แม่เตือน! อันตรายถึงชีวิต อย่าคิดมองข้ามการฉีดวัคซีนโรค “อีสุกอีใส” ให้กับลูกเด็ดขาด!
ภายหลังจากที่คุณแม่หายป่วยจากโรคอีสุกอีใส ก็ต้องพบว่า ลูกชายคนเล็กวัย 11 เดือนนั้น ได้รับเชื้อไวรัสจากเธอ! โดยคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกชายคนเล็กนั้นเริ่มมีเม็ดขึ้นตามร่างกาย จึงได้รีบนำตัวไปส่งโรงพยาบาล
ผลการตรวจก็ทำให้เธอถึงกับตกใจที่พบว่า ลูกชายนั้นติดเชื้อ “ไวรัสวาริเซลล่า” ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เป็นโรคงูสวัด คุณแม่แทบไม่เชื่อว่าลูกชายอายุเพียงแค่นี้จะสามารถป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสได้แล้ว แต่โชคดีที่เธอพาลูกชายมาพบคุณหมอได้ทันเวลา
อีกทั้งลูกชายคนโตก็ได้รับการฉีดวัคซีนโรคนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงรอด … และด้วยเหตุนี้เอง ทำให้เธอรู้เลยว่า การพาลูกไปฉีดวัคซีนโรคนี้สำคัญมากน้อยเพียงใด จึงอยากที่จะออกมาเผยแพร่เรื่องราวนี้ให้กับทุก ๆ ครอบครัว อย่าคิดว่าโรคดังกล่าวนั้นไม่อันตราย เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้แล้วลูกเป็นขึ้นมา อาจจะทำให้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรค “อีสุกอีใส” คืออะไร?
โรคอีสุกอีใส นั้นสามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า โรคฝีดาษไก่ เป็นโรคที่ติดต่อได้จากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ เป็นโรคที่ระบาดได้ง่ายและแพร่กระจายได้โดยการแพร่เชื้อผ่านทางอากาศของละอองที่มาจากทางเดินหายใจ หรือจากของเหลวที่มาจากแผลตุ่มน้ำบนผิวหนัง ของผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสหรือโรคงูสวัด
ผู้ที่ติดเชื้ออีสุกอีใสจะมีไข้และผื่นคัน โดยปกติแล้วผื่นจะเห่อขึ้นมากกว่า 5 วันโดยจะเริ่มขึ้นเป็นตุ่มน้ำบนหนังศีรษะและใบหน้าก่อน แล้วจึงจะเคลื่อนไปที่ลำตัวและตามแขนขา ผื่นจะขึ้นโดยส่วนมากตามลำตัว ตุ่มน้ำจะคันและหลังจากนั้นจะแห้งลงและกลายเป็นสะเก็ดในระยะเวลาประมาณ 3 วัน ผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสส่วนมากจะหายเป็นปกติใน 2 ถึง 4 สัปดาห์
อ่านอาการของโรคได้ที่หน้าถัดไป
เครดิต: news.com.au
ระยะการฟักตัวของโรคอีสุกอีใสนั้น จะใช้ระยะเวลาประมาณ 10 – 21 วัน โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ระยะเวลาประมาณ 14 – 17 วันค่ะ
โรค อีสุกอีใส มีอาการอย่างไร
-
เด็กจะมีไข้ต่ำ ๆ มีอาการอ่อนเพลีย แล้วเริ่มเบื่ออาหารเล็กน้อย
-
ในผู้ใหญ่จะมีไข้สูงและปวดเมื่อยตามร่างกายคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ จากนั้นผู้ป่วยก็จะเริ่มมีผื่นขึ้น โดยจะขึ้นพร้อมกันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือขึ้นหลังจากที่มีไข้ประมาณ 1 – 2 วัน
-
ลักษณะของผื่นนั้น เป็นผื่นราบสีแดงขนาดเล็ก ๆ ก่อน ในอีก 2 – 3 ชั่วโมงต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูนและตุ่มน้ำใสขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 – 3 มิลลมิเมตร มีฐานสีแดงอยู่โดยรอบ โดยตุ่มใสที่ว่านี้จะทำให้ผู้ป่วยนั้นมีอาการคัน และภายใน 24 ชั่วโมงต่อมาก็จะเปลี่ยนกลายเป็นตุ่มน้ำขุ่นมีขนาดใหญ่และแตกได้ง่าย และฝ่อหายไปหรือกลายเป็นสะเก็ต ที่จะหลุดหายไปเองภายใน 7 – 10 วัน แต่ก็มีบ้างค่ะที่ผู้ป่วยบางรายอาจนานกว่านั้นเป็น 2 – 3 สัปดาห์โดยไม่เป็นแผลเป็น
-
ผื่นและตุ่มอีสุกอีใสนั้น จะเริ่มจากการขึ้นที่ลำตัวก่อน บริเวณหน้าอกและแผ่นหลัง แล้วลามไปที่หน้า หนังศีรษะ และแขนขา นอกจากนี้ยังสามารถมีผื่นตุ่มในลักษณะเดียวกันตามเยื่อบุปากได้ด้วย เช่น เพดานปาก ลิ้น คอหอย เป็นต้น
-
บางรายอาจจะขึ้นในเยื่อบุอื่น ๆ เช่น เยื่อบุตา กล่องเสียง หลอดลม ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องคลอด เป็นต้น โดยผื่นและตุ่มใหม่จะทยอยขึ้นเป็นระลอกตามมาเป็นเวลา 3 – 6 วัน (ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ 4 – 5 วัน) และก็จะหยุดขึ้น ส่วนผื่นที่ขึ้นก่อนหน้านี้จะกลายเป็นตุ่มขุ่นหรือตุ่มสุก และตกสะเก็ดก่อนผื่นที่ขึ้นทีหลังตามลำดับ ทำให้ตามลำตัวจึงพบผื่นตุ่มได้ทุกรูปแบบ ทั้งตุ่มสุกและตุ่มใส ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “โรคอีสุกอีใส”
โรคนี้เมื่อได้เป็นแล้วร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานไปตลอดชีวิต และจะไม่เป็นซ้ำอีก ยกเว้นเสียแต่ว่าจะเป็นภูมิคุ้มกันต่ำ อาจจะกำเริบซ้ำอีกได้ และต่อให้ตุ่มยุบหายแล้ว เชื้อชนิดนี้มักจะยังหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท ทำให้มีโอกาสเป็นโรคงูสวัสได้ในภายหลัง หากร่างกายอ่อนแอหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ
อ่านวิธีการรักษาโรคได้ที่หน้าถัดไป
วิธีการรักษาโรค
-
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรแยกตัวออกไปอยู่ต่างหากจนกว่าจะพ้นระยะการติดต่อ ทั้งนี้จะต้องแยกข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่นเสื้อผ้า แก้วน้ำ ช้อน จาน ชาม เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของโรค (ระยะติดต่อคือ ตั้งแต่ระยะ 24 ชั่วโมง ก่อนมีผื่นขึ้นไปจนถึงระยะที่ตุ่มทั้งหมดตกสะเก็ตแล้ว หรือประมาณ 6 วันหลังจากตุ่มน้ำ)
-
พักผ่อนให้เพียงพอ
-
อาบน้ำให้สะอาด อยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทสะดวก
-
ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
-
ควรรับประทานอาหารเหลวที่มีโปรตีนมาก ๆ เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด เปรี้ยว อาหารหมักดอง และอาหารที่เคี้ยวยาก
-
ตัดเล็บให้สั้นและหลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาตุ่มที่คัน เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนกลายเป็นแผลเป็นได้
-
ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเมื่อมีไข้สูง
-
หากมีอาการคันให้ใช้น้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบหรืออาบน้ำเย็นบ่อย ๆ หากไม่ทำให้หนาวสั่น
-
ถ้าเจ็บปากหรือปากเปื่อยลิ้นเปื่อย ให้ใช้น้ำเกลือเย็น ๆ กลั้วปากและคอ
-
หากผู้ป่วยมีไข้สูงและไข้ไม่ลดลงภายใน 1 – 2 วันหลังรับประทานยาลดไข้ มีอาการไอมาก มีตุ่มพองเป็นหนอง เริ่มมีเสมหะ (เป็นอาการหนึ่งของการติดเชื้อแบคทีเรีย) ควรรีบไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง
-
หากผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนเช่น เลือดออก เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ปวดศีรษะ ซึม แขนขาอ่อนแรง หรือชัก ให้รีบน้ำตัวส่งโรงพยาบาลโดยทันที
วัคซีนโรคอีสุกอีใสสามารถฉีดได้ทุกคนหรือไม่?
สำหรับการฉีดวัคซีนนั้น นอกจากจะป้องกันโรคได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดแผลเป็น และช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดโอกาสที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้อีกด้วยเช่นกันค่ะ ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า วัคซีนดังกล่าวจะสามารถฉีดได้กันกับทุกคนนะคะ โดยมีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลดังต่อไปนี้
-
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ควรต้องปรึกษาแพทย์ เพราะอาจแพ้วัคซีนได้
-
คนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เพราะวัคซีนเป็นวัคซีนเชื้อเป็น จึงอาจก่อการติดเชื้อรุนแรงได้เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคเรื้อรังต่าง ๆ คนที่กินยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น ในโรคภูมิแพ้ตนเองหรือภูมิต้านตนเอง
-
ในคนตั้งครรภ์ซึ่งอาจก่อให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อนี้และเกิดความพิการแต่กำเนิดได้
-
เคยแพ้วัคซีนต่าง ๆ มาแล้วและแพ้วัคซีนอีสุกอีใสเข็มแรกมาแล้ว
สำหรับเด็ก ๆ น้ั้น สามารถเริ่มฉีดวัคซีนโรคดังกล่าวนี้ได้ตามความเหมาะสมของช่วงอายุวัยดังนี้
-
เริ่มฉีดตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป โดยให้วัคซีน 2 เข็ม โดยเข็มที่ 1 ให้ตอนอายุ 12 – 18 เดือน และเข็มที่ 2 ให้ตอนอายุ 4-6 ปี (โดยห่างกันจากเข็มแรก 4-6 ปี) โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
-
ช่วงอายุ 13 ปีขึ้นไปฉีด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 1 ต้องห่างจากเข็มที่2 เป็นเวลา 4 – 8 สัปดาห์
-
และกุมารแพทย์ยังแนะนำให้ฉีกช่วงอายุ 10 ปีขึ้นไปเพื่อให้มีโอกาสติดเชื้อโดยธรรมชาติในช่วงอายุน้อย ๆ ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรงก่อน และเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิต
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย เมื่อถึงเวลาตามที่คุณหมอนัด อย่าลืมพาลูกหลานไปรับวัคซีนกันนะคะ
เครดิต: Medthai และ หาหมอ
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติม:
-
วัณโรคกระดูก โรคติดต่อพ่อแม่ไม่ควรมองข้าม
-
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา รู้ก่อนป้องกันได้ ปลอดภัยต่อสุขภาพเด็กและครอบครัว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่