาณเลือดจะมีมากในช่วงแรก แต่จะค่อยๆ หายไปได้เอง ทว่าหากสังเกตพบการบาดเจ็บของจมูกเป็นเวลานาน มีเลือดกำเดาไหลนานเป็นสัปดาห์ สาเหตุอาจมาจากการที่เส้นเลือดภายในโพรงจมูกโปร่งพองจากอุบัติเหตุ
3. อาการหนาวและแห้ง อาการหนาวและแห้ง จะเป็นสาเหตุทำให้เลือดกำเดาไหลบ่อยได้ เนื่องจากเยื่อบุจมูกมีความแห้ง เกิดการระคายเคือง ตามมาด้วยเลือดออกได้ง่ายขึ้น
4. ภาวะอักเสบภายในโพรงจมูก มักมาจากการติดเชื้อไวรัส, ภูมิแพ้, ไซนัสอักเสบ, การสัมผัสกับสิ่งระคายเคือง, มีสิ่งแปลกปลอมในจมูก, การใช้เครื่องอัดอากาศช่วยหายใจ และการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น เป็นสาเหตุที่เสี่ยงทำให้เกิดการอักเสบภายในโพรงจมูก มีเลือดคั่งภายใน เส้นเลือดฝอยแตกง่าส่วนมากสังเกตได้ว่าจะมีเลือดปนออกมาพร้อมกับน้ำมูก อาการรุนแรงแตกต่างกันไปในกลุ่มผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่ออกมาในแต่ละครั้งด้วย
อาการของเลือดกำเดาไหล มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้แก่
- เมื่อเลือดกำเดาไหลไม่หยุดนานเกิน 30 นาที ทั้งที่ใช้วิธีห้ามเลือดเบื้องต้นโดยการบีบจมูกแต่เลือดไม่หยุดไหล
- เมื่อมีเลือดกำเดาไหลนาน ร่วมกับที่ผิวหนังมีรอยเลือดออก เช่น มีพรายย้ำ จ้ำเขียว หรือ มีจุดแดงหรือจุดเลือดออกตามตัวร่วมด้วย
- เมื่อมีเลือดออกตามไรฟัน หรือลิ้นร่วมด้วย
- มีปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ หรืออุจจาระสีดำคล้ายยางมะตอยหรือปนเลือดร่วมด้วย
- เมื่อเด็กมีไข้สูงร่วมด้วย
- เมื่อเด็กมีอาการเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง หรือซีดลง
อาการเลือดกำเดาไหลที่ควรระวัง
ระดับความรุนแรงของอาการเลือดกำเดาไหลที่ไม่ควรมองข้าม เสี่ยงที่จะทำให้เลือดกำเดาไหลออกมาในปริมาณมาก จนทำให้ผู้ป่วยช็อกจนหมดสติได้ นั่นคือภาวะที่ถูกจัดอยู่ในระดับรุนแรง มีเลือดออกมาก จนทำให้น้ำในหลอดเลือดต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดต่ำลง หน้ามืด รู้สึกเหมือนจะเป็นลมเวลาเปลี่ยนอิริยาบถ จะทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดมาก ควรรีบเข้ารับการรักษาเพื่อหยุดการไหลของเลือดอย่างเร่งด่วน มิเช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดภาวะช็อกจนเสียชีวิตตามมาได้เลยทีเดียว แม้จะใช้การห้ามเลือดด้วยวิธีต่างๆ แล้วก็ตาม
อ่านต่อ >> “วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้อง! หากลูกน้อยมีเลือดกำเดาไหล” คลิกหน้า 3
อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!
- หนูน้อย 2 ขวบ เสียชีวิตเพราะเลือดกำเดาไหล
- เลือดกำเดาไหล สัญญาณอันตรายต่อสุขภาพหรือเปล่า?
- คลิป ก้มหรือเงยหน้า? เวลา ลูกเลือดกำเดาไหล
- แม่แชร์ประสบการณ์สังเกตให้ดี ลูกป่วย มีตุ่มแดงแปลกๆ ขึ้น เสี่ยงเป็น โรค ITP เกล็ดเลือดต่ำ รักษาช้าเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากลูกน้อยมีเลือดกำเดาไหล ดังนี้
มีคุณแม่หลายท่านอาจจะยังใช้วิธีหยุด เลือดกำเดา แบบผิดๆ ด้วยการจับลูกเงยหน้าซึ่งอาจทำให้เด็กสำลัก เลือดกำเดา ลงคอได้ ซึ่งหากเห็นว่าลูกมีเลือดกำเดาออก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำเบื้องต้น คือ
- ใช้หลักการห้ามเลือดไม่ว่าออกมาจากทางไหน ด้วยการกดที่จุดเลือดออกทิ้งไว้ 10-15 นาที จะช่วยให้เกล็ดเลือดเข้ามารวมตัว และเลือดหยุดได้เองในที่สุด
- ตำแหน่งที่เลือดกำเดาไหลบ่อย จะพบที่ด้านหน้าตรงสันกลางจมูก
- หากมีเลือดออกให้ใช้วิธีเอามือบีบจมูกให้แน่นด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ค้างไว้ 5-0 นาที เพื่อปิดจุดเลือดออก และใช้วิธีหายใจทางปากไปก่อน
- หลีกเลี่ยงการบีบๆ ปล่อยๆ จมูกขณะที่กำลังกดจุดหยุดเลือด เพราะส่วนใหญ่ต้องการดูว่าเลือดหยุดไหลหรือยัง
- ดังนั้นให้บีบทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาทีเป็นอย่างต่ำ หากต้องการทราบว่าเลือดหยุดไหลแล้วหรือไม่
- ประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งหรือ cold pack ที่จมูก ซึ่งจะช่วยให้เส้นเลือดภายในโพรงจมูกหดตัว
- บรรเทาเลือดไหลให้น้อยลง หรืออมน้ำเย็น หรือน้ำแข็งภายในช่องปากไปพร้อมๆ กันด้วย จะช่วยลดภาวะเลือดออกให้หายได้เร็วขึ้น
- หากพบว่าเลือดกำเดาไหลออกมา ไม่ยอมหยุดซักที ให้บีบจมูกต่อด้วยวิธีเดิมอีกครั้ง
- กรณีที่มีเลือดกำเดาไหลอย่างต่อเนื่องเกิน 20 นาที ให้บีบทิ้งไว้และรีบพาตัวเองไปโรงพยาบาลในทันที
โดยคุณหมอวิรัช จิตสุทธิภากร แพทย์โรคจมูก รพ. สวรรค์ประชารักษ์ ได้เผยแพร่ภาพให้เห็นถึงวิธีหยุดเลือดกำเดาที่ขัดเจน ซึ่งใช้ได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ถูกต้อง 4 ขั้นตอน ดังนี้
บีบจมูก
ใช้มือบีบจมูกบริเวณปีกจมูก เบา ๆ ในข้างที่มีเลือดกำเดาไหล อย่างน้อย 10 นาที การบีบจมูกจะช่วยหยุดเส้นเลือดขนาดเล็กที่รวมกันอยู่ตรงผนังกั้นจมูกด้านหน้า
หลังตรง
ในขณะที่นั่งหลังตรง ยืดตัว ศีรษะจะอยู่สูงกว่าส่วนอื่นของร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตที่สูบฉีดเลือดอยู่นั้นลดลง
ก้มหน้า
เพื่อป้องกันเลือดไหลตกลงคอจนอาจทำให้สำลัก เข้าคอ จะทำให้เกิดการระคายเคือง
อ้าปากหายใจ
การอ้าปากจะช่วยรับอากาศเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ผ่านทางโพรงจมูกที่มีเลือดไหลอยู่ อีกทั้งต้องระวังการไอ จาม เพื่อไม่ให้เส้นเลือดฝอยแตกอีก
ขอบคุณข้อมูลจาก นพ. วิรัช จิตสุทธิภากร แพทย์โรคจมูก รพ. สวรรค์ประชารักษ์
การรักษาเลือดกำเดาไหล
ทั้งนี้หากเบื้องต้นจะใช้วิธีปฐมพยาบาลดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วก่อน ในระหว่างที่เลือดกำเดาหยุดไหลไปแล้ว สิ่งที่ต้องคอยระวังดูแล ขณะรักษาต่อ คือ
- หลีกเลี่ยงการแคะจมูกหรือการสั่งนำมูกแรงๆ ภายในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมงก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลออกมาอีก ควรให้ลูกนอนพักในท่ายกศีรษะขึ้นสูง ใช้น้ำแข็งมาประคบเอาไว้ตรงตำแหน่งหน้าผากหรือคอ
- การรักษาหากแพทย์พบว่าลูกมีเลือดไหลไม่หยุดด้วยวิธีเบื้องต้น แพทย์จะหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น ทำการรักษาด้วยวิธีจี้ในจุดที่เลือดออกด้วยไฟฟ้าหรือการใช้สารเคมี การใช้วิธีผูกหลอดเลือดแดง การใส่วัสดุหยุดเลือดกำเดาภายในจมูก หรือการฉีดสารเพื่อหยุดเข้าไปอุดหลอดเลือด เป็นต้น
วิธีป้องกันมิให้มีเลือดกำเดาไหลทำได้ง่ายเบื้องต้น ดังนี้
- ป้องกันไม่ให้บริเวณเยื่อบุจมูกของลูกน้อยแห้ง เพื่อไม่ให้เกิดอาการคันและลดการแคะจมูก โดยการใช้น้ำเกลือหยอดจมูก หรือทาวาสลินเคลือบในรูจมูกของลูกก่อนนอน
- ดูแลอากาศในห้องนอน ไม่ให้แห้งเกินไป
- การรับประทานผัก ผลไม้ หรือ วิตามินซี จะช่วยให้หลอดเลือดฝอยในจมูกแข็งแรง เลือดกำเดาไหลออกน้อยลง
ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีเลือดกำเดาไหล และไหลแบบเรื้อรัง ไหลไม่ยอมหยุด หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ทางที่ดีคือการเข้ารับการตรวจจากแพทย์ เพื่อให้แน่ชัดว่าอาการที่เป็นอยู่นั้นเป็นอาการธรรมดา หรือจากสัญญาณเตือนของโรคในร่างกายของลูกน้อยกันแน่นะคะ
อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ทำไมเลือดกำเดาไหลบ่อยในช่วงตั้งครรภ์
- ล้างจมูกลูกอย่างไรให้ปลอดภัย ถูกต้องแต่ละช่วงวัย
- รวมผลิตภัณฑ์ ยาพ่น และ น้ำเกลือล้างจมูก เลือกแบบไหนดี!
ขอบคุณข้อมุลจาก : mahosot.com , www.thaihealth.or.th