โรคหัวใจในเด็ก ไม่เพียงแต่จะทำให้ลูกมีพัฒนาการการเติบโตช้าเท่านั้น แต่ยังมีความเสี่ยงร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต หลายๆ ครอบครัวอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งโรคหัวใจสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคนตั้งแต่แรกคลอดเลยค่ะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำแนะนำจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสังเกตสัญอาการหัวใจผิดปกติในเด็กมาให้ได้ทราบกันค่ะ
โรคหัวใจในเด็ก มีสาเหตุมาจากอะไร?
ผู้เขียนอยากให้ว่าที่พ่อแม่มือใหม่ได้ทำความรู้จักกับ โรคหัวใจในเด็ก กันค่ะ เพราะจากสติติโดยเฉลี่ยในเด็ก 1,000 คน จะพบว่าเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดถึง 8 คน อย่างที่บอกไปค่ะว่าเด็กทุกคนมีโอกาสป่วยโรคหัวใจกันได้
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ก่อนลูกคลอดออก หรือตรวจพบได้หลังคลอดไปแล้ว 7 วัน ซึ่งเด็กทารกที่ตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่น ลิ้นหัวใจตีบเล็กน้อย รูในผนังหัวใจขนาดเล็ก สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยที่ไม่ต้องรักษา แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำในการดูแลระวังสุขภาพมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ
ส่วนโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง เกิดจากสาเหตุต่างๆ อาทิเช่น
- โรคหัวใจรูห์มาติก มักพบในเด็กวัยเรียน ซึ่งสาหตุเกิดจากไข้รูห์มาติก ทำให้มีลิ้นหัวใจรั่ว และ/หรือ ตีบ
- โรคไข้คาวาซากิ มักพบในเด็กเล็ก อาจทำให้มีเส้นเลือดหัวใจโคโรนารีโป่งพอง โรคลิ้นหัวใจจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียเกือบทุกชนิดอาจเป็นสาเหตุการอักเสบของหัวใจ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสได้เกือบทุกชนิดที่นำไปสู่การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งในบางรายอาจเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจวายอย่างเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป แต่ที่พบส่วนใหญ่ในเด็กจะเป็นชนิดเต้นเร็วผิดปกติ มักมีอาการเป็นๆ หายๆ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้
บทความแนะนำ คลิก>> โรคเด็กขนแปลง ใช้หมากแล้วจะหายจริงหรือ?
พอจากจะทราบสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจกันไปบ้างแล้วนะคะ ซึ่งดูแล้วก็ไม่ใช่เรื่องน่านิ่งนอนใจเลยค่ะ เพราะว่าเด็กๆสามารถป่วยเป็นโรคหัวใจในเด็กกันได้ตั้งแต่แรกเกิด และก็มีความเสี่ยงการป่วยโรคหัวใจไปจนถึงวัยเด็กโตอีกด้วย ดังนั้นสิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องรู้จักสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูกด้วยค่ะ
อ่านต่อ เช็ก 5 สัญญาณเตือนลูกเป็นโรคหัวใจ หรือไม่? หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
5 อาการสัญญาณเตือน “โรคหัวใจในเด็ก” ที่พ่อแม่ควรรู้!
เพราะความรุนแรงของโรคหัวใจในเด็ก ไม่ทำให้ลูกมีพัฒนาการการเติบโตช้า แต่ผลกระทบร้ายแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตเลยค่ะ ดังนั้นเพื่อให้พ่อแม่ได้รู้เท่าทันโรคหัวใจ ที่หากพบว่าลูกป่วยก็จะได้รีบรักษาอย่างทันท่วงที และก็จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควรให้กับลูกๆ ผู้เขียนมีคำแนะนำในการสังเกตสัญญาณเตือนผิดปกติที่อาจนำไปสู่โรคหัวใจในเด็ก จาก นายแพทย์อภิชัย คงพัฒนะโยธิน กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ[1] มาให้ได้ทราบกัน ซึ่งคุณหมอมีให้สังเกตสัญญาณเตือน ดังนี้…
- หายใจหอบ เหนื่อยง่าย
- เล็บและปากเขียว
- ใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อยๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- อาการอื่นๆ เช่น เจ็บหน้าอก เป็นต้น (ในเด็กจะพบอาการลักษณะนี้ไม่มากเท่าผู้ใหญ่ อาการเจ็บหน้าอกในเด็กมีส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดจากโรคหัวใจ)
- แพทย์ตรวจพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติ ซึ่งอาจแสดงหรือไม่แสดงอาการที่ผิดปกติก็ได้ นอกจากนี้เด็กที่เป็นโรคหัวใจอาจจะโตช้า โดยเฉพาะรายที่มีภาวะหัวใจวาย มีอาการหายใจเร็ว เหนื่อยง่าย ส่วนสูงและน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์ เติบโตช้าไม่ทันเพื่อน เพราะหัวใจต้องทำงานหนักร่วมกับมีอาการหอบและรับประทานอาหารได้น้อย ซึ่งเป็นอีกข้อสังเกตที่พ่อแม่ควรใส่ใจและสังเกตอยู่เสมอ
บทความแนะนำ คลิก>> โรคเด็กมีหาง สไปนา ไบฟิดา (spina bifida)
เด็กแรกคลอดหากมีอาการผิดปกติที่นำไปสู่โรคหัวใจ กุมารแพทย์จะเช็กให้ทันทีหลังออกจากห้องคลอด แต่หากลูกคลอดออกมาแล้วไม่พบอาการเตือนโรคหัวใจในช่วงแรก แต่หลังจากกลับมาบ้านแล้วมีอาการผิดปกติตามที่บอกไปข้างต้น ให้พ่อแม่รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันที เพื่อที่คุณหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะได้เช็กร่างกายให้ละเอียดอีกครั้งว่าลูกมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจในลักษณะใด เพื่อจะได้นำไปสู่การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง การตรวจพบเร็วจะช่วยรักษาชีวิตลูกให้หายจากโรคหัวใจได้ค่ะ
อ่านต่อ เด็กโรคหัวใจ ต้องดูแลอย่างไร? หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เด็กโรคหัวใจ ต้องดูแลอย่างไร?
เด็กที่ป่วยโรคหัวใจ อย่างที่บอกไปข้างต้นค่ะว่า มีทั้งที่ไม่รุนแรง ไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ต้องดูแลรักษาระวังสุขภาพให้มากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และเด็กอีกกลุ่มคืออาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ยังไม่สามารถผ่าตัดได้เนื่องจากอายุยังน้อยอยู่ โดยมากต้องรอให้โต และต้องมีร่างกายที่แข็งแรงพร้อมเข้ารับการผ่าตัด
แต่ระหว่างนี้เด็กทั้ง 2 กลุ่ม ควรต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่ ซึ่งผู้เขียนขออนุญาตนำเอาคำแนะนำในการดูแลเด็กโรคหัวใจ จาก ศ.นพ.ชาลี พรพัฒน์กุล มูลนิธิเด็กโรคหัวใจแห่งประเทศ[2] มาให้ทราบกันดังนี้ค่ะ
1. ด้านโภชนาการ
ในเด็กที่เป็นโรคหัวใจและไม่มีอาการ ให้การดูแลเช่นเด็กปกติ ให้อาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในเด็กที่มีอาการหัวใจวาย มีอาการหอบบวมควรให้อาหารลดเค็ม ให้น้ำพอสมควร เด็กที่เขียวควรให้อาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ เพื่อให้ร่างกายสร้างฮีโมโกลบินได้พอเพียงกับปริมาณของเม็ดเลือดแดง เพื่อป้องกันการเกิดอาการทางสมอง
2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ไม่ว่าเด็กจะเป็นโรคหัวใจชนิดใดให้ได้เช่นเด็กปกติ แต่ควรเลือกช่วงเวลาที่เด็กสบายๆ ไม่มีการเจ็บป่วยหนักขณะนั้น
3. การออกกำลังกาย
ในกลุ่มเด็กที่ไม่มีอาการทำได้เช่นปกติ (ยกเว้นบางกรณี เช่น มีการเต้นผิดจังหวะของหัวใจบางชนิด หรือลิ้นหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ถึงแม้เด็กจะไม่มีอาการเมื่ออยู่เฉยๆ แต่อาจมีอาการมากมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เมื่อออกกำลังกาย ควรปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ให้ชัดเจนว่าสามารถออกกำลังกายได้แค่ไหน เล่นกีฬาแข่งขันได้หรือไม่ ในกลุ่มเด็กที่มีอาการส่วนใหญ่เด็กมักจะจำกัดตัวเองอยู่แล้วก็ควรปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่ก็ต้องไม่ให้เด็กหักโหม
4. การป้องกันโรคแทรกซ้อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อจากฟันหรือช่องปาก ต้องดูแลสุขภาพฟันให้ดี รับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟัน หรือการผ่าตัดบางชนิดตามคำแนะนำของแพทย์ (ดูหัวข้อภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจและการป้องกัน) ในเด็กที่เขียวควรระวังอย่าให้เด็กเสียน้ำมากเวลามีอาการท้องเสีย อาเจียน หากมีอาการตัวเกร็งเป็นลมหมดสติควรทราบวิธีปฏิบัติดูแลเด็กก่อนพามาโรงพยาบาล
5. ควรมีความเข้าใจอย่างดียิ่งในการให้ยาทางโรคหัวใจ
ในรายที่จำเป็น เช่น ก่อนและหลังการผ่าตัด หรือในเด็กบางรายที่จำเป็นต้องได้ยาตลอดชีวิต เช่น เป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจหรือเป็นโรคหัวใจบางชนิดที่ไม่สามารถผ่าตัดให้หายขาดได้ หรือการฉีดยาทุก 3-4 สัปดาห์เป็นระยะเวลานานๆ ในผู้ป่วยโรคหัวใจรูห์มาติค เพื่อป้องกันการสับสน ให้ยาผิดขนาดหรือเลิกไปเองก่อนเวลาอันสมควร และควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับอาการข้างเคียงของยาที่ใช้ด้วยโดยปรึกษากับแพทย์ผู้ให้การดูแล[2]
สุขภาพเป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างมาก สำหรับลูกวัยทารกหากพบมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบพาไปพบคุณหมอทันที เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพต่างๆ ลงค่ะ โดยเฉพาะโรคหัวใจในเด็ก พบอาการก่อน ตรวจวินิจฉัยได้เร็ว รักษาตรงกับกลุ่มอาการของโรคหัวใจ ลูกก็มีโอกาสหายขาดได้ค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
ลูกปวดท้อง อย่านิ่งนอนใจ! 4 โรคร้ายที่อาจแอบแฝง
ลูกนอนกรน อย่านิ่งนอนใจ 2 โรคนี้อาจถามหา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1นายแพทย์อภิชัย คงพัฒนะโยธิน กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ. 5 อาการสังเกตเจ้าตัวน้อยหัวใจผิดปกติ
2ศ.นพ.ชาลี พรพัฒน์กุล มูลนิธิเด็กโรคหัวใจแห่งประเทศ.เด็กโรคหัวใจ ต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษบ้าง?.มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ