สมาคมกุมารแพทย์อเมริกันเตือน ยาแก้ไออันตราย ได้แก่ ยาแก้ไอผสม โคเดอีน ไม่ปลอดภัยต่อเด็ก และไม่ควรใช้ระงับปวดหรือระงับอาการไอในเด็ก
โคเดอีน คืออะไร
โคเดอีนเป็นอนุพันธ์ของฝิ่น (Opium) ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System, CNS) มีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาคือ ระงับปวด และมีประสิทธิภาพในการะงับอาการไอได้ดีมาก โดยออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการไอในสมอง ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว โคเดอีนจึงถูกนำมาผลิตเป็นยาแก้ไอ โดยโคเดอีนจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
ในต่างประเทศ โคเดอีนถูกใช้มาเป็นเวลานานหลายสิบปี แม้จะมีหลักฐานยืนยันว่า มันไม่ได้มีประสิทธิภาพดีนัก และบางครั้งยังก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิต
อันตรายจากโคเดอีน
นายแพทย์ Joseph Tobias แห่งมหาวิทยาลัย Ohio State University และโรงพยาบาล Nationwide Children’s Hospital กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะต้องใช้โคเดอีน เพราะโคเดอีนส่งผลต่อปัญหาระบบทางเดินหายใจในเด็กที่เป็นอันตรายถึงชีวิตมานานกว่าสิบปี
การตรวจสอบล่าสุดจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ถึงผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้โคเดอีนในเด็ก พบ เด็ก 64 รายมีอัตราการหายใจช้าลงอย่างรุนแรง และ 24 รายเสียชีวิตเนื่องมาจากยา โดย 21 รายเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี
ปัญหาระบบทางเดินหายใจมักจะเกิดขึ้นหลังจากเด็กได้รับการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ เพื่อรักษาภาวะหายใจติดขัดระหว่างการนอนหลับหรือรักษาต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
โดยการเสียชีวิตของเด็กที่เกี่ยวเนื่องกับโคเดอีนพบว่าสัมพันธ์กับเด็กที่ได้รับยา อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) ร่วมกับ โคเดอีนหลังการผ่าตัด
เด็กบางรายที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยปัญหาการหายใจระหว่างการนอนหลับตอนกลางคืน อาจมีปัญหาการหายใจหลังจากได้รับยาโคเดอีนเช่นกัน
มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้นถึงประสิทธิภาพในการระงับอาการไอในเด็กของโคเดอีน และจากหลักฐานยังแสดงให้เห็นว่า เด็กบางคนอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษาอาการปวด
ปัญหาคือ เมื่อโคเดอีนเข้าสู่ร่างกาย ตับจะเปลี่ยนโคเดอีนเป็นมอร์ฟีนที่มีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวด แต่ความแตกต่างทางพันธุกรรมมีผลต่อความสามารถของตับในการสร้างมอร์ฟีน หากสร้างได้น้อยเกินไปก็จะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ หากสร้างได้มากเกินไปก็อาจเป็นอันตราย หรือมีอัตราการหายใจช้าลงที่รุนแรงถึงชีวิต
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
องค์การอาหารและยาของสหรัฐเคยออกประกาศเตือนให้แพทย์ระมัดระวังการสั่งยาโคเดอีนในเด็กที่ได้รับการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์แล้วตั้งแต่ปี 2013 และแพทย์ในโรงพยาบาลเด็กชั้นนำทั่วสหรัฐได้รับคำแนะนำให้หยุดการจ่ายยาโคเดอีนแล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความกังวลและข้อสงสัยมากมายว่าโคเดอีนใช้ได้ผลหรือไม่ การจ่ายยาโคเดอีน รวมถึงการจำหน่ายโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ก็ยังเป็นที่แพร่หลายใน 28 รัฐและกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
สมาคมกุมารแพทย์อเมริกันจึงออกมาเตือนอีกครั้ง เพื่อให้กุมารแพทย์และกุมารแพทย์ผ่าตัดตระหนักถึงอันตรายของโคเดอีนและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
อ่านต่อ>> ข้อควรระวังของการใช้ยาโคเดอีน คลิกหน้า 2
การใช้โคเดอีนในประเทศไทย
ด้วยคุณสมบัติของโคเดอีนที่มีฤทธิ์ระงับอาการไอ ในทางการแพทย์จึงนำโคเดอีนเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตยาแก้ไอ ซึ่งปัจจุบันได้มีการขออนุญาตผลิตยาแก้ไอที่ผสมโคเดอีนหลายชื่อการค้าด้วยกัน มีทั้งชนิดน้ำและชนิดเม็ด แต่ในประเทศไทย อาจไม่น่ากังวลเช่นในต่างประเทศ เนื่องจากยาแก้ไอผสมโคเดอีน ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่าย นอกจากได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสม มีได้เฉพาะสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเท่านั้น
ข้อควรระวัง
- ห้ามใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์หรือไม่หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยาอาจจะ/มักผ่านรกหรือผ่านเข้าสู่น้ำนมและเข้าสู่ทารกก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารก เมื่อคลอด เด็กจะเติบโตได้ช้า มีอาการจากติดยาและมีการกดการหายใจได้
- ระวังการใช้ยากับผู้ที่แพ้โคเดอีนเพราะจะเกิดการแพ้ยาได้
- ด้วยโคเดอีนมีฤทธิ์เสพติด จึงต้องระมัดระวังในการรับประทานยาอย่างถูกต้องเฉพาะตามแพทย์/พยาบาล/เภสัชกรแนะนำเท่านั้น เพื่อป้องกันการเสพติดยาโดยรู้ไม่เท่าทัน
- โคเดอีนมีฤทธิ์กดการหายใจของร่างกาย อาจก่อให้เกิดภาวะการหายใจติดขัด จึงต้องระ วังการใช้ยากับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจโรคหืด
- ระวังการใช้ยาโคเดอีนกับผู้สูงอายุ เพราะเกิดผลข้างเคียงสูงกว่าวัยผู้ใหญ่ทั่วไป โดย เฉพาะการกดการหายใจ
- ระวังการใช้ยาโคเดอีนกับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์ โมน) เพราะโคเดอีนมักทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงทำให้รู้สึกหนาวสั่นมากขึ้น
- ผู้ที่ได้รับยาโคเดอีนไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานกับเครื่องจักร เพราะยาจะทำให้ง่วงนอนจึงอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความน่าสนใจ
ลูกไอมีเสมหะ เกิดจากอะไรได้บ้าง?
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก reuters.com , fda.moph.go.th , haamor.com