ลูกโป่งลายสวยงาม หลากหลายสีสัน ที่เด็ก ๆ เห็นเมื่อไรก็ร้องขอจะซื้อมาถือให้ได้และมักจะนำ ลูกโป่งไว้ในรถ แต่รู้หรือไม่ว่า ลูกโป่งที่อัดแก๊สอยู่ในรถนั้น สามารถก่ออันตรายได้ถึงชีวิต ดังเช่นอุทาหรณ์ต่อไปนี้
อุทาหรณ์! ซื้อ ลูกโป่งไว้ในรถ ระเบิดคารถ เด็ก 6 ขวบเจ็บสาหัส
ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอนำภัยใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะมองข้ามไป ภัยจากลูกโป่งลวดลายการ์ตูนสีสันสวยงาม ที่ขายกันทั่วไปตามงานต่าง ๆ ที่ลูก ๆ เห็นเมื่อไร ก็จะต้องร้องขอซื้อมาถือให้ได้ และเมื่อถึงเวลากลับบ้าน ก็มักจะนำลูกโป่งนี้ขึ้นรถกลับตามไปด้วย โดยไม่รู้เลยว่าการเอา ลูกโป่งไว้ในรถ ก็เหมือนกับการถือลูกระเบิดขึ้นรถไป ดังเช่นอุทาหรณ์ต่อไปนี้
เกิดเหตุลูกโป่งอัดแก๊สระเบิดในรถ ขณะที่กำลังขับอยู่บนถนนเทศา เขตเทศบาลนครปฐม ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน คนแรกเป็นเด็กชาย อายุ 6 ขวบ ได้รับบาดเจ็บตามลำตัวอาการสาหัส ถูกนำส่งโรงพยาบาลศูนย์นครปฐม คนที่ 2 คือ น.ส.บัณฑิตการณ์ อุ่นใจ ได้รับบาดเจ็บที่แขนทั้ง 2 ข้าง และคนที่ 3 ยังไม่ทราบชื่อ ได้รับบาดเจ็บที่แขนข้างขวาทั้งแขน
น.ส.บัณฑิตการณ์ คนขับรถ เล่าว่า ตนและครอบครัวมางานรับปริญญาหลานสาวที่มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม แต่เนื่องจากว่าหลานสาวรับช่วงเย็นจึงได้ขับรถนำของขวัญที่เพื่อน ๆ มอบให้หลานไปเก็บที่บ้านก่อน แต่พอขับรถมาถึงจุดเกิดเหตุ ตนได้ดึงสายที่ชาร์จโทรศัพท์ในรถออก คาดว่าน่าจะเกิดประกายไฟไปโดนลูกโป่งอัดแก๊สจึงเกิดระเบิดขึ้นดังกล่าว
เบื้องต้นผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ขณะขับรถผ่านมาตรงจุดที่เกิดเหตุเห็นมีคนร้องขอความช่วยเหลือ จึงพาทั้ง 3 คนส่งโรงพยาบาล จากนั้นแม่ค้าแถวนั้นเห็นว่ามีไฟลุกในรถ จึงได้นำน้ำแข็งก้อนมาวางดับไฟก่อนที่กู้ภัยจะมาถึง
เนื้อหาข่าวจาก : https://www.brighttv.co.th/latest-news/crime/321994
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ 3 วิธีลดความเสี่ยง จากลูกโป่งอัดแก๊ส หมอแนะไม่ควรเก็บ ลูกโป่งไว้ในรถ
3 วิธีลดความเสี่ยง จากลูกโป่งอัดแก๊ส หมอแนะไม่ควรเก็บ ลูกโป่งไว้ในรถ
จากเหตุการณ์ลูกโป่งอัดแก๊สระเบิดในรถ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ก็ได้ออกเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากลูกโป่งอัดไฮโดรเจน โดยเฉพาะเด็ก ๆ ต้องไว้ให้พ้นจากมือเด็ก หากลูกโป่งแตกควรเก็บเศษไปทิ้งถังขยะทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กหยิบเศษลูกโป่งมาอมหรือกัดเล่น เพราะอาจลื่นเข้าไปในลำคอจนอุดทางเดินหายใจได้ (อ่านต่อ การปฐมพยาบาลและทำ CPR เมื่อ อาหารติดคอ ลูกน้อย) พร้อมแนะ 3 วิธีเพื่อลดความเสี่ยงได้รับอันตรายจากลูกโป่งแตก ดังนี้
ที่ผ่านมาก็มีเหตุระเบิดจากลูกโป่งอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากแก๊สที่บรรจุเข้าไปในลูกโป่งนั้นคือแก๊สไฮโดรเจน ที่มีความไวไฟสูง ติดไฟง่ายเมื่อกระทบกับความร้อนหรือประกายไฟ ทำให้เกิดการระเบิดได้ สำหรับลูกโป่งที่ขายในประเทศไทยโดยทั่วไป พบบรรจุแก๊สอยู่ 2 ชนิด คือ ไฮโดรเจน และฮีเลียม ความแตกต่างของแก๊ส 2 ชนิดนี้ คือ แก๊สไฮโดรเจนมีความไวไฟสูง ส่วนแก๊สฮีเลียมเป็นแก๊สเฉื่อย ไม่ติดไฟ แต่หากจำเป็นต้องใช้แก๊สไฮโดรเจน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการบรรจุและมีการติดป้ายเตือนทุกครั้ง ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ประกาศให้ลูกโป่งบรรจุแก๊สไฮโดรเจนเป็นสินค้าควบคุมฉลาก ผู้จำหน่ายต้องติดคำเตือน “ห้ามนำเข้าใกล้เปลวไฟหรือความร้อน” นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า หากประชาชนจะใช้งานลูกโป่งในสถานที่ซึ่งมีแสงไฟมาก เช่น การจัดตกแต่งงานเลี้ยง งานฉลองต่าง ๆ กรมควบคุมโรค ขอแนะนำ 3 วิธีเพื่อลดความเสี่ยงได้รับอันตรายจากลูกโป่งแตก ดังนี้
- ควรเลือกลูกโป่งที่บรรจุด้วยแก๊สฮีเลียม ถึงแม้จะมีราคาที่แพงกว่าแต่ปลอดภัยกว่าเช่นกัน เนื่องจากเป็นแก๊สเฉื่อย ไม่ติดไฟ และเกิดการรั่วซึมยาก
- ไม่ควรเก็บลูกโป่งที่อัดแก๊สไว้ภายในรถ ในที่อุณหภูมิสูง กลางแดด ใกล้หลอดไฟ ใกล้เปลวไฟ หรือความร้อน
- ไม่ควรนำลูกโป่งมามัดรวมกันหลายลูก อาจทำให้เกิดการเสียดสีและทำให้ระเบิดได้
ในโอกาสนี้ ขอเตือนพ่อแม่ ผู้ปกครองให้ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้จัดงาน หากประดับตกแต่งลูกโป่งภายในงานต่างๆ จะต้องจัดวางไว้ให้พ้นจากมือเด็ก ถ้าลูกโป่งแตกควรเก็บเศษไปทิ้งถังขยะทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กหยิบเศษลูกโป่งมาอมหรือกัดเล่น เพราะอาจลื่นเข้าไปในลำคอจนอุดทางเดินหายใจได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ภัยร้ายใกล้ตัวจากลูกโป่ง ของเล่นที่ทำให้เด็กตายได้
ภัยร้ายใกล้ตัวจากลูกโป่ง ของเล่นที่ทำให้เด็กตายได้
ลูกโป่ง ของเล่นที่ดูเป็นมิตรกับเด็ก ๆ จะเป็นภัยร้ายที่ทำให้เด็กตายได้อย่างไร มาดูกันค่ะ
- การให้เด็กเป่าลูกโป่งเอง เด็กอาจเผลอกลืนลูกโป่งเข้าไปในขณะเป่าลูกโป่ง ในจังหวะที่เด็กต้องการหายใจเข้าเพื่อเติมลมในปอดนั้นจะต้องดูดอากาศเข้าอย่างแรง หรืออาจดูดอากาศเข้าไปผิดจังหวะ โดยมีลูกโป่งจ่ออยู่ที่ริมฝีปาก ทำให้เกิดโอกาสที่ลูกโป่งจะถูกดูดเข้าไปในปากและลงไปในหลอดลมเกิดการอุดตันทางเดินหายใจได้
- เศษลูกโป่งที่แตกแล้วติดคอ เมื่อลูกโป่งแตกแล้ว เด็กอาจเอาเศษลูกโป่งมาเคี้ยวเล่น หรือเอามายืดออกไว้ที่ริมฝีปากและเป่า ในจังหวะหายใจเข้า เศษลูกโป่งอาจจะถูกดูดเข้าไปในปากและสำลักลงหลอดลมได้
การสำลักลูกโป่งลงไปในท่อหลอดลม เป็นเรื่องยากที่จะทำให้มันหลุดออกมาได้ เพราะเนื้อลูกโป่งมีความเหนียว และการที่ลูกโป่งไปอุดตันทางเดินหายใจอาจทำให้สมองขาดออกซิเจนได้ ดังนั้น กรมควบคุมโรคจึงมีข้อแนะนำในการให้ลูกเล่นลูกโป่ง ดังนี้
- ไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี เล่นลูกโป่งที่ยังไม่เป่า
- ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานที่อายุน้อยกว่า 8 ปีตลอดเวลาการเล่นลูกโป่ง
- ผู้ปกครองไม่ควรอนุญาตให้เด็กที่อายุน้อยกว่า 8 ปีเป่าลูกโป่งเอง ควรเป่าลูกโป่งให้เด็ก ๆ เท่านั้น
- ไม่ควรให้เด็กอมลูกโป่งเข้าปาก ไม่ว่าจะอายุกี่ปีก็ตาม
ลูกโป่งที่แตกแล้ว ต้องเก็บเศษลูกโป่งทั้งหมดไปทิ้งในที่ที่พ้นมือเด็ก - ควรแขวนลูกโป่งให้สูง อย่าให้เด็กหยิบถึงได้เอง
- สำหรับลูกโป่งลอยได้ (ทั้งลูกโป่งที่บรรจุแก๊สฮีเลี่ยม และ แก๊สไฮโดรเจน) ผู้ปกครองควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ควรนำไปไว้ในที่ที่ติดไฟได้ง่าย และที่ที่มีความร้อนสูง หรือนำ ลูกโป่งไว้ในรถ
- ควรสอนเด็ก ให้เล่นลูกโป่งไกลหน้าไกลตา เพราะหากเกิดการแตก แรงระเบิดจะเป็นอันตรายต่อใบหน้าและตาได้
จริงอยู่ว่าลูกโป่งสมัยนี้ มีลวดลายการ์ตูนที่ทำให้เด็ก ๆ เกิดความอยากได้อยากถือ แต่สิ่งที่อยู่ภายในลูกโป่งนั้น (โดยเฉพาะลูกโป่งที่บรรจุแก๊สไฮโดรเจนที่ติดไฟง่าย) อันตรายเหมือนกับการให้เด็กถือระเบิดเอาไว้เลยค่ะ ดังนัน ทุกครั้งที่ให้เด็กเล่นลูกโป่ง ไม่ว่าจะเป็นลูกโป่งประเภทไหนก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด และไม่ควรนำ ลูกโป่งไว้ในรถ นะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
รวม ของที่ลูกไม่ควรเล่น 7 อย่าง เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!
รู้ไว้ใช่ว่า! 6 ขั้นตอน ช่วยลูกถูกไฟดูด (มีคลิป)
วิธีช่วยชีวิตลูก สิ่งแปลกปลอมติดคอ สำลักอาหาร (มีคลิป)
ลูกอมติดคอลูก แม่เล่าวินาทีชีวิต ช่วยลูกไว้ได้เพราะดูคลิปนี้! (มีคลิป)
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักโรคไม่ติดต่อ / สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่