AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

คลิปนาทีชีวิต!! เด็กหนุ่มสำลักอาหารเกือบเสียชีวิต โชคดีเพื่อนใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์ ช่วยไว้ทัน

เด็กหนุ่มสำลักอาหาร …เผยคลิปนาทีชีวิต เด็กหนุ่มนักเรียนชั้น ม.ปลาย สำลักอาหารเกือบเสียชีวิต เพราะอาหารเข้าไปติดคอ โชคดีที่เพื่อนรีบเข้ามาช่วยไว้ได้ทัน โดยทางโรงเรียนเผยเพื่อนคนนี้เคยฝึกหลักสูตรช่วยชีวิตฉุกเฉินมาก่อน

การสำลักอาหาร อาจฟังดูเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ร้ายแรงอะไร แต่แท้จริงแล้ว เรื่องการสำลักอาหารก็สามารถกลายเป็นอันตรายที่ร้ายแรงมากได้ เพราะอาหารที่หลุดเข้าไปในหลอดลม กีดขวางทางเดินทายใจ ทำให้ผู้ที่สำลักพูดไมได้ หายใจไม่ออก จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

นาทีชีวิต!! เด็กหนุ่มสำลักอาหาร เกือบเสียชีวิต
โชคดีเพื่อนใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์ ช่วยไว้ทัน

เช่นเดียวกับเด็กหนุ่มคนนี้ ที่เกิดสำลักอย่างรุนแรงขณะที่กำลังรับประทานอาหารกลางวัน แต่เขารอดมาได้เพราะไหวพริบของเพื่อนสนิท ที่รีบมาช่วยชีวิตเขาเอาไว้ โดยเว็บไซต์เดลี่เมล รายงานว่า เด็กหนุ่มชั้นเกรด 10 (มัธยมศึกษาปีที่ 4 ) ของโรงเรียนของโรงเรียนลาครอส เซ็นทรัล ในสหรัฐอเมริกา ได้ซื้ออาหารกลางวันมานั่งรับประทานร่วมกับเพื่อน ๆ ที่โรงอาหาร ซึ่งทุกอย่างดูปกติเรียบร้อยดี จนกระทั่งเด็กหนุ่มคนหนึ่งเกิดสำลักขึ้นมา

ซึ่งจากคิดจะเห็นภาพ ซึ่งตอนแรกเพื่อน ๆ ของเขาไม่ได้ใส่ใจอะไรอย่างจริงจังเพราะคิดว่าเด็กหนุ่มที่กำลังสำลักอยู่แค่แกล้งเล่นแบบขำ ๆ แต่จู่ๆ เขาก็เริ่มไอหนักขึ้น และสำลักรุนแรงจนน่ากลัว จึงทำให้เพื่อน ๆ ตระหนักได้ว่านี่ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นแล้ว ในตอนนั้นเอง เพื่อนที่นั่งฝั่งตรงข้าม จึงลุกไปหาเด็กหนุ่มที่กำลังสำลัก แล้วเดินอ้อมหลังไปช่วย โดยเอามือกอดตัวเด็กหนุ่มที่กำลังสำลักอาหารอยู่เอาไว้ แล้วใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์ ในการช่วยเพื่อน

จากในคลิปจะเห็นได้ว่า หลังจากที่เพื่อนที่ลุกมาช่วยกดกระแทกหน้าอกเด็กหนุ่มที่สำลักอยู่ 3 ครั้ง เศษอาหารก็หลุดออกมาได้

♠ บทความแนะนำน่าอ่าน : วิธีช่วยชีวิตลูก สิ่งแปลกปลอมติดคอ สำลักอาหาร (มีคลิป)

จึงทำให้เด็กหนุ่มที่ช่วยเหลือเพื่อในครั้งนี้ถูกขนานนามให้เป็นฮีโร่คนเก่ง ซึ่งเขาได้เปิดเผยว่าตอนนั้นเขาคิดว่าเพื่อนที่สำลักอาหารคงแค่แกล้ง เพราะเพื่อนรายนี้เป็นคนมีอารมณ์ขัน ชอบทำทำตัวตลกอยู่เสมอ

โดยด้านอาจารย์ฝ่ายสุขศึกษาประจำโรงเรียนกล่าวว่า สาเหตุที่เด็กหนุ่มฮีโร่ช่วยเพื่อนแบบนั้นได้ เป็นเพราะเขาเคยเข้าร่วมอบรมโครงการยุวชนตำรวจมาก่อน ที่โครงการนี้ ซึ่งได้รับการฝึกแบบเดียวกับตำรวจ และได้เรียนรู้การปฐมพยาบาลในภาวะฉุกเฉินอีกด้วย

 

>> ชมคลิป “นาทีชีวิต!! เด็กหนุ่มสำลักอาหารเกือบเสียชีวิต โชคดีเพื่อนใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์ ช่วยไว้ทัน” คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

คลิป เด็กหนุ่มสำลักอาหารเกือบเสียชีวิต โชคดีเพื่อนใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์ ช่วยไว้ทัน

Heimlich Heroics

Heimlich Heroics at Central High School! Freshman Ian Brown didn't waste any time jumping in and helping his choking classmate Will Olson. Brown learned the Heimlich maneuver as part of his first aid training as a Police Explorer with the City of La Crosse Police Department.

โพสต์โดย School District of La Crosse บน 23 มีนาคม 2017

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก School District of La Crosse

การอุดตันทางเดินหายใจ

สำหรับในเรื่องของการ สำลักอาหาร หรือวัสดุต่างๆ ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุสำคัญของการตายในเด็กและผู้สูงอายุ โดยมีงานวิจัยพบว่าเด็กไทยเสียชีวิตจากการบาดเจ็บปีละ 3000 ราย ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 2 เกิดจากการสำลักอุดตันทางเดินหายใจ หรือประมาณ 80 รายต่อปี ซึ่งสิ่งของที่มีการทำให้สำลักเข้าสู่ทางเดินหายใจที่พบบ่อยคือ ถั่ว เมล็ดผลไม้เช่นน้อยหน่า มะขาม ละมุด ลูกอม ไส้กรอก ลูกชิ้น ชิ้นส่วนของเล่น และเม็ดพาสติกกลมชนิดต่างๆ ซึ่งผู้ประสบเหตุการณ์ส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 5 ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ประกอบกับพฤติกรรมเด็กที่อายุน้อย กินไปหัวเราะไป กินไปเล่นไปก่อให้เกิดอันตรายได้

ในการศึกษาจากต่างประเทศพบสิ่งที่เป็นต้นเหตุคล้ายคลึงกัน โดยร้อยละ 69 เป็นจากถั่วและเมล็ดผลไม้ร้อยละ 5 เป็นชิ้นส่วนของเล่นและเม็ดพลาสติก และยังพบว่าสาเหตุที่สำคัญของการเสียชีวิต คือ ชิ้นส่วนของเล่นในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และไส้กรอกในเด็กอายุ 4 ปี

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : สำลักนมคร่าชีวิตลูกน้อย อันตรายที่คาดไม่ถึง

วิธีการป้องกันเด็กสำลักอาหาร

 

อ่านต่อ >> วิธีการปฏิบัติช่วยเหลือเพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากหลอดลม” คลิกหน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีการปฏิบัติ เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากหลอดลม

การช่วยเหลือเบื้องต้นในเด็กที่มีการอุดตันทางเดินหายใจเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากเวลาที่จะช่วยกู้ชีวิตเพื่อไม่ให้สมองตายนั้น มีเพียง 4 นาที ถ้ามีการอุดตันแบบสมบูรณ์จะไม่มีทางที่อากาศเข้าไปได้ ดังนั้นจะไม่มีหน่วยฉุกเฉินใดช่วยได้ทันเวลาแน่นอน จึงจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่เลี้ยงดูเด็กต้องมีความสามารถในการปฏิบัติการขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากหลอดลม

โดยท่าที่ใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี คือ

1. อย่าใช้นิ้วหาสิ่งแปลกปลอมที่อุดตันในลำคอ

2. ให้วางเด็กคว่ำหน้าลงตามท้องแขนแล้วตบที่หลังค่อนข้างแรง 5 ครั้ง (รูปที่ 1)

รูปที่ 1

3. ถ้าไม่สำเร็จจับเด็กนอนหงายบนมืออีกข้างหรือบนตัก ใช้นิ้ว 2 นิ้ว กดหน้าท้องบนกระดูกหน้าอกตอนล่าง (รูปที่ 2)

รูปที่ 2

4. ตรวจดูในปากและล้วงสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นออกมา ทำซ้ำทั้งหมดได้อีกถ้าเด็กเริ่มไม่รู้สึกตัว เริ่มทำปฏิบัติการกู้ชีวิตและโทรศัพท์ขอรถพยาบาล

 

ท่าที่ใช้สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปีคือท่ากดท้องโดยผู้ช่วยเหลือยืนทางด้านหลัง 

1. ให้เด็กที่สำลักก้มไปด้านหน้า และตบแรง ๆ 5 ครั้ง ระหว่างกระดูกสะบัก 2 ข้าง

2. ถ้าไม่สำเร็จลองกดหน้าท้อง สิ่งที่อุดตันอาจจะหลุดออกมาถ้ามีอะไรมากกระตุ้นกะบังลมทันที

3. ตบหลังและกดหน้าท้องสลับกันต่อไปอีก

4. ถ้าผู้ที่สำลักเริ่มไม่รู้สึกตัว จับนอนหงายบนพื้น คุกเข่าคร่อมและกดหน้าท้อง

 

วิธีการ ช่วยตนเองจากอาการสำลักด้วยวิธีเฮมลิก

วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์ (Heimlich Maneuver) เป็นวิธีที่ใช้ช่วยผู้ที่มีอาการสำลักโดยทั่วไป ถ้าเกิดว่าไม่มีใครอยู่ใกล้ๆ ที่พอจะช่วยตัวเราได้เลย เราก็สามารถใช้วิธีนี้ช่วยตนเองจากอาการสำลักได้ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้

1. พยายามไอให้สิ่งแปลกปลอมออกมา

ถ้าคุณรู้สึกว่ามีอะไรติดอยู่ที่คอ ให้ลองไอให้มันออกมา ถ้าคุณไอแรงพอจนทำให้สิ่งนั้นหลุดออกมาได้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์ แต่ถ้าคุณไม่สามารถไอให้มันออกมาได้และหายใจลำบาก คุณจะต้องรีบใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณอยู่เพียงคนเดีย โดยคุณต้องนำสิ่งที่ติดอยู่ในหลอดลมออกไปให้ได้ก่อนที่คุณจะหมดสติ[1] แม้ว่าจะใช้วิธีเฮมลิก แมนูเวอร์อยู่ แต่ก็ให้พยายามไอแรงๆ ต่อไปเรื่อยๆ

2. กำมือ เมื่อพร้อมที่จะเริ่มการช่วยเหลือตนเอง

ต้องกำมือไว้ที่ตำแหน่งที่ถูกต้องก่อน ให้กำมือข้างที่ถนัดไว้บริเวณท้องเหนือสะดือแต่ใต้ซี่โครง โดยคุณจะต้องแน่ใจว่ามือของคุณนั้นอยู่ที่ตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อที่จะไม่เป็นการทำให้ซี่โครงบาดเจ็บ และเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมในการทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นหลุดออกมา ซึ่งการกำมือตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเดียวกันกับวิธีเฮมลิก แมนูเวอร์แบบพื้นฐาน[2]

3. ใช้อีกมือหนึ่งจับมือข้างที่กำไว้

เมื่อคุณกำมือที่ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ให้ใช้อีกมือหนึ่งจับมือข้างที่กำไว้จะได้มีแรงมากขึ้น กางมือออกและโอบกำปั้นไว้ คุณจะต้องแน่ใจว่ากำปั้นอยู่ตรงกลางที่ฝ่ามือ นี่จะเป็นการช่วยให้คุณกระแทกได้แรงขึ้นเมื่อคุณเริ่มการทำวิธีเฮมลิก แมนูเวอร์[3]

  1. กระแทกมือที่กำไว้เข้ามาและดันทางด้านบน : ในการพยายามทำให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา คุณจะต้องกระแทกกำมือไปยังบริเวณกะบังลมหรือบริเวณท้อง โดยกระแทกเร็วๆ ในทิศทางที่เหมือนตัว J กล่าวคือ กระแทกเข้ามาและดันขึ้นด้านบน ทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง ถ้าวิธีนี้ยังไม่ช่วยให้เศษอาหารหลุดออกมา คุณอาจจะต้องกระแทกเข้ากับวัตถุที่มั่นคง เช่น โต๊ะ เพื่อเพิ่มแรงเข้าไปอีก[4]
  1. ใช้วัตถุที่มั่นคงเพิ่มแรงกระแทก : คุณต้องหาวัตถุที่มีความมั่นคงในบริเวณนั้น โดยเป็นวัตถุที่มีความสูงระดับเอวโดยที่คุณสามารถโค้งตัวไปกระแทกได้ สิ่งที่ใช้ได้ เช่น เก้าอี้ โต๊ะ หรือเคาน์เตอร์ ให้โค้งตัวเข้าหาเก้าอี้ โต๊ะ เคาน์เตอร์ หรือสิ่งที่มั่นคงแข็งแรงอื่นๆ โดยตอนนี้มือของคุณจะกำแน่นอยู่ที่ด้านหน้าตัวคุณ ใช้อีกมือโอบรอบกำมือและให้อยู่ระหว่างเก้าอี้และท้องของคุณ จากนั้นกระแทกตัวเข้าหาวัตถุนั้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มแรงได้มากในการกระแทกที่กระบังลม ซึ่งมันจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการทำให้สิ่งแปลกปลอมที่ติดแน่นอยู่หลุดออกมา[5]
  1. ทำซ้ำ : คุณอาจจะไม่สามารถทำให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาในครั้งแรกได้ คุณจะต้องทำซ้ำๆ เร็วๆ และกระแทกตัวเข้ากับโต๊ะและเก้าอี้ที่มั่นคงจนกว่าสิ่งที่ติดอยู่จะหลุดออกมา เมื่อมันหลุดออกมาแล้ว คุณจะหายใจได้อย่างเป็นปกติ [6] แม้ว่ามันจะดูน่ากลัว แต่คุณควรที่จะใจเย็นๆ ไว้ การตื่นตระหนกจะเป็นการเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและทำให้ต้องการอากาศมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้สถานการณ์แย่ขึ้น เพราะถ้าสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาแล้ว ให้นั่งลงและพักเหนื่อย แต่หากยังรู้สึกไม่สบายหรือเจ็บคอ คุณจะต้องรีบไปพบแพทย์[7]

ทั้งนี้หากเกิดการสำลักอาหาร หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดในลำคอและไม่สามารถทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นหลุดออกมาได้ด้วยตัวเอง ให้รีบโทรไปที่เบอร์ 1554 สายด่วนกู้ชีพ วชิรพยาบาล

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ข้อมูลอ้างอิง ตามลำดับ :
[1] http://swallowingdisorderfoundation.com/how-to-save-your-own-life-the-self-heimlich-maneuver/
[2] http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001983.htm
[3] http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001983.htm
[4] http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001983.htm
[5] http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/imagepages/1100.htm
[6] http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001983.htm
[7] http://swallowingdisorderfoundation.com/how-to-save-your-own-life-the-self-heimlich-maneuver/
[8] http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-choking/basics/art-20056637

 

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : www.siamzaa.net , th.wikihow.com , www.csip.org

ขอบคุณคลิปวิดีโอจาก : www.facebook.com/LaCrosseSchools/?hc_ref=PAGES_TIMELINE