(ต่อ) พ่อเล่าอาการโรคอีสุกอีใสในเด็ก ที่ลูกแพ้รุนแรง
ถัดมาในวันที่ 19 เมษายน คุณพ่อบอกว่าอาการน้องก็ยังเหมือนเดิม มีตุ่มเพิ่มขึ้นมาที่หน้าและขา เป็นแผลที่ปากมีเลือดไหลออกมา ในโพรงจมูกน่าจะมีแผลเพราะตอนคุณแม่เช็ดน้ำมูกให้น้องมีเลือดติดออกมาด้วยและอุจจาระน้องเป็นสีเขียว อีกทั้งยังกินนมไม่ค่อยได้
จากนั้นเวลาผ่านไปไม่นานในวันเดียวกัน คุณหมอก็ได้เข้ามาแจ้งอาการ คือผลตรวจยังออกมาไม่หมด เพราะรายการตรวจเยอะมาก แต่เบื้องต้นหมอบอกว่าเป็น โรค수두 (ซูตู) หรือ อีสุกอีใส แต่น้องแพ้รุนแรง เพราะน้องยังเด็กมาก ซึ่งเป็นอันตรายมาก ทั้งนี้อาการล่าสุดของน้องหลังที่คุณหมอแจ้งโรค ก็ไม่มีไข้แล้ว แต่ตุ่มและแผลตามตัวของน้องยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ น้องหิวนมบ่อยแต่น้องกินนมไม่ได้ เพราะจุกขวดนมแข็ง (น้องมีแผลในปาก)
อย่างไรก็ตามทางทีมแม่ ABK ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้องหายป่วยจากโรคอีสุกอีใสนี้โดยเร็ววัน พร้อมกลับมาแข็งแรงน่ารักสดใส มีพัฒนาการที่ดีสมวัยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจากคุณพ่อ ซับ ซีโร่
ทั้งนี้สำหรับโรค อีสุกอีใสในเด็ก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและหายเองได้ แต่ในบางครั้งอาจพบอาการแทรกซ้อนได้ เช่น ติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ปอดบวม หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งคุณหมอจะพิจารณาข้อบ่งชี้ในการให้ยาเพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ
สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ เด็กที่มีอายุมากกว่า 12 ปี ที่มีผื่นรุนแรง หรือเป็น อีสุกอีใสในเด็ก ที่เล็กมาก หรือตัวเด็กที่มีโรคประจำตัว รวมถึงผู้ที่มีภูมิต้านทานร่างกายต่ำได้ยากดภูมิคุ้มกัน ได้ยาเคมีบำบัด หรือเป็นโรคปอด ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการและภาวะแทรกซ้อน ควรได้รับยาโดยเร็ว เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งโรคอีสุกอีใสติดต่อได้ง่ายมากหากมีอาการน่าสงสัย ควรรีบไปหาคุณหมอทันที
อาการของโรค อีสุกอีใสในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องสังเกตให้ดี
อาการของเด็กที่เป็นโรคอีสุกอีใสจะคล้ายกับเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปาก คือ โรคอีสุกอีใสจะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร รวมถึงปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และมีผื่นขึ้นตามใบหน้า ลำตัวและหลัง ต่างจากโรคมือเท้าปากที่ขึ้นที่มือ เท้า และปากเท่านั้น ซึ่งตุ่มเหล่านี้จะกลายเป็นตุ่มนูนมีน้ำใสๆ คล้ายตุ่มหนอง และจะมีอาการคันร่วมด้วย หลังจากนั้นประมาณ 2-4 วันตุ่มใสๆ ก็จะเริ่มตกสะเก็ด บางคนจะมีแผลในช่องปากและอาการเจ็บคอร่วมด้วย ทำให้ปากและลิ้นเปื่อย โดยทั่วไปตุ่มอีสุกอีใสมักหายกลายเป็นแผลเป็นหลุม โดยเฉพาะถ้าแกะเกาจนติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซิ้น โรคนี้เมื่อหายแล้ว มักจะมีเชื้อหลบอยู่ตามปมประสาท ซึ่งอาจเป็นโรคงูสวัดภายหลังได้
Must read >> สังเกตให้ดี! ลูกขึ้นผื่นเล็กๆ มีตุ่มใสๆ ไม่ใช่ผดร้อน แต่อาจเป็น โรคตุ่มน้ำพอง
Must read >> หน้าฝนมาเยือน เตือนพ่อแม่ระวัง! ไข้ออกผื่น ในเด็ก
การดูแลรักษาโรค อีสุกอีใสในเด็ก
- ถ้าลูกมีไข้สูง ใช้ยาพาราเซตตามอล เพื่อลดไข้ได้ แต่ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้เกิดอาการทางสมอง และตับ ทำให้ผู้ป่วยเด็กถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ควรอาบน้ำและใช้สบู่ หรือสบู่ฆ่าเชื้อฟอกผิวหนังให้สะอาด เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียมาแทรกซ้อน
- ตัดเล็บลูกให้สั้น และหลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาตุ่ม เพราะอาจทำให้ติดเชื้อกลายเป็นหนองได้ ในรายที่มีอาการคันมากอาจให้รับประทานยาพวก คลอเฟนิลามีน ช่วยลดอาการคันลงได้
- ทั้งนี้ก็มียาที่ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส โรคอีสุกอีใส แต่ต้องใช้ขนาดสูงและแพงมาก นอกจากนี้จะต้องเริ่มใช้ภายในวันแรกที่มีอาการ มิฉะนั้นอาจไม่ได้หรือ ได้ผลไม่ดี
บทความแนะนำ เหตุผลที่คุณหมอ ไม่นิยมจ่ายยา “ไอบูโพรเฟน” ให้กับเด็กป่วย โรคสุกใส
แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสแล้ว เนื่องจากสมัยก่อนโรคอีสุกอีใส เป็นโรคที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นกับทุกๆ คน ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต เช่นเดียวกับหัด แต่ก็มีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ซึ่งมีประสิทธิภาพการป้องกันโรคได้มากถึง 90% ที่ คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถพาลูกน้อย ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
โดยวัคซีนเป็นชนิดเชื้อเป็นฉีดเข้าที่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ในผู้ใหญ่และเด็กอายุเกิน 12 ปี ต้องฉีดวัคซีน 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ เนื่องจากวัคซีนเป็นชนิดเชื้อเป็น จึงมีข้อห้ามในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่่า เช่น ผู้ที่รับประทานยากดภูมิต้านทาน ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ยังไม่ได้ รักษา และหญิงมีครรภ์
ส่วนในเด็กที่ไม่มีข้อบ่งห้าม สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 12-15 เดือน ขึ้นไป และฉีดกระตุ้นอีกครั้งที่อายุ 4- 6 ปีหรืออาจฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งภูมิต้านทานจะขึ้นดีกว่าการฉีด 1 เข็ม เมื่อฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มพบว่าร้อยละ 99 ของผู้รับวัคซีนจะเกิดภูมิต้านทานต่อโรค ผู้ที่ได้รับวัคซีนส่วนหนึ่งยังอาจเกิดโรคอีสุกอีใสได้ แต่อาการจะไม่รุนแรง เช่น อาจไม่มีไข้ หรือจ่านวนผื่นน้อยกว่า กลุ่มที่ไม่เคยได้รับวัคซีน
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- เข้าใจให้ถูกเรื่องของ อีสุกอีใส ยาเขียว แก้ได้จริงหรือ
- อีสุกอีใส โรคติดต่อที่ดูไม่น่ากลัว แต่อันตรายถึงชีวิตลูก!
- อีสุกอีใส รักษาได้ด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ภายใน 3 วัน
- วัคซีนสำหรับเด็ก มีวัคซีนพื้นฐานอะไรบ้างที่ต้องฉีด ?
- วิธีสังเกต อาการมือเท้าปาก และ วิธีดูแลรักษาลูกโดยไม่ต้องแอดมิด
ขอบคุณข้อมูลโรคอีสุกอีใสจาก อ.พญ.เลลานี ไพฑูรย์พงษ์ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และ dibukhospital.com , www.phyathai.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่