AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ขนมปังปิ้ง ไหม้ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

Credit Photo : Shutterstock

อาหารเช้าที่คุณแม่มักทำให้ทุกคนในครอบครัวทานแบบชั่วโมงเร่งด่วนใส่กล่องไปนั่งทานกันในรถระหว่างไปโรงเรียน ทำงาน ก็คือ ขนมปังปิ้งกินกับนมกล่อง ที่บางครั้งคุณแม่อาจทำ ขนมปังปิ้ง ไหม้ ออกน้ำตาลเข้มไปก็มี ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบที่ถามมาว่า กินขนมปังปิ้งกรอบๆ ไหม้ๆ อันตรายหรือเปล่า ให้ได้ทราบกันค่ะ

 

ขนมปังปิ้ง ไหม้ อย่าเสียดาย!!

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมครั้งนี้ผู้เขียนถึงหยิบเอาประเด็น ขนมปังปิ้ง ไหม้ มาพูด ที่อยากพูดถึงก็เพราะว่า มันเป็นเรื่องสุขภาพใกล้ตัวของทุกคน และอาจมองข้ามถึงความปลอดภัย ความเสี่ยงของอาหารที่เราทุกคนทานกันอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะขนมปังปิ้ง ที่เป็นหนึ่งในของโปรดของเด็กๆ และคนอื่นๆ ในครอบครัว

พฤติกรรมการบริโภคที่คุ้นชินกันอยู่ทุกวัน ที่ตื่นเช้ามาถ้าไม่ทานอาหารเช้าแบบเต็มเมนู คุณพ่อ คุณลูก ก็ขอขนมปังปิ้งกินกับไข่ดาว ไส้กรอก ดื่มคู่กับนมสด น้ำเต้าหู้ น้ำผลไม้ ชา กาแฟ ฯลฯ แต่มาติดอยู่ตรงที่ว่าบางทีไม่ลูก ก็สามีที่ขอขนมปังปิ้งกรอบๆ ออกสีน้ำตาลเข้มๆ หน่อยนะแม่ คือถ้าพูดกันจริงๆ การทานขนมปังปิ้งกรอบทุกวันไม่ได้ดีต่อสุขภาพในระยะยาวเลยค่ะ

เพราะความกรอบเข้มของสีขนมปัง ที่บางทีออกจะไหม้ไปซักหน่อย เชื่อว่าคุณแม่หลายคนเสียดาย ไม่ทิ้ง ไม่ปิ้งใหม่ เก็บไว้กินเอง ผู้เขียนเชื่อว่าหลายครอบครัวทราบกันอยู่แล้วในเบื้องต้นว่า การทานอาหารที่เกรียมๆ ไหม้ หรือกรอบๆ ประเภทปิ้ง ย่างมากๆ ไม่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ยังทานกันอยู่ จริงๆ ทานได้ค่ะ ถ้าปรุงให้อาหารสุกกำลังดีก็จะปลอดภัยต่อสุขาภาพมากกว่า เพราะอาหารที่นำมาปิ้ง ย่างจนไหม้ กรอบมากไป อย่างในขนมปังปิ้งกรอบจนสีออกน้ำตาลเข้ม อันตรายคือสารอะคริลาไมด์ในขนมปังไหม้ อยากรู้กันไหมคะว่า เจ้าสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) คืออะไรและมากับอาหารได้อย่างไร

อ่านต่อ สารอะคริลาไมด์ในขนมปังปิ้ง อันตราย!! คลิกหน้า 2 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Credit Photo : Pixabay

สารอะคริลาไมด์ในขนมปังปิ้ง คืออะไร?

สารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ไม่ใช่สารที่ใส่แต่งเติมอาหาร แต่เป็นสารที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากปฏิกิริยาเคมีขณะปรุงอาหาร โดยจะเกิดขึ้นเมื่ออาหารบางอย่าง (โดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้ง เช่น ขนมปัง มันฝรั่ง แครอท หัวไชเท้า) ได้รับความร้อนสูงเกิน 120°C

ซึ่งในอาหารที่ปรุงโดยใช้ความร้อนสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ปิ้ง ย่าง ทอด อบกรอบ และคั่ว จึงมักมีสารอะคริลาไมด์สูงกว่าอาหารที่ต้ม นึ่ง หรือเข้าไมโครเวฟ

มีการทดลองกับหนู พบว่า หนูที่ได้รับสารนี้ปริมาณมากเสี่ยงเกิดมะเร็งสูง ส่วนอันตรายของสารนี้ต่อมนุษย์นั้นยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยชัดเจน อย่างไรก็ตาม สถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ได้จัดสารอะคริลาไมด์อยู่ในประเภท “มีแนวโน้มเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์”

Good to know …ลดกินขนมปังขาวปิ้ง มากินขนมปังโฮลเกรน เพื่อสุขภาพกันบ้างก็ดีนะ ถ้าในเช้าวันที่รีบมากจนไม่เวลาเตรียมอาหารเช้าให้ตัวเอง ก็ทุกคนในครอบครัว ลองเปลี่ยนจากเมนูขนมขาวปิ้ง มาเป็นขนมปังโฮลเกรน 100% ทำเป็นแซนวิชทานกับนมกันบ้างดีกว่าค่ะ ถ้าในตู้เย็นมีมะเขือเทศ แตงกวา และแฮม คือเวลาทำพอๆ กันค่ะ แต่เปลี่ยนจากเครื่องปิ้งขนมปัง มาหันขนมปังเติมประโยชน์ด้วยผักและแฮมลงไป หรือจะเป็นไข่ดาวแทนแฮมก็ได้  ง่ายเหมือนกันแต่ได้คุณค่าสารอาหารเพิ่มมาเยอะเลยค่ะ

การซื้อขนมปังโฮลเกรนต้องดูที่ฉลากให้ดี เพราะถ้าเขียนว่า Wheat bread หรือ Multi-Grain อาจจะเป็นขนมปังขาวผสมธัญพืช ที่อาจไม่ใช่ขนมปังโฮลเกรน 100% นะคะ คุณแม่หลายๆ คนกำลังสงสัยว่า แล้วขนมปังโฮลเกรนจริงๆ คือขนมปังอะไรบ้าง  สำหรับขนมปังโฮลเกรน มีหลายชนิดค่ะ เช่น

 

อ่านต่อ ลดการกินสารอะคริลาไมด์ ลดเสี่ยงมะเร็ง คลิกหน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

Credit Photo : Pixabay

ไม่อยากเสี่ยงมะเร็ง แล้วจะลดสารอะคริลาไมด์ในอาหารได้อย่างไร?

แน่นอนว่าคงไม่อยากมีใครป่วยสุขภาพแย่เพราะมะเร็ง เพราะอย่างที่รู้กันว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เมื่อถูกสะสมมากๆ ในร่างกาย ก็จะกลายเป็นพิษต่อเซลล์ที่เมื่อเซลล์เสื่อมสภาพลง ก็กลายเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายแรงขึ้นได้ค่ะ

 

Must Read >> สัญญาณเตือนโรคมะเร็งในเด็กที่พ่อแม่ควรรู้

 

สำนักงานมาตรฐานอาหารของประเทศอังกฤษ (FSA)ได้ให้แนวทางของการลดปริมาณสารอะคริลาไมด์ในอาหารง่ายๆ ดังนี้

อย่าให้เกรียม 

ทอด อบ ปิ้ง ย่าง อาหารจำพวกแป้งแค่พอให้สีเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองหรือเหลืองอ่อนๆ  อย่าใช้ความร้อนสูงหรือใช้เวลานานจนขนมปัง มันฝรั่ง ฯลฯ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

อ่านฉลากวิธีการปรุง 

เมื่อซื้อเฟรนช์ฟรายส์แช่แข็งมาทอดเอง ควรทำตามวิธีปรุงที่ระบุไว้บนซอง เพื่อป้องกันไม่ให้ทอดไหม้

อย่าเก็บมันฝรั่งไว้ในตู้เย็น 

ถ้าคิดจะทำมันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ควรเก็บมันฝรั่งดิบไว้ในที่ที่มืดและอุณหภูมิสูงเกิน 5°C เพราะการเก็บไว้ในตู้เย็นจะไปเพิ่มปริมาณสารอะคริลาไมด์ได้

กินให้หลากหลายและสมดุล 

ในเมื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงไม่ได้ทั้งหมด จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ทานผักและผลไม้เยอะๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง

 

สุขภาพดีหาซื้อไม่ได้ต่อให้มีเงินเยอะแค่ไหนก็ตาม เพราะสุขภาพดีต้องมาจากการดูแลร่างกายให้ได้รับอาหารที่ดี หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และต้องไม่เครียด ที่สำคัญอะไรก็ตามที่ทำแล้วลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพแย่ลงได้ ก็จะมีผลช่วยลดความเสี่ยงของสุขภาพในระยะยาวได้มากค่ะ  และสำหรับเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ที่ชอบกินมันฝรั่งแบบกรอบๆ ขนมปังปิ้งกรอบๆ สีน้ำตาลเข้ม ควรต้องลด เลี่ยงไม่ทาน หรือเปลี่ยนเป็นทานน้อยลง ไม่กินบ่อย ก็ส่งผลดีต่อการได้มาซึ่งสุขภาพที่แข็งแรง …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

มะเร็งจอตา โรคฮิตอันดับ 3 ในเด็ก!! เช็กง่ายๆ ด้วยสมาร์ทโฟน
โรคมะเร็งในเด็ก ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม
5 มะเร็งในผู้หญิง ที่เสี่ยงเป็นกันมาก

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงที่มาจาก
www.wongnai.com
www.cam.ac.uk , www.webmd.com , www.telegraph.co.uk