อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว มีทั้งลมหนาว แดดออก และฝนเล็กๆน้อยๆ จึงทำให้เด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานน้อย อาจเป็นหวัดมีน้ำมูกได้ แต่ถ้าไม่ได้เป็นหวัดแล้วมีน้ำมูก สีของน้ำมูก ก็สามารถ บอกได้เช่นกันว่าลูกของเรากำลังป่วยเป็นอะไร
สีของน้ำมูก บอกโรคได้
น้ำมูก ทำหน้าที่จับกับสิ่งต่างๆ ที่ปนมากับลมหายใจ เช่น สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อโรค นอกจากนี้ในน้ำมูกยังมีสารต่อต้านเชื้อโรคอีกด้วย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ให้ความสนใจกับน้ำมูกหรือเสมหะ ทั้งของตัวเองและของลูกมากนัก แค่ขอให้สั่ง หรือเช็ดออกไปได้ ยิ่งเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี … แต่เชื่อหรือไม่ ว่าสีของน้ำมูก หรือเสมหะนี้ สามารถบ่งบอกถึงโรค หรือภาวะสุขภาพของลูกน้อยได้
น้ำมูกมาจากไหน
ทางเดินหายใจและทางเดินอาหารของมนุษย์เรามีเยื่อบุทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ซึ่งมีต่อมสร้างน้ำมูก เมือก หรือเสมหะ ไม่ว่าจะเป็นจมูก ไซนัส โพรงหลังจมูก ช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง หลอดลม ซึ่งน้ำมูก เมือก หรือเสมหะ ทำหน้าที่ป้องกันอวัยวะภายใต้เยื่อบุจากสารพิษหรือสารระคายเคืองต่างๆ ทำให้อวัยวะดังกล่าวชื้นตลอดเวลา ถ้าเยื่อบุที่คลุมอวัยวะดังกล่าวแห้งจะทำให้อัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงขึ้น
น้ำมูกหรือเมือกในทางเดินหายใจจะทำหน้าที่จับกับสิ่งต่างๆ ที่ปนมากับลมหายใจ เช่น สารก่อภูมิแพ้ (ไรฝุ่น ละอองเกสร) ควัน ฝุ่นบ้าน เชื้อโรค นอกจากนี้
ในน้ำมูกหรือเมือกยังมีสารต่อต้านเชื้อโรคด้วย เช่น แอนติบอดี เอนไซม์ เป็นต้น ทราบหรือไม่ว่าร่างกายมนุษย์เราสามารถผลิตน้ำมูกหรือเมือกได้มากถึง 2 ลิตรต่อวัน
สีของน้ำมูก แบบไหน แปลว่าไม่สบาย
ในขณะที่ร่างกายแข็งแรงปกติ ก็อาจมีน้ำมูกได้ โดยเฉพาะในช่วงเช้า ๆ อาจจะมีน้ำมูกที่ค้างอยู่ในจมูกช่วงกลางคืน แต่เมื่อสั่งออกก็หมดไป แสดงว่าไม่ได้ป่วย แต่ถ้าน้ำมูกมีตลอดทั้งวัน สีข้นกว่าปกติ แสดงว่ามีอาการหวัด ถ้าเป็นหวัดธรรมดา (ไม่มีไข้) ประมาณ 2-3 วัน น้ำมูกก็จะหายไปเองตามธรรมชาติ (ไม่ต้องใช้ยา แต่ต้องดูแลให้ถูกหลักด้วย เช่น ไม่ดื่มน้ำเย็น พักผ่อนมาก ๆ ทำร่างกายให้อบอุ่น) แต่ถ้าเป็นมากกว่า 10 วัน ต้องระวังเรื่องภูมิแพ้ หรือไซนัสอักเสบ และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ต้องรีบพาลูกไปหาหมอ เพราะอาจเรื้อรังเป็นโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้อีก
เพื่อให้รู้ทันโรคที่มาจากน้ำมูก คุณพ่อคุณแม่ก็ควรสังเกตสีน้ำมูกหรือเสมหะ ของลูกน้อย ว่ามีสีอะไร ซึ่งสีนั้นก็อาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับจมูกของลูกน้อยได้ และใช้วิธีนี้สังเกตดูกับคุณพ่อคุณแม่ได้เช่นกัน
1.สีใส
น้ำมูกหรือเสมหะที่ใส มักประกอบด้วยน้ำ, แอนติบอดีที่ต่อต้านเชื้อโรค, เกลือ และโปรตีน ส่วนใหญ่มักจะไหลลงคอ และเรามักจะกลืนลงไปในกระเพาะ ซึ่งสาเหตุเกิดจาก หวัด (เยื่อบุจมูกอักเสบ) หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรืออาจเกิดจากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ไวรัสมากระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก ทำให้มีน้ำมูกใสๆ ไหลออกมา หรือไหลลงคอได้ สารก่อภูมิแพ้ก็เช่นเดียวกัน สามารถกระตุ้นเยื่อบุจมูกของผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ทำให้มีการหลั่งของฮิสทามีน (histamine) ออกมา ซึ่งฮิสทามีนสามารถกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในเยื่อบุจมูกให้ผลิตน้ำมูกใสๆออกมาได้ การให้ยาต้านฮิสทามีน และการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือสามารถบรรเทาอาการน้ำมูกที่ไหลออกมา หรือไหลลงคอได้
2.สีขาว
การที่น้ำมูกไหลออกมามีลักษณะหนา เหนียว และขาวขุ่น อาจเนื่องมาจาก การที่น้ำมูกถูกขังอยู่ในโพรงจมูกเป็นระยะเวลานาน จากเยื่อบุจมูกที่บวม นอกจากนั้นการที่เรารับประทานผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับนมมากเกินไป อาจทำให้น้ำมูกที่ออกมา หรือไหลลงคอ มีสีขาวขุ่นได้ เนื่องจากไขมันในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม สามารถทำให้น้ำมูกสูญเสียความชุ่มชื้น ทำให้น้ำมูก หรือเสมหะมีลักษณะหนาและเหนียว และมีสีขาวขุ่นตามมาได้
อ่านต่อ >> “สีของน้ำมูก แบบไหนบอกถึงโรคอะไร” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สีของน้ำมูก บอกโรคได้
3. สีเหลือง
4. สีเทา
น้ำมูกที่มีสีเทา อาจบ่งบอกว่าในจมูกของคุณมีริดสีดวงจมูก (nasal polyp) ริดสีดวงจมูกเกิดจากเยื่อบุจมูกหรือไซนัสที่บวมออกมาเป็นก้อนในโพรงจมูก หรือไซนัส ซึ่งไม่ใช่เนื้องอกร้ายแต่อย่างใด มักเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุจมูก ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้, โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง, โรคหืด หรือภาวะแพ้ยาแอสไพริน โรคไซนัสอักเสบจากเชื้อรา สามารถทำให้น้ำมูกหรือเสมหะมีสีเทาได้ ซึ่งมักเกิดจากสปอร์ของเชื้อรามาเกาะที่ผิวเยื่อบุจมูก และเจริญเติบโตมากขึ้น มักมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บของเยื่อบุจมูกเรื้อรัง หรือภูมิต้านทานของร่างกายลดน้อยลง
5. สีเขียว
แสดงถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กำลังทำงานต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เหมือนกับการที่น้ำมูกมีสีเหลือง สีเขียวเกิดจากเอนไซม์ ซึ่งสร้างโดยเม็ดเลือดขาว น้ำมูกที่มีสีเขียว มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียภายในโพรงจมูกหรือไซนัส (ไซนัสอักเสบ)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
6. สีแดง
มักเกิดจากมีเส้นเลือดในโพรงจมูกแตก แล้วปนมากับน้ำมูก ซึ่งเส้นเลือดที่แตก อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การระคายเคือง หรือบาดเจ็บบริเวณจมูก, การอักเสบในโพรงจมูก, เนื้องอก, โรคของหลอดเลือดชนิดต่างๆ หรือแม้แต่การที่เยื่อบุจมูกแห้ง ทำให้เส้นเลือดในเยื่อบุโพรงจมูกอยู่ชิดกับผิวมากขึ้น ทำให้มีการแตกของเส้นเลือดได้ง่าย ซึ่งในกรณีที่น้ำมูกมีสีแดง โดยเฉพาะออกจากจมูกเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด สาเหตุของจมูกแห้ง ได้แก่ ดื่มน้ำน้อย, อยู่ในห้องแอร์ ซึ่งมักจะทำให้เราต้องสัมผัสกับอากาศที่เย็นและแห้งเป็นประจำ หรือเปิดพัดลมเป่าจ่อที่หน้า หรือจมูกเป็นระยะเวลานาน หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศเย็นหรือหนาวจัด อาจต้องพ่นน้ำเกลือเข้าในโพรงจมูกบ่อยๆ หรือใช้เครื่องปรับอากาศให้อุ่นและชื้นขึ้น (humidifier)
7. สีดำ
การที่น้ำมูกมีสีดำ มักพบในผู้ที่สูบบุหรี่หรือสูดยานัตถ์, ใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย หรือผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะทางอากาศมาก หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อราของโพรงจมูกหรือไซนัส
ดังนั้น ครั้งหน้าที่คุณสั่งน้ำมูก หรือสูดน้ำมูกลงคอแล้วขับออกมาเป็นเสมหะ แล้วบ้วนทิ้ง อย่าลืมดูสีของน้ำมูก หรือเสมหะด้วยนะคะ เพราะสีของน้ำมูก อาจบ่งบอกถึงโรค หรือพยาธิสภาพที่ซ่อนอยู่ในโพรงจมูกหรือไซนัสคุณได้ แต่ถ้าให้แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้การวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง
อ่านต่อ >> “วิธีดูแลลูกเมื่อมีน้ำมูก” คลิกหน้า 3
ทั้งนี้เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบแล้วว่า สีของน้ำมูก แบบต่างๆของลูกนั้น หมายถึงลูกกำลังป่วยเป็นโรคอะไร ทั้งนี้การสั่งน้ำมูกก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กๆ จมูกโล่งได้ แต่ก็ไม่ควรสั่งแรง ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่จะต้องสอนลูกสั่งน้ำมูก หรือต้องดูแลลูกน้อยเมื่อมีน้ำมูกอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
วิธีสอนลูกสั่งน้ำมูก
การสั่งน้ำมูก เหมาะกับเด็กที่มีอายุได้ตั้งแต่ 2-3 ขวบ ควรฝึกลูกสั่งน้ำมูกเอง โดยคุณแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ด้วยการใช้กระดาษทิชชู่กดรูจมูกข้างหนึ่งแล้วหายใจออกดังฟิด ใช้ทิชชู่ที่เตรียมไว้เช็ด ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง โดยแรก ๆ คุณแม่อาจจะเป็นคนกดรูจมูกให้ลูกก่อน และอย่าสั่งแรงจนเกินไป
ดูแลยามน้ำมูกไหล
- ใช้ผ้านุ่ม ๆ เช็ดน้ำมูก ถ้ามีน้ำมูกมาก ทำให้ลูกหายใจไม่สะดวก ควรใช้อุปกรณ์ดูดน้ำมูกออกมา (บางบ้านคุณแม่อาจใช้ปากตัวเองดูดน้ำมูกให้ลูก ซึ่งจะทำให้ลูกไม่เจ็บหรือระคายเคือง แต่ถ้าแม่สุขภาพไม่ดีนัก ต้องระวังเชื้อโรคติดต่อได้ง่ายมาก)
- ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ
- งดการออกไปเล่นนอกบ้าน 2-3 วัน
- บางคนจะมีอาการหูอักเสบ (หวัดลงหู) หรือคออักเสบ (หวัดลงคอ) ตามมาด้วย ดังนั้นควรดูอาการอย่างใกล้ชิด
- ถ้าน้ำมูกแห้งติดโพรงจมูก ให้ใช้น้ำเกลือ 9 % ปริมาณ 1-2 ซี.ซี. (ใช้กระบอกฉีดยา) ค่อยหยดลงไปในรูจมูกทั้งสองข้าง แล้วใช้ลูกยางดูดออกมา
ทั้งนี้ยังมีวิธีลดน้ำมูกให้ลูกได้ ด้วยสมุนไพรในครัวที่มีอยู่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้บรรเทาอาการให้ลูกได้ดังนี้
- หอมแดงสำหรับเด็กเล็กๆ ที่ยังทานยาไม่เป็น ในช่วงที่เขานอนหลับให้เอาหัวหอมแดง 2-3 หัว ทุบพอแตก ห่อผ้าบางๆ เพียงชั้นเดียววางไว้ตามจุดตรงหัวนอนเพื่อให้ไอระเหยของหัวหอมเข้าจมูก ทำให้เจ้าตัวน้อยหายใจคล่องขึ้น แต่ไม่ควรวางใกล้จมูกเกินไป เพราะจะทำให้เจ้าตัวเล็กแสบจมูกได้ อีกหนึ่งวิธี ให้นำหัวหอมแดงเล็ก 1 กำมือทุบพอแตก ต้มกับน้ำในหม้อขนาดกลาง ปิดฝาหม้อต้มให้เดือดต่อไปอีก 5 นาที แล้วยกหม้อลงทิ้งไว้ให้อุ่น น้ำนี้สามารถใช้อาบให้เด็กๆ เพื่อไล่หวัดได้ โดยน้ำมันหอมระเหยจากหัวหอมจะช่วยจับหวัดได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กๆ หายใจโล่งขึ้นและทำให้น้ำมูกหายข้น
- มะขามเป็นสูตรน้ำอาบจับหวัดที่ใช้กันมานานตั้งแต่สมัยโบราณ เพียงใช้ใบมะขามสดทั้งอ่อนและแก่ประมาณ 2 กำมือ ใส่หม้อเติมน้ำให้ท่วม ต้มให้เดือดนานพอสมควร ใส่กะละมังตากน้ำค้างไว้ 1 คืน รุ่งเช้าให้ทุบหัวหอมแดงใส่ลงไป 1 หัว แล้วเอาน้ำชโลมศีรษะเด็กให้ทั่วจนเปียก น้ำที่เหลือก็อาบให้เด็ก ทำติดต่อกัน 2-3 วัน แล้วอาการเป็นหวัด คัดจมูก ก็จะหายเป็นปกติ
- ขมิ้นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีสูตรในการช่วยเป็นยาแก้ไข้แก้แพ้อากาศ และเป็นยาบำรุงระบบหายใจที่ดี โดยเฉพาะสำหรับเด็กเล็กๆ ก็คือ นมต้มกับผงขมิ้น โดยใช้นมหนึ่งแก้วผงขมิ้น 1 ช้อนชา ผงยี่หร่า พริกไทยดำ อบเชยและขิงแห้งเล็กน้อย ต้มด้วยไฟอ่อนจนเหลือปริมาณนมหนึ่งแก้ว แล้วกรองเอาแต่น้ำนม เติมน้ำตาลเล็กน้อยให้เด็กดื่มอุ่นๆ ก่อนนอนติดต่อกันหนึ่งสัปดาห์จะช่วยบรรเทาอาการเป็นหวัด คัดจมูก หายใจติดคัดได้ค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ข้อห้ามทำ เมื่อลูกมีน้ำมูก หรือเสมหะ
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยาลดน้ำมูกมาป้อนลูกเอง รวมถึงยาแก้ไอด้วย เพราะยาทั้งสองชนิดนี้ มีฤทธิ์ทำให้น้ำมูกและเสมหะแห้ง อาจทำให้เสมหะติดค้างในหลอดลม ไอออกมาไม่ได้ และการที่น้ำมูกไหล เป็นการขจัดเชื้อโรคออกจากร่างกายด้วยวิธีธรรมชาติดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องกินยา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอรวมทั้งยาหยอดจมูกเพื่อทำให้จมูกโล่งด้วยเช่นกัน
และไม่ควรแคะจมูกให้ลูกด้วยนิ้วหรือเล็บ ให้ใช้กระดาษทิชชู่หรือผ้านุ่ม ๆ บาง ๆ พันปลายเขี่ยภายในโพรงจมูกเบา ๆ เพื่อให้เด็กจามออกมา หรือใช้ไม้พันสำลีเช็ดรอบ ๆ รูจมูกเท่านั้น และต้องใช้อย่างระมัดระวังไม่ควรให้เด็กใช้ไม้พันสำลีเอง
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
โรคติดต่อทางน้ำมูกน้ำลาย Enterovirus รุนแรง
เคาะปอดขับเสมหะ ให้ลูกน้อย วิธีง่ายๆทำได้เองที่บ้าน
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : www.si.mahidol.ac.th
ขอบคุณส่วนหนึ่งจาก : หนังสือเลี้ยงลูกด้วยสมุนไพร หน้า 29 โดย พญ.อารีย์ โอบอ้อมรัก สำนักพิมพ์เอเชียบูรพา
ขอบคุณรูปภาพจาก www.dumenu.com/article/600/
Save