AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

สังเกตด่วน! ลูก นอนอ้าปาก เสี่ยงเป็น 4 โรคนี้!

อันตราย..พ่อแม่สังเกตให้ดี หากเห็นลูกน้อยชอบ นอนอ้าปาก ลูกของคุณอาจเสี่ยงกำลังป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ 1 ใน 4 โรคนี้

ระวัง..ลูก นอนอ้าปาก ไม่ใช่เรื่องดี..เสี่ยงเป็น 4 โรคนี้!

การนอน ถือเป็นอาหารสมอง เพราะการนอนหลับอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายของลูกน้อยได้พักผ่อน สามารถสร้างภูมิต้านทานโรค พร้อมมีร่างกายที่สดชื่นแจ่มใสอารมณ์ดี คิดอ่านหรือทำอะไรได้หลักแหลม จดจำสิ่งต่างๆ ที่เรียนรู้ไปได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นการนอน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรสนับสนุนให้ลูกน้อยนอนให้เพียงพอ

ทั้งนี้ขณะที่ลูกนอน คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยหมั่นสังเกตด้วยว่า  ลูกนอนท่าที่ดีแล้วหรือยัง ห่มผ้าหรือเปล่า หลับสนิทไหม หรือ นอนกรน นอนอ้าปาก หรือเปล่า เพราะหากลูกมีพฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติ  โดยเฉพาะ นอนอ้าปาก หรือ นอนหายใจทางปาก ให้คุณพ่อคุณแม่สงสัยได้เลยว่า  ลูกของคุณอาจจะกำลังไม่สบายอยู่ก็เป็นได้

ทำไมลูกทารกถึงนอนอ้าปาก

สำหรับลูกทารกวัยแรกเกิด 2-3 อาทิตย์แรก จะนอนอ้าปาก เพราะยังหายใจทางจมูกเองไม่ค่อยได้ จึงต้องหายใจทางปากร่วมด้วย แต่เมื่อโตมาหน่อยก็จะนอนหลับปากปิดและหายใจทางจมูกได้เอง

วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นหากลูก นอนอ้าปาก ปกติ เวลานอนคนเราจะขากรรไกรหย่อนอยู่แล้ว แต่หย่อนแบบริมฝีปากยังปิดอยู่ เรื่องแบบนี้ ให้ลองฝึกค่ะ เมื่อรู้สึกตัวทุกครั้งให้พยายามปิดปาก หรือนึกถึงอยู่เสมอ นานๆ ไปก็จะชิน

แต่หากมีบางวันที่คุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกมักนอนอ้าปาก และมีอาการกรนออกมาด้วย ให้รู้ไว้เลยว่าลูกของคุณกำลังไม่สบาย

สาเหตุของการนอนอ้าปาก

การที่ลูกน้อยนอนอ้าปาก หรือนอนหายใจทางปาก สาเหตุหลักส่วนใหญ่มาจาก ลูกหายใจทางจมูกไม่ได้ เพราะกำลังป่วย หรือเป็นหวัด คัดจมูก มีน้ำมูกนั่นเอง เมื่อใช้ชีวิตตอนกลางวันตามปกติ ก็มักจะต้องหายใจทางปาก ดังนั้นเวลานอนทำให้ลูกเคยชินกับการหายใจทางปาก หลังจากเป็นหวัด  หรือในเด็กที่เรียนว่ายน้ำมาก็มักจะเคยชินกับการหายใจทางปากนั่นเอง

ทั้งนี้นอกจากความเคยชินกับการหายใจทางปาก หลังจากเป็นหวัดแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นที่บ่งชี้ว่าลูกอาจกำลังป่วยเป็นโรคอื่นๆ ได้อีกเช่นกัน

อ่านต่อ >> “ลูกนอนอ้าปากเสี่ยงเป็น 4 โรคนี้” คลิกหน้า 2

สาเหตุที่ลูกนอนอ้าปาก

1. มีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น เช่น เป็นภูมิแพ้ มีน้ำมูกในรูจมูก รูจมูกบวม ริดสีดวงจมูก มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก หรือ เป็นไซนัสอักเสบ หรือมีภาวะต่อมทอนซินอดีนอยด์โต  ทำให้เวลานอนหายใจไม่สะดวก ร่างกายจึงต้องหายใจทางปากแทน

2. การมีลิ้นไก่ยาว ทำให้ขัดขวางทางเดินหายใจได้เช่นกัน ร่างกายจึงต้องอ้าปากหายใจช่วยเช่นกัน ซึ่งลิ้นไก่ที่ยาวอาจทำให้มีอาการนอนกรนร่วมด้วย

3. เป็นโครงสร้างทางกายภาพของริมฝีปาก ในบางคนที่ปากจะไม่ปิดสนิทเมื่ออยู่ในภาวะผ่อนคลาย หรืออาจเกิดจากการมีฟันยื่นเหยิน

4. มีโรคหัวใจโต ทำให้เกิดเลือดคั่งในปอด หายใจได้ลำบาก ร่างกายต้องใช้การหายใจทางปากช่วย แต่มักมีอาการอื่นๆ ร่วมอีก เช่น เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เท้าบวม เป็นต้น

 

ซึ่งการแก้ไขจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น ในเบื้องต้นให้ลองใช้การนอนตะแคงดูว่าอาการบรรเทาหรือไม่  ถ้ายังไม่หายแนะนำให้พาไปพบกุมารแพทย์นะคะเพื่อจะได้ดูว่ามีสาเหตุจากอะไร  จำเป็นต้องตรวจร่างกายโดยละเอียด และหากพบสาเหตุที่ชัดเจนจะได้ทำการรักษาได้อย่างเหมาะสม

หรือหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ว่าใจว่าแท้จริงแล้วลูกมีปัญหาการนอนหลับ หรือนอนอ้าปาก มาจากสาเหตุใด ก็สามารถตรวจการนอนหลับแบบ มาตรฐานสากล(Full Polysonnography) ซึ่งการตรวจนี้สามารถบอกได้ว่าคุณภาพ ในการนอนของคืนนั้น ๆ เป็นอย่างไร หลับได้ดีหรือสนิทหรือไม่   มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ โดยที่พ่อแม่เองไม่สามารถทราบได้ โดยเฉพาะภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การตรวจการนอนหลับนี้ประกอบด้วย

 

อ่านต่อ >> การเตรียมตัวของลูกน้อยเพื่อเข้ารับการตรวจการนอนหลับ” คลิกหน้า 3

 

ทั้งหมดนี้การตรวจการนอนหลับเป็นการตรวจที่มีความระเอียดสูงใช้เวลาในช่วงกลางคืน อย่างน้อยประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาปกติในการหลับของคนทั่วไป โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าดูการตรวจด้วยทั้งคืน

การเตรียมตัวลูกน้อยเพื่อเข้ารับการตรวจการนอนหลับ


1. อย่านอนกลางวัน
2. รับประทานอาหารได้ตามปกติ
3. รับประทานยาที่เคยรับประทานได้ตามเวลาที่แพทย์สั่ง
4. เตรียมชุดนอนหรือชุดที่ใส่นอนประจำมาด้วย และอุปกรณ์สำหรับล้างหน้า แปรงฟัน
5. สำหรับคุณพ่อคุณแม่ หากอยากเข้ารับการตรวจ ห้ามรับประทานชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หลัง 16.00 น.
6. สระผมให้สะอาดก่อนมา ห้ามใส่น้ำมันหรือครีมใส่ผม
7. ต้องมาถึงโรงพยาบาล ไม่เกิน 19.30 น.
8. เตรียมเอกสารเกี่ยวกับสิทธิการรักษามาให้เรียบร้อย ในกรณีเบิกหน่วยงานราชการ
10. ในการนัดหมายเจ้าหน้าที่จะโทรแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อน 1 อาทิตย์  และก่อนตรวจจริง 1 วัน

 

อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกน้อยอย่างละเอียด หากมีความผิดปกติ ก็ควรปรึกษาแพทย์ การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ อาหารการกิน สภาพจิตใจ การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ ที่เป็นสาเหตุปัญหาด้านสุขภาพ อย่าละเลยกับการดูแลสุขภาพ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.doctor.or.th , www.scimath.org , www.pobpad.com