AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แม่เตือน ลูกเป็น RSV เกือบลงปอด คิดว่าเป็นหวัดธรรมดา

ลูกเป็น rsv

แม่เตือนแม่! ไม่อยากให้ชะล่าใจหลังพบ ลูกเป็น RSV เกือบลงปอด เพราะคิดว่าอาการดังกล่าวเป็นแค่หวัดธรรมดา!

 

นี่คืออีกวันที่คุณแม่รู้สึกเป็นห่วงลูกสาววัย 1 ปีอย่างสุดหัวใจ  ภายหลังจากลูกสาวต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยอาการป่วยเป็นโรค RSV โดยคุณแม่เนยได้เล่าเรื่องนี้ผ่านกลุ่ม คลับคุณแม่มือใหม่ เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ทำไมคุณแม่ถึงต้องนำเรื่องนี้มาแชร์  เราไปอ่านเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

“อยากมาแนะนำคุณแม่มือใหม่กับ RSV ซึ่งเราก็เป็นคุณแม่มือใหม่มาก ๆ ลูกสาวเพิ่งมีอายุครบ 1 ขวบเต็ม … เรื่องนี้ย้อนกลับไปก่อนที่คุณหมอจะให้ลูกสาวนอนโรงพยาบาล โดยน้องมีอาการอาเจียน โดยที่ไม่มีไข้ และก็ไม่ซึม แต่พอช่วงเวลาประมาณตี 1 – ตี 2 ก็เริ่มมีไข้อ่อน ๆ แต่ก็ยังไม่สูงเท่าไหร่ คุณแม่ก็ได้เช็ดตัวและให้น้องทานยาลดไข้

พอตื่นเช้ามาก็ร่าเริงปกติ แต่สิ่งที่เห็นก็คือ น้องมีอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับในระหว่างวันมีอาการอาเจียน ทานนมก็พุ่งออกมา แต่คุณแม่ก็ยังไม่คิดอะไร และคิดว่าเป็นแค่หวัดธรรมดาเท่านั้น พอตกกลางคืนก็เหมือนเดิม มีไข้ก็ให้ทานยาลดไข้และเช็ดตัวตามปกติ มีอาการแบบนี้ได้ประมาณ 2 วัน จนวันที่ 3 ก่อนนอน คุณแม่ก็ได้เช็ดตัวและให้ยาลดไข้ลูกดักเอาไว้

คืนนั้น ไข้น้องไม่ขึ้นจริง แต่ระหว่างที่กำลังหลับอยู่น้องก็ได้ลุกมาอาเจียนพุ่งออกมา ตอนแรกคุณแม่คิดว่าจะพาน้องมานอนแอดมิดตั้งแต่กลางคืน แต่เมื่อลูกไม่มีไข้ก็เลยไม่มา

แต่ว่าคืนนั้นลูกงอแงมากผิดปกติ คุณแม่ก็คิดว่าน้องคงปวดท้อง แต่ก็ไม่ใช่ เพราะสิ่งที่น้องมีอาการเพิ่มจาก 2 วันแรกก็คือ น้องนอนหายใจครืดคราด มีเสียง แต่คุณแม่ก็ทำการล้างจมูกน้องทุกครั้ง แต่ดูเหมือนไม่มีทีท่าเลยว่าลูกจะน้ำมูกลดน้อยลง จนเมื่อเช้าที่ผ่านมา น้องตัวร้อนมาก ไข้สูงถึง 38.9 องศา คราวนี้คุณแม่ไม่รออะไรอีกแล้ว รีบพาน้องมาหาคุณหมอทันที

เครดิต: Wikipedia

พอคุณหมอตรวจเสร็จก็บอกว่า น้องเป็นโรค RSV ที่สำคัญโรคนี้เกือบจะลงปอดน้องแล้ว คุณหมอบอกว่า โรคนี้ไม่มีทางรักษา ทำได้แค่เพียงรักษาไปตามอาการที่ปรากฎเท่านั้น

คุณแม่ได้ฝากถึงคุณแม่ท่านอื่น ๆ ว่า “ลูกเป็นหวัดไม่ควรนิ่งนอนใจเหมือนกับคุณแม่ที่คิดว่าน้องเป็นแค่หวัดธรรมดา มาถึงตอนนี้น้องยังคงต้องเข้ารับการรักษาตัวอยู่ ล่าสุดคุณหมอดูดเสมหะได้มากถึง 10 หลอด ส่วนไข้ก็ให้ทานยาลดไข้สูง แต่ไข้ก็ไม่มีทีท่าว่าจะลงเลย  RSV ระบาดหนักในช่วงหน้าฝนจนถึงช่วงหน้าหนาว ให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกหลานไว้ให้ดี และคอยสังเกตอาการของลูก ที่สำคัญต้องไม่ประมาทเหมือนกับคุณแม่นะคะ”

ไวรัส RSV คืออะไร

RSV หรือชื่อเต็มๆ ว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เชื้อไวรัสนี้สามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้เนื่องจากมักเกิดพยาธิสภาพในส่วนของหลอดลมเล็ก (bronchiole) และถุงลม (alveoli) ทำให้มีการสร้างสิ่งคัดหลั่ง เช่น เสมหะ ออกมาในปริมาณมาก และมีการหดตัวของหลอดลมเนื่องจากการบวมของเยื่อบุหลอดลมและทางเดินหายใจต่างๆ ส่งผลให้เด็กมีอาการหอบ เหนื่อย และหายใจลำบากได้อย่างรวดเร็ว เชื้อนี้ติดต่อกันได้โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ

อาการของโรค RSV เป็นอย่างไร คลิก!


เครดิต: คลับคุณแม่มือใหม่ และคุณแม่เนย Neii Neii Palasit

 

อาการของโรค

บางอย่างอาจคล้ายกับอาการไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ (ส่วนใหญ่ไข้ไม่สูงนัก) ไอ จาม แต่ก็มีอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและสงสัยว่าลูกอาจได้รับเชื้อไวรัส RSV เช่น

ไวรัส RSV  รักษาอย่างไร

ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกันโรคนี้โดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อเด็กได้รับไวรัสนี้จึงต้องรักษาตามอาการ ทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4-6 ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนเยอะ ๆ ร่างกายก็จะฟื้นตัวช้าใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์จึงจะหาย แต่หลังจากหายแล้วหลอดลมและถุงลมฝอยของเด็กจะมีอาการอักเสบได้ง่ายเมื่อติดเชื้อครั้งใหม่ได้

โดยทั่วไปการรักษาจะเป็นไปตามอาการที่ป่วย เช่น ให้ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาลดไข้ หรือพ่นยา ซึ่งก็ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ ในผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อย หายใจไม่ค่อยดี และเริ่มมีออกซิเจนในเลือดต่ำลง การรักษาจะเป็นในรูปแบบประคับประคอง เช่น ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ยาพ่นขยายหลอดลม เคาะปอด ดูดเสมหะ รวมถึงให้ออกซิเจน ส่วนในรายที่มีอาการหนักมาก อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยให้การดูแลในหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติจนกว่าอาการจะดีขึ้น

ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่ พบว่าลูกน้อยมีอาการไข้หวัดแล้วไม่มีอาการดีขึ้น  ให้รีบพาน้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจถึงสาเหตุของการป่วยดังกล่าว หากลูกเป็นแค่หวัดธรรมดาแค่ล้างจมูกทานยาและพักผ่อนให้เพียงพอน้องก็สามารถดีขึ้นได้เองแล้ว  แต่ถ้าปล่อยเอาไว้ น้องอาจป่วยมีอาการหนักอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วยไวรัสชนิดอื่น ๆ เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ เชื้อไมโคพลาสมา หรือเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ได้

เครดิต: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids