AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

กรมควบคุมมลพิษ ออกเตือนทุกครัวเรือนในกทม. กำลังเผชิญสภาวะอากาศเลวร้าย

ประกาศด่วน!! ไม่ใช่หมอก!! กรมควบคุมมลพิษ ยืนยัน กรุงเทพฯ กำลังเผชิญสภาวะอากาศเลวร้าย เตือนด่วนคุณพ่อคุณแม่ทุกบ้านระวังลูกน้อย งดออกนอกบ้านได้จะดีมาก

ปรากฏการณ์หมอกควันที่เกิดขึ้น ถูกอธิบายจากกรมควบคุมมลพิษว่า มันคือ ปรากฏการณ์ สภาพอากาศนิ่ง ชั้นอากาศผกผันใกล้พื้นดิน ทำให้มลพิษทางอากาศเกิดการสะสมตัวในปริมาณมาก ผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 ใน กทม.เกินค่ามาตรฐานทุกพื้นที่ ฝุ่นละออง PM 10 ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศหลัก ได้แก่ การจราจร รองลงมาคือ อุตสาหกรรม และ การเผาในที่โล่ง

กรมควบคุมมลพิษ ออกเตือนทุกครัวเรือนในกทม. กำลังเผชิญสภาวะอากาศเลวร้าย


โดยอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า… สถานการณ์มลพิษทางอากาศ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล วันที่ 24 มกราคม 2561 ผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานในทุกพื้นที่ (ค่ามาตรฐาน 50 มคก/ลบม.)

ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เวลา 12.00 ณ วันที่ 24 มกราคม 2561 อยู่ในช่วง 54 – 85 มคก./ลบ.ม. สูงสุดที่ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี, สมุทรปราการ 59 – 71 มคก./ลบ.ม. และสมุทรสาคร 114 มคก./ลบ.ม.

สำหรับผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM10 ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน (ค่ามาตรฐาน 120 มคก/ ลบม.) ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศหลักของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ การจราจร รองลงมาคืออุตสาหกรรม และการเผาในที่โล่ง ประกอบกับเกิดสภาพอากาศนิ่ง ลมสงบ และชั้นอากาศผกผันใกล้พื้นดิน

ทำให้มลพิษทางอากาศเกิดการสะสมตัวในปริมาณมาก ปรากฏการณ์นี้จะพบเป็นบางวันในช่วงฤดูหนาว ถึงต้นฤดูร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับ PM 2.5 สูงขึ้นผิดปกติในช่วงนี้

โดยในเฟซบุ๊กเพจ ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว ได้โพสต์ข้อความระบุว่า “ตกลงที่อากาศ2-3วันนี้ขมุกขมัวมันไม่ใช่หมอก แต่มันคือ PM2.5 สินะ PM 2.5 คือฝุ่นอนุภาคขนาดจิ๋ว ที่สามารถผ่านขนจมูก ขี้มูก โพรงจมูก คอ หลอดลมใหญ่ ขนพัดโบก เสมหะ หลอดลมเล็ก หลอดลมย่อย ไปตกที่ถุงลมได้โดยตรง ดังนั้นมันสามารถพาอะไรก็ตามที่อยู่ในตัวมัน เช่นหากเป็นฝุ่นที่มีสารเคมี ก็เอาสารเคมีไป ตกในปอดได้”

อ่านต่อ >> กรมควบคุมมลพิษชี้แจง สถานการณ์มลพิษทางอากาศในกทม.เกินมาตรฐาน” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

PM2.5 คืออะไร ทำไมจึงสามารถก่อมะเร็ง

ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน คือ มลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด (5 ไมครอน) ฝุ่นพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้ ฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลี ฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก

ฝุ่นขนาดใหญ่จะตกลงสู่พื้นตามแรงดึงดูดของโลก แต่ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน10ไมครอน (PM10) และ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน2.5ไมครอน (PM2.5) จะสามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นาน ปะปนกับมลพิษอื่นในอากาศ หากปะทะเข้าจมูกหรือปาก ฝุ่นละอองขนาดใหญ่กว่านี้บางส่วนถูกขับออกมาเป็นเสมหะ สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอด ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็งหากสะสมอยู่ในอวัยวะใดนาน ๆ

กรมควบคุมมลพิษ ชี้แจง ข้อเท็จจริง สถานการณ์มลพิษทางอากาศในกทม.

ทั้งนี้ทางทางกรมควบคุมมลพิษ ได้ชี้แจงว่าข่าวที่แชร์ในเว็บเพจต่างๆ ซึ่งเป็นรูปจากเว็บไซต์ http://aqicn.org/ ให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวใช้ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง เทียบกับดัชนีคุณภาพอากาศของ U.S. EPA ซึ่งต้องใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในการเทียบ จึงทำให้การรายงานดัชนีคุณภาพอากาศของเว็บไซต์ดังกล่าวอยู่ในช่วงสีแดง (มีผลกระทบต่อสุขภาพ)

ขอบคุณภาพจากเพจ  Drama-addict 

ขอบคุณภาพจากเพจ  Drama-addict 

 ข้อเท็จจริง คือ หากใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง จะอยู่ในเกณฑ์สีส้ม (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) ซึ่งสภาพอากาศที่เหมาะสมแก่การหายใจและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคืออยู่ในช่วงค่า 0-50 ส่วนระดับ 51-100 ยังอยู่ในช่วงกลางๆ เช่นเดียวกับช่วงค่า 101-150 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคนบางกลุ่ม เช่น เด็กและผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดควรงดออกกำลังกายแจ้ง เป็นเวลานาน ขณะที่ค่า 151-200 ซึ่งหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ กำลังเผชิญอยู่

อย่างไรก็ตามมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ระบบทางหายใจหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกอาคาร ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นควัน และหากพบว่าลูกน้อยหรือตัวเองมีอาการทางสุขภาพฉับพลัน ควรรีบไปพบแพทย์

ทั้งนี้ในส่วนของคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นเจ้าของยานพาหนะ ให้ดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดีและไม่ปล่อยควันดำ และถ้าเป็นได้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หันไปใช้ระบบขนส่งมวลชนก็จะช่วยสถานการณ์และลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ได้

อ่านต่อ >> “อันตรายจากมลพิษ ทำลายสมองลูกน้อย” คลิกหน้า 3


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : กรมควบคุมมลพิษ, Drama-addict , www.one31.net , www.nationtv.tv

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

จากข่าวที่กรมควบคุมมลพิษ พบค่าฝุ่นละอองในกรุงเทพ และปริมณฑลอยู่ในเกณฑ์สูงจนถึงระดับ “ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ” อาจทำให้หลายคนเริ่มตระหนักถึงภัยอันตรายจากฝุ่นละอองในอากาศมากขึ้น

ทั้งนี้ทางทีมงานวิจัยภายใต้การนำของ นายแพทย์ แบรดลีย์ ปีเตอร์สัน ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการพัฒนาจิตใจ ประจำโรงพยาบาลเด็กแห่งลอสแองเจลิส ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยล่าสุดในวารสาร จามา ไซเคียทรี ระบุว่า มลพิษปกติทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นไอเสียจากรถยนต์, หรือควันจากโรงงาน ตลอดจนควันบุหรี่ สามารถสร้างความเสียหายให้กับสมองของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ทำให้เนื้อสมองสีขาว (ไวท์ แมทเทอร์) ในสมองเด็กหดเล็กลง สร้างความเสียหายให้กับกระบวนการพัฒนาการของเด็กตั้งแต่วัยทารกจนติดตัวไปตลอดชีวิต

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ที่ศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอเมริกันเชื้อสายโดมินิกันและแอฟริกันตั้งครรภ์จำนวน 655 คน ซึ่งคลอดบุตรระหว่างปี 1997ต่อเนื่องจนถึงปี 2006โดยในช่วงปลายของการตั้งครรภ์ของกลุ่มตัวอย่าง ทางทีมวิจัยได้จัดอุปกรณ์สะพายติดหลังสำหรับใช้วัดค่าปริมาณของสาร “โพลีไซคลิก อะโนมาติก ไฮโดรคาร์บอนด์-พีเอเอช” สารพิษที่อยู่ในอากาศซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารชีวภาพ

หลังจากนั้น ทีมงานของปีเตอร์สัน คัดเลือกเด็ก ๆ 40 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยต่อเนื่องล่าสุด โดยกำหนดเด็ก 20 คนแรกเป็นลูกของแม่ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งมีค่าพีเอเอชต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมัธยฐาน ส่วนอีก 20 คนหลังเป็นลูกของแม่ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีค่าพีเอเอชสูงกว่าค่ามัธยฐานดังกล่าว เด็กทุกคนอายุ 8 ขวบแล้วในตอนที่เข้ารับการสแกนด้วยเทคโนโลยี เอ็มอาร์ไอ

ผลการสแกนแสดงให้เห็นว่า… สารเนื้อสมองสีขาวในส่วนของกะโหลกซีกซ้ายมีปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปริมาณในสมองเด็กทั่วไป สมองในส่วนดังกล่าวมีหน้าที่ในการควบคุมการเรียนรู้ภาษา, การรับรู้เข้าใจเรื่องต่างๆ, เรื่อยไปจนถึงพฤติกรรมการแสดงออกและขั้นตอนพัฒนาการต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาด้านพัฒนาการบางเรื่องตามมา

ทีมวิจัยไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเพราะเหตุใดสมองซีกซ้ายจึงได้รับผลกระทบมากกว่า แต่ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นเพราะเด็กๆ เหล่านี้ได้รับผลกระทบจากสารพีเอเอชตั้งแต่เมื่อเริ่มกระบวนการทางชีวเคมีในขั้นตอนแรกสุดของการตั้งครรภ์ ที่น่าจะส่งผลให้สมองของทารกพัฒนาออกมาไม่เท่ากันอยู่เล็กน้อยระหว่างข้างซ้ายกับข้างขวา

ทีมวิจัยพบว่า  ยิ่งค่าพีเอเอชของที่ผู้เป็นแม่ได้รับสูงขึ้นเท่าใด ปริมาณของเนื้อสารสมองสีขาวยิ่งน้อยลงมากเท่านั้น พร้อมกันนั้นเด็กรายนั้นก็ยิ่งมีปัญหาเชิงพฤติกรรมและปัญหาด้านพัฒนาการมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ทีมวิจัยพบด้วยว่าจากการตรวจสอบกลุ่มตัวอย่างเมื่ออายุ 5 ขวบ แสดงให้เห็นด้วยว่ามลพิษในอากาศไม่เพียงส่งผลต่อสมองของเด็กตั้งแต่ก่อนคลอดเท่านั้น หลังคลอดแล้ว เด็กๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมมีมลพิษในอากาศสูงก็ยิ่งมีสารสีขาวลดน้อยลงไปอีก และมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมและพัฒนาการมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

อย่างไรก็ดีขึ้นชื่อว่า ควันพิษ ซึ่งเป็นมลภาวะ ไม่เคยส่งผลดีต่อใคร แต่ผลร้ายนั้นอาจจะมากกว่าและส่งผลยาวนานกว่าที่ตาเห็น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่มีมลพิษเท่าที่จะทำได้นะคะ  ด้วยความปรารถนาดีจาก Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th