AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อย่านิ่งนอนใจ ลูกเป็นหวัดบ่อย ไซนัสอักเสบอาจถามหา

ลูกเป็นหวัดบ่อย

ลูกเป็นหวัดบ่อย เป็นทุกเดือน อย่านิ่งนอนใจ หาหมอเช็คให้แน่ เพราะโรคไซนัสอักเสบอาจถามหาได้!

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยกันหรือไม่คะว่า ทำไมลูกเราถึงเป็นหวัดบ่อยจัง เป็นกันเสียทุกเดือน ล้างจมูกก็แล้วก็ไม่หายเสีย หรือว่าเป็นเพราะที่โรงเรียนเปิดแอร์ หรือเพราะพาลูกเรียนว่ายน้ำ ถึงขยันเป็นเสียเหลือเกิน เดี๋ยวไอเดี๋ยวจาม หรือว่าลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้อากาศกันแน่ งานนี้ต้องตรวจสอบเช็กกันให้ดีนะคะ เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ละก็ โรคไซนัสที่ว่านี้มาแน่ ๆ ดังเช่น เรื่องราวของคุณแม่ท่านหนึ่ง ที่พาลูกไปหาหมอด้วยสาเหตุดังกล่าว จนผลสุดท้ายคุณหมอตัดสินใจทำการเอ็กซเรย์จมูกให้ ถึงรู้ว่า ที่ลูกเป็นหวัดนั้นไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ

ว่าแต่ โรคไซนัส ที่ว่านี้เกิดจากอะไร อาการเป็นแบบไหน เด็ก ๆ เป็นได้ด้วยหรือ? … หากสงสัยละก็ ที่นี่มีคำตอบค่ะ

ซึ่งก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับโรคนี้ เรามาอ่านเรื่องราวสั้น ๆ ของคุณหมอท่านหนึ่ง ที่ได้เล่ากรณีที่มีคุณแม่พาลูกมาหาคุณหมอ เพื่อให้ทำการตรวจว่า ที่ลูกเป็นหวัดบ่อย ๆ นั้นเป็นเพราะโรคภูมิแพ้หรือเปล่า … เชิญอ่านเรื่องราวของคุณหมอไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

คุณแม่พาน้องเอ วัย 3 ขวบ มาพบหมอในเดือนนี้เป็นครั้งที่ 3 เนื่องจากมีอาการไอเรื้อรัง ครั้งแรกเริ่มจากอาการเป็นไข้หวัด หมอให้ยาลดไข้ แก้หวัด ต่อมาไม่มีไข้แล้วแต่น้ำมูกเหลือง และไอมีเสมหะ ตรวจพบว่าเป็นโพรงจมูกอักเสบ ให้ยาปฏิชีวนะ ทานจนหมดขวด น้ำมูกแห้งกรังติดจมูกเล็กน้อย แต่ไม่หายไอซักที คุณแม่เล่าว่า ตั้งแต่เข้าเรียน เป็นหวัดแทบทุกเดือน เพื่อนๆในห้องผลัดกันเป็น เรียนห้องแอร์ และมีว่ายน้ำอาทิตย์ละ 1 วัน จะเป็นสาเหตุให้ลูกป่วย บ่อยหรือไม่ หรือว่าลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ เพราะคุณพ่อเป็นโรคภูมิแพ้อากาศ คราวนี้หมอเลยส่งเอ็กซเรย์โพรงไซนัส พบว่าขาวทึบไปหมด คือเป็นไซนัสอักเสบ แสดงว่าที่ป่วยบ่อย ๆ นั้น จริง ๆ แล้วอาจเป็นหวัดแบบรับเชื้อใหม่จากเพื่อนเพียงไม่กี่ครั้ง ที่เหลือเป็นอาการของไซนัสอักเสบกำเริบมากกว่า”

ทำความรู้จักโรคไซนัสอักเสบ

โรคไซนัสอักเสบ คือการอักเสบของโพรงอากาศซึ่งเชื่อมต่อกับโพรงจมูก มีทั้งหมด 4 คู่ คือ ด้านข้างจมูก ดั้งจมูก หัวคิ้ว และด้านหลังจมูก เกิดขึ้นจากการเป็นหวัดนานเกิน 10 วัน แล้วเชื้อโรคลุกลามไปยังโพรงอากาศดังกล่าว เมื่อโพรงดังกล่าวเกิดการอักเสบแล้วจะสร้างน้ำมูกออกมาจำนวนมาก ไหลย้อนออกมาเป็นน้ำมูก หรือไหลลงคอกลายเป็นเสมหะในคอ พบว่าผู้ที่เป็นโรคแพ้อากาศจะเป็นโรคไซนัสอักเสบได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจากเยื่อบุภายในโพรงจมูกมักบวมและมีการอักเสบจากภูมิแพ้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลไกการกำจัดน้ำมูกผิดปกติไป มีการคั่งค้างของน้ำมูกใส ๆ ภายในโพรงไซนัส และเมื่อลูกได้รับเชื้อโรคหวัดจากเพื่อน ๆ หรือคนรอบข้างเข้าไปอยู่ในโพรง น้ำมูกใสจะเปลี่ยนเป็นข้น เหลือง เขียวได้ กลายเป็นอาการของไซนัสอักเสบกำเริบนั่นเอง

อาการของโรคเป็นอย่างไร อ่านต่อ >>

 

อาการของโรค

ส่วนใหญ่แล้วอาการของโรคนั้น จะคล้าย ๆ กับโรคหวัดค่ะ นั่นคือ คัดจมูก น้ำมูกข้นอาจจะมีสีเหลือง หรือเขียวก็ได้ มีเสมหะในคอ เจ็บและระคายคอ เสียงแหบ ไอ ที่สำคัญชอบไอมากเวลานอน เนื่องจากปกติแล้วน้ำมูกจะไหลลงคอเวลาที่เรานอนราบ สำหรับผู้ป่วยบางรายก็อาจมีอาการปวดศรีษะ ปวดบริเวณดั้งจมูก หน้าผาก หัวคิ้ว โหนกแก้ม ฟันบน หูอื้อ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หรือเลือดกำเดาไหลบ่อย เป็นต้น

นอกจากคุณหมอจะวินิจฉันจากอาการเหล่านี้แล้ว คุณหมอก็จะใช้วิธีการตรวจร่างกาย หากพบว่าลูกหรือผู้ป่วยมีอาการกดแล้วเจ็บบริเวณไซนัส อาการ บวมรอบตา เยื่อบุโพรงจมูกบวม น้ำมูกข้น เหลือง เขียว เมื่อใช้ไม้กดลิ้นดูบริเวณช่องคอ จะเห็นน้ำมูกไหลลงคอ

แต่ในกรณีที่อาการและการตรวจนั้นไม่ชัดเจน คุณหมอก็จะทำการเอ็กซเรย์ไซนัสแทน โดยสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่เด็กที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไปค่ะ หากผลการเอ็กซ์เรย์พบว่า ไซนัสนั้นมีการขาวทึบ หรือเป็นระดับน้ำขังอยู่ในโพรง หรือเยื่อบุโพรงหนาตัวขึ้น นั่นก็แสดงว่าไซนัสอักเสบนั่นเอง

สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หรือไม่?

คำตอบคือ ได้ … ภาวะแทรกซ้อนที่ว่านี้ ก็คือ การติดเชื้อจากโพรงไซนัสลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง ทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อบริเวณใบหน้ารอบเบ้าตา ทำให้หนังตาและหน้าบวมแดง และที่พบได้แต่ไม่บ่อยได้แก่ การติดเชื้อของกระดูกบริเวณใบหนัา การติดเชื้อของเส้นประสาทตา เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง เป็นต้น

ในกรณีที่มีน้ำมูกไหลลงคอนั้น อาจส่งผลทำให้ลูกมีปัญหาเจ็บคอบ่อย หากน้ำมูกตกลงไปบริเวณหลอดลมทำให้มีปัญหาหลอดลมอักเสบหรือมีอาการหอบได้ จึงมักพบว่าเด็กที่มีปัญหาหลอดลมอักเสบหรือหอบบ่อย ๆ อาจเกิดจากการเป็นโรคไซนัสอักเสบซ่อนเร้นอยู่

ลูกเป็นหวัดบ่อย

วิธีการรักษา

การรักษานั้น สามารถทำได้หลายวิธีค่ะ ยกตัวอย่างเช่น

ดังนั้น ต่อไปนี้หากพบว่า ลูกเป็นหวัดบ่อย แนะนำให้ไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจให้แน่ชัดไปเลยจะดีกว่านะคะ ไม่ใช่แค่เพื่อความสบายใจอย่างเดียว แต่จะได้เป็นการช่วยกันหาวิธีการป้องกันไม่ให้อาการของลูกกำเริบขึ้นได้นั่นเอง

ขอบคุณที่มา: Breastfeeding Thai

อ่านต่อเนื้อหาอื่นเพิ่มเติม:

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids