AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ฉีดแล้วไม่ตาย ถ้าทำตามที่หมอแนะ

มะเร็งปากมดลูก วัคซีนและอาการข้างเคียง

อย่าเพิ่งหวาดกลัวกับการพาลูกไปฉีด วัคซีนมะเร็งปากมดลูก จากข่าวที่เด็กฉีดแล้วเสียชีวิตคุณหมอต่างออกมาแนะวิธีสังเกตอาการหลังฉีด และการเตรียมตัวเพื่อความปลอดภัย

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ฉีดแล้วไม่ตายถ้าทำตามที่หมอแนะ

จากเรื่องราวของคุณพ่อคนหนึ่งแชร์ข้อความร้องเรียนบนหน้าเพจเฟสบุ๊กของตนเอง ใจความว่า

“ขอความเป็นธรรมหน่อยครับ (ฝากเพื่อนๆช่วยแชร์ด้วยครับ ) เหตุการณ์ที่ลูกผมเสียชีวิต เนื่องจากลูกผมไปโรงเรียนแล้วมีไข้ ทางโรงเรียนได้เอาหมอมาฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก โดยที่ทางโรงเรียนไม่ตรวจวัดไข้ ก่อนฉีดวัคซีน ลูกผมเกิดอาการแน่นหน้าอก อาเจียน (แล้วก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา) ลูกผมไม่มีโรคประจำตัว แข็งแรงปกติ ช่วยผมแชร์เยอะๆ หน่อยครับ ขอบคุณมากครับ …. ลูกผมอายุ 11 ขวบ อีกไม่กี่วันก็วันเกิดลูกผมแล้ว ทำใจไม่ได้ครับ ช่วยแชร์กันเยอะๆ หน่อยครับ”

คุณพ่อใจสลายลูกเสียหลังฉีดวัคซีน มะเร็งปากมดลูก
ข้อมูลอ้างอิงจาก FB : Surapot Sukkha

ทาง ทีมแม่ ABK ขอแสดงความเสียใจไว้ ณ โอกาสนี้นะคะ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไป

อย่างไรก็ตาม ข้อสงสัยของทางคุณพ่อของน้องอายุ 11 ปี ที่ได้รับวัคซีนมะเร็งปากมดลูกที่เป็นวัคซีนซึ่งปัจจุบันไทยเรามีการฉีดให้ฟรี กับกลุ่มเด็กที่ศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งจะทำการฉีดกันตามโรงเรียนที่เด็กมีรายชื่ออยู่ ว่าเป็นเพราะไม่มีการวัดไข้ก่อนการได้รับวัคซีนหรือไม่ จึงทำให้เกิดเหตุเศร้าดังกล่าว ซึ่งการวัดไข้ก่อนได้รับการรับวัคซีนนั้นเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับวัคซีนมะเร็งปากมดลูกตัวนี้หรือไม่ และเราควรทำตัวอย่างไรก่อนได้รับวัคซีน หรือต้องทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด โดยมาฟังจากคำแนะนำของคุณหมอกันในเรื่องดีกว่า

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก วัคซีนฟรีเพื่อเด็กไทย

เด็กไทยได้รับวัคซีน มะเร็งปากมดลูก ฟรี

สำหรับผู้ปกครองบางคนที่ยังไม่ทราบว่า ปัจจุบันทางรัฐได้จัดหาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมาให้แก่เด็กไทย โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2560 ทำให้ทางโรงเรียนจะมีการฉีดวัคซีนตัวนี้ให้กับเด็กกลุ่มเป้าหมาย คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นตรวจสอบจดหมายจากทางโรงเรียนว่า จะมีการมาฉีดวัคซีนให้กับลูกในวันไหน เพื่อจะได้ทำการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการรับวัคซีน และควรศึกษาถึงข้อมูลต่าง ๆ ของตัววัคซีนดังกล่าวด้วยว่า ลูกเรานั้นจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรได้รับวัคซีนหรือไม่ อาการข้างเคียงหลังรับการฉีดเป็นอย่างไร ซึ่งวิธีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลูกในเรื่องนี้ไม่จำกัดเฉพาะในวัคซีนมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวัคซีนต่าง ๆ ที่ลูกจะต้องได้รับตามวัยด้วย

สปสช.จับมือกรมควบคุมโรค เร่งจัดหาวัคซีนเอชพีวี 4 แสนโด๊ส เริ่มฉีดกลุ่มเป้าหมาย นร.หญิงชั้น ป.5 ทั่วประเทศใน ก.ค. 60 มุ่งลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งปากมดลูก หลังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 และสาเหตุการป่วยเป็นอันดับ ในหญิงไทย พร้อมกำหนดเป็นสิทธิประโยชน์บัตรทองปี 61นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) โดยความเห็นชอบจากรัฐบาล ได้จัดงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับการจัดหาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีนเอชพีวี (HPV) เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภายหลังเมื่อคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติเห็นชอบและให้บรรจุวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว

ทั้งนี้ มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ในหญิงไทยรองจากมะเร็งเต้านม โดยข้อมูลปี 2553-2555 ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าอุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยอยู่ที่ 14.4 ต่อแสนประชากรหญิง หรือ 6,426 รายต่อปี ทั้งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ ในหญิงไทย สาเหตุเกิดจากเชื้อเอชพีวี หรือ Human Papilloma virus ซึ่งติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณปากมดลูกเรื้อรังและเซลล์บริเวณปากมดลูกเจริญผิดปกติ โดยเฉพาะในสายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทยสูงถึงร้อยละ 70 การให้วัคซีนเอชพีวีในเด็กซึ่งปกติเป็นวัยที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ 

ข้อมูลอ้างอิงจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

วัคซีนไม่ใช่ตัวร้าย อย่าพึ่งตื่นตระหนก

จากข่าว อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่บางคนเกิดความกังวลใจกันไปว่า อย่างนั้นเราไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกให้แก่ลูกหรือไม่ อย่าเพิ่งตื่นตระหนก วิตกเกินกว่าเหตุกันไป อย่างที่ได้ทราบกันดีอยู่แล้วว่า มะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 การได้รับวัคซีนจึงเป็นเรื่องดีที่ช่วยลดอัตราความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ โดยมีข้อมูลของคุณหมอจากทางเพจ เรื่องเล่าจากโรงหมอ ได้กล่าวถึงเจ้าตัววัคซีนมะเร็งปากมดลูกไว้ว่า

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV หลักๆคือชนิด 16 18 ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อชนิดนี้เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกกว่า 70% นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อชนิดนี้เช่นมะเร็งอวัยวะเพศชาย ทวารหนัก ลำคอ และกลุ่มโรคหูดหงอนไก่ต่างๆได้ด้วย การฉีดจะได้ผลดีมาก ในกลุ่มอายุน้อยก่อนมีเพศสัมพันธ์ ทั้งชายและหญิง แนะนำในช่วงอายุ 9-26 ปี แต่เกินนี้ก็ฉีดได้

ดังนั้นวัคซีนจึงมิใช่ผู้ร้าย แต่ในทางกลับกันมันกลับมีวัตถุประสงค์ที่ดีในการช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งทางการแพทย์ได้ทำการทดลอง วิจัยผลการวิจัยได้ยืนยันว่า วัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง เพราะเป็นวัคซีนที่สังเคราะห์ เลียนแบบโครงสร้างของเชื้อเอชพีวี โดยที่ไม่ได้นำส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดของสาย พันธุกรรมของเชื้อไวรัสมาใช้ผลิตวัคซีนเมื่อร่างกายได้รับวัคซีนก็จะสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อเอชพีวี โดยอาการข้างเคียงรุนแรงพบน้อยมาก ผลการวิจัยยังได้แสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนในเด็กหญิงจะมีผลดีในเรื่องของการตอบสนองต่อการสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงกว่าในผู้ใหญ่อีกด้วย

วัดไข้ก่อนฉีดวัคซีน มะเร็งปากมดลูก

หมอแนะ ลดเสี่ยงได้แน่ เพียงแค่สังเกตอาการ

ต่อข้อคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนคาใจ อยากทราบคำตอบเกี่ยวกับว่า สรุปแล้วเราควรฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกดีไหมนั้น คุณหมอได้กล่าวไว้น่าสนใจดังนี้

แต่ทุกเรื่องก็มีเสี่ยงบ้าง และจำเป็นต้องสังเกตอาการหลังฉีด เช่นเดียวกับการให้ยาทุกชนิด
ตัววัคซีนเองถือว่าปลอดภัยมาก ผลข้างเคียงหลังฉีดที่เจอบ่อย คือ เจ็บแขน ไข้ต่ำๆ ปวดหัว คลื่นไส้ เวียนหัว
ที่แพ้มาก แบบ anaphylaxis อันตรายถึงชีวิตมีโอกาสเกิด 3 ใน 1,000,000 (ref CDC)
อัตราการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่น หรือเสียชีวิตจากยาจริงๆก็ต่ำมากๆ

ถ้าหลังฉีดมาอาการเวียนหัว หน้ามืด ใจเต้นแรง สับสนกระวนกระวาย หมดสติ หรือหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก ต้องได้รับการประเมิน และให้การรักษาโดยแพทย์ทันที

การรักษา การใช้ยา และวัคซีนใดในโลกนี้ไม่มีคำว่าปลอดภัยแน่นอน 100% ดังนั้นสิ่งที่เราสามารถทำได้นั่นคือ เราควรรู้ขั้นตอนการปฎิบัติตัว และข้อควรระวังในการใช้เสียก่อน รวมถึงข้อมูลการแพ้ยา และความเจ็บป่วยของลูกก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน จึงจะเป็นการลดความเสี่ยงของอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนได้

ตรวจกระเป๋า ดูจดหมายลูกทุกวัน

พ่อแม่ควรรู้ไว้ ก่อนให้ลูกรับวัคซีนมะเร็งปากมดลูก

  1. เตรียมความพร้อมให้กับร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า พ่อแม่ควรหมั่นตรวจกระเป๋านักเรียนของลูกประจำทุกวัน ว่ามีจดหมายแจ้งใด ๆ จากทางโรงเรียนหรือไม่ เมื่อเราทราบกำหนดการก่อน ก็สามารถเตรียมพร้อมร่างกายลูกได้ ให้เขามีร่างกายแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอก่อนการเข้ารับวัคซีนก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากอาการข้างเคียงไปได้มาก
  2. วัดไข้ก่อนได้รับการฉีดวัคซีน หากมีไข้ไม่ควรรับวัคซีน เพราะร่างกายอ่อนแอเกินกว่าจะต้านอาการข้างเคียงของวัคซีนได้ ดังนั้นในกรณีที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยขณะที่ลูกได้รับวัคซีน คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้เข้าใจถึงสิ่งที่เขาจะได้รับ และเตือนลูกเสมอว่าต้องแจ้งผู้เกี่ยวข้องทันทีหากมีการผิดพลาดในขั้นตอนใดที่ทำให้ลูกไม่ได้รับการวัดไข้ก่อนตรวจ เนื่องจากคนจำนวนมากก็มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ แต่ชีวิตของลูกเราพลาดไม่ได้ จึงควรสอนลูกให้ดูแลตัวเอง ตัวเราจึงควรระวังได้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด
  3. หากมีโรคประจำตัวอะไร หรือแพ้ยาอะไรให้แจ้งให้แพทย์ทราบก่อน หรือคุณพ่อคุณแม่ทำการเขียนจดหมาย หรือบัตรติดกระเป๋าของลูกไว้เสมอ เกี่ยวกับยา หรือโรคประจำตัวใด ๆ ที่เขาเป็น แจ้งให้ลูกทราบเวลาคุณหมอถาม ลูกจะได้นำจดหมายสำคัญนั้นบอกแก่คุณหมอได้ เพราะบางครั้งเด็กก็ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ว่าเขาแพ้ยา หรืออาหารใด ๆ
  4. วางแผนการเข้ามารับยา เนื่องจากการรับวัคซีนชนิดนี้มีระยะเวลากำหนดว่าต้องฉีดเข็มต่อไปเมื่อใด หากต้องเดินทางต่างประเทศในเวลานั้น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ล่วงหน้า หรือถ้าลูกมีร่างกายที่ยังไม่พร้อมรับวัคซีนก็ควรเลื่อนออกไปก่อน อาจจะปรึกษาคุณหมอ และทางโรงเรียนว่าสามารถจัดวันฉีดวัคซีนภายหลังได้หรือไม่ และที่สำคัญอย่าลืมทำเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรให้ลูกถือไปโรงเรียนหากไม่พร้อม เพราะเด็กบางคนไม่กล้าแจ้งกับคุณครูด้วยปากเปล่า

สังเกตอาการหลังได้รับวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ไม่ควรละเลย

ในบางครั้งเมื่อเราเห็นลูกได้รับการฉีดวัคซีนกลับมาแล้วในตอนเย็นหลังเลิกเรียน แม้ไม่มีอาการน่าเป็นห่วงใด ๆ แต่คุณพ่อคุณแม่ควรยังคงสังเกตอาการต่อไปอีกสักระยะ เพื่อความแน่ใจ โดยอาการข้างเคียงที่ไม่พึ่งประสงค์ของวัคซีนตัวนี้มีดังนี้

เหรียญมีสองด้าน ดังนั้นวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ จะให้คุณหรือให้โทษนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ความใส่ใจดูแลต่างหาก ดังนั้นอยากขอเตือนให้คุณพ่อคุณแม่ และทุกภาคส่วนใส่ใจ และเพิ่มความระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก หรือลูกคุณ

ข้อมูลอ้างอิงจาก FB : เรื่องเล่าจากโรงหมอ /รพ.วิชัยยุทธ / รพ.วิภาวดี

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

โรคเสี่ยงลูกป่วย ปี 63 รวมโรคเด็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง

ชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย 5 จังหวัดนี้ คนป่วยเยอะสุด!

อย่าอาย! ตกขาวสีเหลือง เขียว เทาสีไม่ขาวผิดปกติแน่นอน

7 อาการเสี่ยง ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นแล้วมีลูกได้ไหม ท้องยากจริงหรือ?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids