AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

หยุดก่อนสาย! ลูกติดเกม ส่งผลเสียกับเซลล์สมอง

แยกให้ออกระหว่าง ลูกติดเกม กับลูกเล่มเกม … รู้ทันก่อนสาย เล่มเกมมากส่งผลเสียกับเซลล์สมอง!

 

 

เกม คือสิ่งที่เล่นแล้วสนุกหรือเล่นแล้วติด … แยกไม่ออกเลยใช่ไหมละคะ เพราะอาการของทั้งสองอย่างนั้นไม่มีอะไรแตกต่างเลยแม้แต่นิดเดียว คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะปฏิเสธว่า ลูกฉันไม่ได้ติดเกม ก็แค่เล่นเกมสนุกคลายเครียดเท่านั้น และฉันก็ไม่ได้ให้ลูกเล่นนานด้วย!

ดีใจด้วยค่ะ! คุณพ่อคุณแม่กำลังทำสิ่งที่ถูกแล้ว การจำกัดเวลาให้ลูกเล่นเกมได้อย่างสนุกบ้างนั้น เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าหาก เหนือการควบคุมและเริ่มแสดงอาการดังต่อไปนี้ละคะ ยกตัวอย่างเช่น ลูกเล่นไม่เลิก เล่นทั้งวันทั้งคืน เล่นจนไม่ออกไปพบปะผู้คน เก็บตัว ฉุนเฉียวง่าย เหม่อลอย หรือก้าวร้าว เป็นต้น ถ้าหากลูกกำลังแสดงอาการเหล่านี้ละก็ ลูกของคุณพ่อคุณแม่กำลังติดเกม แล้วละค่ะ

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกว่า ปัญหาเด็กติดเกมเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะเด็กทุกคนที่เล่นเกมมีความเสี่ยง “เสพติดเกม” ซึ่งเป็นปัญหาพฤติกรรมเสพติดทางสมอง เช่นเดียวกับ “ติดสารเสพติด”

“จากการเก็บข้อมูลที่ผู้ปกครองโทรศัพท์เข้ามาปรึกษาปัญหาเรื่องลูกติดเกม พบว่า สิ่งที่ตามมาหลังการติดเกม ก็คือ เด็กมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ทั้งเรื่องของความเครียด อารมณ์แปรปรวน มีปัญหาการเรียนตกต่ำ ผลการเรียนแย่ลงอย่างชัดเจน พัฒนาการไม่สมวัย มีพฤติกรรมก้าวร้าวใช้ความรุนแรงเลียนแบบเกม ยังไม่รวมความเสี่ยงของการเกิดโรคร่วมทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล รุนแรงถึงขั้นโรคจิตเวช และฆ่าตัวตาย

อ่านต่อ >> ลูกติดเกม มีผลกับสมองจริงหรือไม่?!

 

ลูกติดเกม มีผลกับสมองจริง ๆ หรือ?

รศ.นพ. ศิริไชย หงษ์สงวนศรี สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเรื่องการใช้เทคโนโลยีของเด็กและวัยรุ่นปี 2555-2556 ได้กล่าวสรุปแนวโน้มเด็กและเยาวชนว่าใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นทุกปี อาทิ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต อินเตอร์เน็ต โดยผลสำรวจพบว่าเด็กและวัยรุ่นใช้เทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงมากสุด เช่น ดูหนังฟังเพลง โหลดเกม โหลดเพลง เล่นเกม เล่นโซเชียลมีเดีย เป็นต้น

“แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด การเสพติดเทคโนโลยีส่งผลกระทบไปถึงสมองทำให้ประสิทธิภาพลดลง มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบทางสมองของผู้ที่ติดเทคโนโลยีว่า การติดจะทำให้การเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทลดลง” รศ.นพ. ศิริไชย กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีงานศึกษาวิจัยล่าสุดที่กำลังตีพิมพ์ของต่างประเทศ ที่เขาศึกษาคนติดเกมออนไลน์ 73 คน เปรียบเทียบกับคนปกติ 38 คน ที่ไม่ติดเกมและไม่เป็นโรคทางจิตเวช ด้วยเครื่องมือโปรตอน เอ็มอาร์เอส ได้ข้อสรุปว่า “สมองส่วนหน้าและส่วนข้างของผู้ติดเกมลดลงไปค่อนข้างเยอะ ทำให้เป็นคนมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้น มีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า ซึ่งหากติดมากมากเท่าไร อาการก็แสดงให้เห็นมากเท่านั้น” รศ.นพ.ศิริไชยย้ำ พร้อมทั้งเตือนพ่อแม่ผู้ปกครองให้ตระหนักว่า ยิ่งปล่อยให้ลูกเล่นเกมมากเท่าไหร่ เซลล์ประสาทในสมองก็จะยิ่งทำงานได้แย่ลงเท่านั้น และมีผลกระทบต่อสมองเหมือนการเสพยาเสพติดเลยทีเดียว

อ่านต่อ >> วิธีแก้และวิธีป้องกัน คลิก!

 

 

ลูกติดเกม แก้ไขได้!

รศ.นพ.ศิริไชยบอกว่า อาการดังกล่าวสามารถป้องกันได้ ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

แต่ข้อที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ดีและตรงจุดก็คือ คุณพ่อคุณแม่จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก เวลาที่ลูกอยู่ด้วย หากเลี่ยงได้พยายามใช้เครื่องมือสื่อสารให้น้อยที่สุด และหันมาใส่ใจคนที่อยู่ข้าง ๆ แทน เพียงเท่านี้ลูกของคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องเผชิญกับโรคสมาธิสั้นและลดความเสี่ยงในเรื่องของเซลล์ลสมองแล้วละค่ะ

เครดิต: สสส.

อ่านต่อเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids