AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ระวัง! ลูกดื่มน้ำน้อย อาจทำให้เป็น “นิ่ว”!

การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายควรดื่มอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน แต่เมื่อลูกห่วงทำกิจกรรมต่าง ๆ จนเพลิน ทำให้เกิดปัญหา ” ลูกดื่มน้ำน้อย “ กว่าปกติ

 

 

คุณพ่อคุณแม่ทราบกันหรือไม่คะว่า ความจำเป็นในส่วนของปริมาณการดื่มน้ำในแต่ละวันนั้น ขึ้นอยู่กับอายุของลูกเป็นสำคัญ จากผลการศึกษาทางการแพทย์ในหลาย ๆ ประเทศนั้นพบว่า “การให้ลูกดื่มน้ำในช่วงอายุก่อน 6 เดือนนั้น อาจทำให้เกิดอันตรายมากกว่าประโยชน์ที่ลูกจะได้รับ” เนื่องจาก ลูกจะเกิดการอิ่มน้ำ ทำให้ดูดนมแม่ได้น้อยลง ส่งผลให้ถ่ายอุจจาระลดลงเช่นกัน นอกจากนี้เมื่อลูกดูดนมแม่ได้น้อย ลูกก็จะได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหารตามมา แต่สิ่งที่เป็นอันตรายกับลูกมากที่สุดก็คือ “การเกิดภาวะน้ำในร่างกายผิดปกติ” และระดับของแร่ธาตุโซเดียมในร่างกายมากเกินไป ส่งผลโดยตรงต่อสมอง อุณหภูมิในร่างกาย การทำงานของไต ทำให้เกิดอาการตับบวม ชัก หรือบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้! ดังนั้น “น้ำ” จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน

คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะว่า ลูกจะไม่ได้ดื่มน้ำเลย เพราะน้ำนมแม่นั้น มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 88 เปอร์เซ็นเลยละค่ะ และแน่นอนว่า เพียงพอต่อความต้องการของลูก ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือนจึงไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับน้ำเพิ่มอีก แต่ถ้าหากคุณแม่มีความจำเป็นต้องให้ลูกดื่มนมผง คุณแม่ก็ควรหลีกเลี่ยงการชงนมที่เจือจางมากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลให้ความสมดุลของน้ำในร่างกายของลูกเกิดความผิดปกติขึ้นได้

ซึ่งอายุที่เหมาะสมของลูกที่จะเริ่มดื่มน้ำนั้นก็คือ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่ในช่วงแรกคุณแม่ควรจำกัดปริมาณน้ำที่จะให้ลูกดื่มกันด้วยนะคะ โดยเริ่มต้นที่ประมาณไม่เกิน 2 – 4 ออนซ์ต่อวัน และอาจจะให้จิบน้ำหลังจากที่ลูกได้ทานอาหารเสริมเสร็จแล้ว และเมื่อลูกเริ่มโตขึ้น ปริมาณน้ำที่ลูกจะสามารถดื่มได้ก็จะเพิ่มขึ้นไปตามลำดับค่ะ

ลูกดื่มน้ำน้อย ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง? คลิก! 


เครดิต: Dek-D และ www.mathgamecenter.com , www.cloverdrink.com

 

 

ปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่แทบทุกครอบครัวจะต้องเผชิญก็คือ ปัญหาของการที่ ” ลูกดื่มน้ำน้อย ” นั้นส่งผลโดยตรงกับร่างกายของลูก ยกตัวอย่างเช่น ท้องผูก ริมฝีปากแห้ง ตาแห้ง หรือมีปัญหาในเรื่องของระบบการย่อยอาหาร เป็นต้น แต่ใครจะไปคิดละว่า อีกหนึ่งผลกระทบที่น่ากลัวก็คือ “โรคนิ่ว”

โรคนิ่ว คืออะไร?

โรคนิ่วนั้นไม่ได้เพิ่งมีนะคะ  เป็นโรคที่มีกันมานานมากแล้วละค่ะ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคที่เป็นปัญหาที่พบมากทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

โรคนิ่ว ที่พบบ่อนั้นมีสองประเภทด้วยกันคือ

  1. นิ่วในถุงน้ำดี
  2. นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ อันได้แก่ นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในท่อปัสสาวะ

ซึ่งทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในส่วนประกอบ สาเหตุ รวมทั้งการดูแลรักษา แต่ที่เรียกนิ่วเหมือนกันนั้นเป็นเพราะลักษณะที่เห็นเป็นก้อนคล้ายหินเหมือนกันนั่นเองค่ะ

อาการของโรคนิ่ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบดังนี้

  1. แบบไม่มีอาการและมักตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะตรวจโรคอื่นหรือจากการตรวจร่างกายประจำปี
  2. แบบที่มีอาการ ยกตัวอย่างเช่น แน่นท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีลมมาก หรือปวดเป็นพัก ๆ บริเวณลิ้นปีหรือใต้ชายโครงขวาร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งมักจะเป็นหลังจากรับประทานอาหารมัน ๆ ส่วนในกลุ่มที่มีการอักเสบของถุงน้ำดี อาการปวดท้องจะมีความรุนแรงมากขึ้น อาจปวดทะลุหลัง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน และตัวเหลือตาเหลืองร่วมด้วย

ดังนั้น วิธีป้องกันโรคนิ่วที่ดีสุดก็คือ การดื่มน้ำเยอะๆ สองถึงสามลิตรต่อวัน หรือประมาณวันละ 6-8 แก้ว และรับประทานอาหารแต่พอเหมาะเน้นผักผลไม้ 

อะไรคือสาเหตุของการเกิดโรคนิ่ว คลิกอ่านได้ที่หน้าถัดไป

สาเหตุของการเกิดโรค

เกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม เมแทบอลิซึม พันธุกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และอุปนิสัยการกินอาหารของตัวผู้ป่วยเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดื่มน้ำในปริมาณที่น้อยจนเกินไป! ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราต้องการน้ำอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ลิตรหรือปริมาณ 6 -8 แก้ว 

นอกจากนี้ ก็ยังมีสาเหตุมาจากการรับประทานแคลเซียมเยอะเกินความจำเป็น สำหรับโรคนิ่วนั้น มักจะพบได้มากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คนอ้วน และในช่วงอายุ 20 – 40 ปี และส่วนใหญ่ที่พบมากที่สุดก็คือ นิ่วในไต และถ้าหากนิ่วไปอุดตันที่ไต ก็อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย

ดังนั้น เพื่อเป็นการจูงใจให้ลูกของเราดื่มน้ำให้มาก คุณแม่ก็สามารถทำตามเทคนิคเล็ก ๆ น้อยดังนี้

มาถึงตอนนี้ นอกจากคุณแม่จะได้ทราบถึงข้อเสียของการดื่มน้ำน้อยแล้วว่า อันตรายขนาดไหน อย่าลืมพยายามให้ลูกน้อยดื่มน้ำเยอะ ๆ กันนะคะ

เครดิต: สสส. และ ASTVผู้จัดการออนไลน์

เครดิตรูปภาพ: algaeappliance และ IndianJUrol

อ่านเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids