AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ไขข้อสงสัย ท้องไม่รู้ตัว เป็นไปได้จริงหรือ?

Credit Photo : Shutterstock

ท้องไม่ท้อง เอ๊ะ! ท้องหรือเปล่านะ? ไม่น่าจะใช่แค่พุงใหญ่เฉยๆ อ่านข่าวคุณแม่ยังสาวที่ท้องไม่รู้ตัว ทำเอาหลายๆ คน เกิด  คำถามสงสัยขึ้นมาว่าจะเป็นได้หรือที่จะท้องไม่รู้ตัว เรื่องนี้มีเงื่อนงำอย่างน่าสงสัย ฉะนั้นอย่ารอช้า ทีมงาน Amarin Baby &  Kids หาคำตอบเพื่อให้ทุกครอบครัวได้คลายข้อสงสัยกันค่ะ

 

ท้องไม่รู้ตัว – ว่าด้วยเรื่องการตั้งท้อง  

อย่างที่รู้ๆ กันกระบวนการกว่าจะท้องมีลูกได้ ต้องอาศัยไข่กับอสุจิเข้ามาผสมกัน และต้องเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมนั้น  คือช่วงไข่ตกในผู้หญิง ที่หากไข่กับอสุจิได้เจอกันในเวลาอันเหมาะสมนี้ก็จะเกิดการปฏิสนธิขึ้นมาเป็นตัวอ่อนได้ในที่สุด

แต่การที่ผู้หญิงจะท้องได้ง่ายหรือไม่นั้น จะต้องมีเพศสัมพันธ์กับสามีอย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาการตกไข่ (Ovulation) โดย  ที่ไข่จะตกเดือนละ 1 ฟอง หลายคนอาจสงสัยและยังไม่เข้าใจในเรื่องการตกไข่ ฉะนั้นจะขอสรุปง่ายๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันดังนี้ค่ะ

  1. ตามปกติผู้หญิงทุกคนจะมีไข่ตกเดือนละ 1 ฟอง ไข่จะตกทุกๆ 28 วัน
  2. การหาค่าเฉลี่ยระหว่างรอบเดือน 28 วัน คือ ให้เอา 28-14 จะได้เท่ากับ 14 ซึ่งเป็นวันที่คาดว่าไข่ตก ส่วนไข่ที่ตกจะรอผสมกับอสุจิอยู่ประมาณ 24-36 ชั่วโมง หากไม่มีการผสมกับอสุจิ หลังจากนี้ไข่ที่ตกก็จะกลายเป็นประจำเดือน ที่ส่วนใหญ่จะมาอยู่ที่ 3-5 วัน
  3. ซึ่งถ้าหากประจำเดือนหายไปหลังจากนี้ 2 สัปดาห์ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ก็ได้ค่ะ

 

การที่ผู้หญิงทุกคนทราบว่าร่างกายตัวเองมีการตกไข่ช่วงวันไหนนั้น จะช่วยให้ง่ายต่อการมีลูก และเมื่อเกิดการตั้งครรภ์แล้วไปฝากครรภ์กับคุณหมอก็จะสามารถบอกคุณหมอได้ว่าประจำเดือนที่เพิ่งหมดไปมาวันแรกและวันสุดท้ายวันได้ของเดือน ก็จะช่วยให้หมอสามารถคาดคะเนอายุครรภ์ล่าสุดในเบื้องต้นได้ไม่ยาก

 

อ่านต่อ >> ถ้าไข่ไม่ตก มีผลกระทบต่อสุขภาพผู้หญิงอย่างไร? หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ท้องไม่รู้ตัว ถ้าไข่ไม่ตก มีผลกระทบต่อร่างกายผู้หญิงอย่างไร?

ตามกระบวนการธรรมชาติของร่างกายผู้หญิงที่จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถตั้งครรภ์ได้ จะต้องมาควบคู่กับการมีรอบ ประจำเดือนที่สม่ำเสมอ และแม่นยำ เพราะถ้าหากประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เช่น มีประจำเดือน 2-3 เดือนมาครั้ง และมา แต่ละครั้งก็มาแบบกะปริบกะปรอย มาไม่เคยตรงกับรอบเดือนแต่ละครั้ง แน่นอนว่าคุณอาจเข้าข่ายของคนที่กำลังจะ…

ในผู้หญิงบางคนที่รอบประจำเดือนมาไม่ปกติ มาไม่แน่นอน เพราะ 2-3 เดือนประจำเดือนมาครั้งนึง ซึ่งส่วนมากผู้หญิงที่มีภาวะประจำเดือนไม่ปกติ หลังจากแต่งงานมักไม่ได้คุมกำเนิด เพราะส่วนหนึ่งเชื่อว่าถึงคุมไปก็ไม่จำเป็น เพราะต่อให้มีเพศสัมพันธ์กันก็ไม่น่าจะทำให้ท้องขึ้นมาได้

 

Credit Photo : matichon

อย่างเช่นจากกรณีข่าวที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่วันมานี้ ที่ผู้หญิงอายุ 21 ปี จากประจวบคีรีขันธ์ มีอาการเจ็บท้องมาก และพบว่าหัวเล็กโพล่ออกมาจากช่องคลอด 

ซึ่งจากการสอบจากเจ้าหน้าที่ คุณแม่ท่านนี้ได้บอกให้ทราบว่าก่อนหน้านี้เธอนั้นได้มีลูกมาแล้ว 3 คน แต่สำหรับลูกคนที่ 4 ตลอด 9 เดือนเธอไม่รู้ตัวเลยว่าท้อง เพราะไม่มีอาการแพ้ท้อง และที่รูปร่างที่เปลี่ยนไปนั้น เธอคิดแค่ว่าตัวเองนั้นอ้วนขึ้น  : ข้อมูลข่าวจาก มติชน ออนไลน์

และเพื่อให้ทุกคนที่เกิดคำถามขึ้นมาว่า ท้องไม่รู้ตัว จะเป็นไปได้ยัง ระหว่าง 9 เดือนจะไม่มีอาการเตือนอื่นแสดงให้เห็นกันเลยหรือไร เช่น ถ้าไม่มีอาการแพ้ท้อง ก็ต้องสงสัยตัวเองว่าทำไม่ประจำเดือนไม่มาเลยคลอด 9 เดือน ต่อให้เป็นคนที่ประจำเดือนมี 2-3 เดือนมาครั้งก็ตาม

อ่านต่อ >> ไขข้อสงสัย ผู้หญิงไม่รู้ตัวว่าท้อง เกิดขึ้นได้จริงหรือ? หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ไขข้อสงสัย ท้องไม่รู้ตัว เป็นไปได้จริงหรือ?

การที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด ในเรื่องนี้ผู้เขียนขออนุญาตหยิบยกมาจากมติชน ออนไลน์ ซึ่ง พญ.ชัญวลี ศรีสุโข สูติ-นรีแพทย์เชี่ยวชาญ รพ.พิจิตร และโฆษกแพทยสภา[1] ได้ให้ข้อมูลสาเหตุของ ท้องไม่รู้ตัว ที่เป็นประโยชน์ไว้ดังนี้

  1. ไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์จริงๆ เพราะปกติมีการคุมกำเนิดอยู่แล้ว แต่อาจเกิดจากการคุมกำเนิดไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ฉีดยาคุมไม่ตรงเวลา กินยาไม่ตรงเวลา เป็นต้น ประกอบกับประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ หรือมีประจำเดือนเพียงปีละ 1-2 ครั้งก็สามารถเกิดการตั้งครรภ์ได้ แม้อายุครรภ์จะมากถึง 8-9 เดือน หลายคนก็ยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เพราะท้องอาจเล็ก และเข้าใจว่าอ้วน หรือผิวหนังบริเวณท้องอาจหนามาก จนลูกดิ้นก็ไม่รู้สึก หรือเข้าใจว่าปวดท้องปกติ
  2. คนที่มีประจำเดือนหลายคนก็เข้าใจว่าไม่ตั้งครรภ์ แต่จริงๆ ท้อง นั่นเพราะประจำเดือนที่ออกมามีลักษณะกะปริบกะปรอย หรือได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งเสี่ยงแท้ง พอมาพบสูตินรีแพทย์จึงทำให้ทราบว่าตั้งครรภ์ ซึ่งไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม กรณีท้องโดยไม่รู้ตัวย่อมเกิดขึ้นได้ อย่างที่รพ.พิจิตร ก็พบเคสลักษณะนี้เช่นกัน โดยหลายรายมาด้วยอาการปวดท้อง เข้าใจว่าท้องเสีย พอมาตรวจ และแพทย์คลำเจอก้อนที่ท้อง จึงไปตรวจอัลตราซาวน์ ปรากฏว่าตั้งครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป เคยเจออายุน้อยสุดไม่ถึง 10 ขวบด้วยซ้ำ ซึ่งตรงนี้มาจากความผิดปกติของไข่ตก นอกนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่น ซึ่งเฉลี่ยพบปีละ 10 รายได้ หลายครั้งพ่อแม่เป็นคนพามาให้แพทย์ตรวจเอง[1]

 

นอกจากนี้ ผศ.นพ.สัญญา ภัทราชัย อาจารย์พิเศษประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การท้องโดยไม่รู้ตัวนั้น มาจากเจ้าตัวไม่อยากท้อง และคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นท้องขยายใหญ่ขึ้นก็คิดว่าอ้วน หรือประจำเดือนขาด ก็มองว่าเป็นเรื่องปกติ สิ่งเหล่านี้เกิดจากกลไกทางจิตใจที่ปฎิเสธความจริงว่าตั้งครรภ์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก ในทางกลับกันคนอยากท้อง แต่ไม่ท้องและเข้าใจว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ยังมี แต่จริงๆ แล้วเป็นภาวะท้องปลอม ที่ท้องขยายใหญ่ก็เพราะมีลมอยู่ข้างใน และส่วนใหญ่หญิงกลุ่มนี้จะมีรูปร่างที่ท้วมๆ ด้วย[2]

อย่างไรก็ตามในผู้หญิงนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ การดูแลสุขภาพที่ก่อนตั้งครรภ์ควรไปตรวจเช็กสุขภาพก่อนท้อง ว่ามีความพร้อมสมบูรณ์ในการตั้งครรภ์มากน้อยแค่ไหน มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์หรือไม่ และเมื่อตั้งครรภ์แล้วก็ต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้มากกว่าปกติ เนื่องจากยังมีอีกหนึ่งชีวิตน้อยๆ ในท้อง ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งจากอาหารที่แม่กิน วิตามินที่แม่บำรุง การทำกิจกรรมต่างๆ ของแม่ ฯลฯ ล้วนส่งผลถึงลูกในท้องได้ทั้งสิ้น 

ผู้เขียนหวังว่าจากข้อมูลข้างต้นที่นำเสนอไปนั้น จะสามารถตอบข้อสงสัยที่ผู้หญิง และผู้อ่านพากันสงสัยว่า ผู้หญิงเรานั้นจะท้องโดยไม่รู้ตัวได้จริงหรือ? …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ 

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

20 วิธีแก้ อาการแพ้ท้อง พร้อมเมนูแนะนำแก้อาการแพ้ท้อง
โรคตับในแม่ท้อง ภาวะอันตราย ทำให้ครรภ์เสี่ยงสูง
ไขข้อข้องใจ แม่ท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม ?

 


ขอขอบคุณข่าวอ้างอิงจาก
www.matichon.co.th , www.matichon.co.th
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก
www.thaihealth.or.th , haamor.com
หนังสือคู่มือการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่