AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ตรวจคัดกรองมะเร็ง ในผู้หญิงควรตรวจเมื่อไหร่?

ตรวจคัดกรองมะเร็ง


ผู้หญิงทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งก็มีมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการ ตรวจคัดกรองมะเร็ง เป็นประจำจึงมีความสำคัญ เรามีคำแนะนำถึงช่วงอายุที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งชนิดต่าง ๆ มาฝากค่ะ

ตรวจคัดกรองมะเร็ง ในผู้หญิงควรตรวจเมื่อไหร่? สำคัญอย่างไร?

ตรวจคัดกรองมะเร็ง สำคัญอย่างไร?

โรคมะเร็งเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราทุกคน ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่น่ากลัวในความคิดของคนส่วนใหญ่ เพราะวิธีการรักษาที่ทรมานและผู้ที่เป็นโรคมะเร็งในหลาย ๆ ชนิดก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ปัจจุบันนี้ มีผู้ที่หายขาดจากโรคมะเร็งได้หลายคน และโรคมะเร็งหลาย ๆ ชนิดก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีผลสำรวจว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลดลง เนื่องจากวิทยาการด้านการรักษาโรคมะเร็งที่ทันสมัย บวกกับความก้าวหน้าของเครื่องมือคัดกรองโรคมะเร็งต่าง ๆ รวมทั้งการตรวจในระดับยีนส์ ทำให้สามารถตรวจพบการก่อตัวที่ผิดปกติของเซลล์เร็วขึ้นก่อนเซลล์จะผิด รูปกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้โอกาสในการรักษามีมากขึ้นตามไปด้วย

มะเร็ง รู้เร็ว รักษาให้หายขาดได้….นี่จึงเป็นความสำคัญของการ ตรวจคัดกรองมะเร็ง ซึ่งการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง คือ มาตรการในการค้นหาโรคมะเร็งระยะแรกเริ่มในผู้ที่ยังไม่มีอาการของโรค โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและความเจ็บป่วยจากโรคมะเร็ง โดยการตรวจคัดกรองสำหรับโรคมะเร็งต่างๆ (Screening for Specific Cancer) เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและมีประโยชน์อย่างมากสำหรับการตรวจ คัดกรองโรคมะเร็งในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง หรือกังวลว่าจะเป็นมะเร็งนั้น นับว่ามีความสำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ ที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรค ในขณะเดียวกัน หากมีการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากการเป็นมะเร็งใน อัตราที่สูงและทำให้คนที่เป็นมะเร็งมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพได้เช่นกัน

องค์กรอนามัยโลกแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มแรกถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการใด ๆ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้การรักษาเป็นไปได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและทันท่วงที

ดังนั้นจึงมีคำแนะนำถึงช่วงอายุที่ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งชนิดต่าง ๆ ดังนี้

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ตรวจคัดกรองมะเร็ง ในผู้หญิงควรตรวจเมื่อไหร่?

มะเร็งปากมดลูก

อ้างอิงจาก : American Cancer Society 2012

Pap Test คือ วิธีการตรวจหาความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะที่ยังไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยที่สูตินรีแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างขยายช่องคลอด จากนั้นจะทำการป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูว่าได้เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นที่ปากมดลูกหรือไม่ หรือว่าได้ตรวจพบเซลล์ผิดปกติชนิดอื่นที่มีแนวโน้มว่าหากละเลยปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยผ่านไปอีกไม่นานอาจจะพัฒนาต่อไปจนก่อให้เกิดมะเร็งที่ปากมดลูกได้ในภายหลังหรือไม่ การตรวจ Pap Test เป็นวิธีที่มีผู้นิยมตรวจกันมากที่สุด เพราะเป็นการตรวจที่ให้ผลที่มีความน่าเชื่อถือสูงและมีประสิทธิภาพที่ดีอย่างหนึ่งในการตรวจหามะเร็ง

บทความที่น่าสนใจ หญิงไทยฟังทางนี้!! ตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมฟรี!!

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ตรวจคัดกรองมะเร็ง ในผู้หญิงควรตรวจเมื่อไหร่?

ตรวจคัดกรองมะเร็ง ในผู้หญิงควรตรวจเมื่อไหร่?

มะเร็งเต้านม

โดยทั่วๆไป ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ควรจะต้องเริ่มมีการตรวจเต้านมตัวเองอยู่สม่ำเสมอ แนะนำให้ตรวจหลังการหมดช่วงมีประจำเดือน และให้พบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมทุก 1-3 ปี (อ่านต่อ 4 วิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง คลำหาง่าย ๆ ด้วยสองมือเรา (มีคลิป))
อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แนะนำเริ่มมีการตรวจแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปี และยังต้องมีการตรวจด้วยตัวเองต่อไปอย่างสม่ำเสมอเช่นเดิม
การตรวจแมมโมแกรม คือ การตรวจภาพเนื้อเยื่อภายในเต้านมด้วยรังสีเอกซ์ (เอกซเรย์) ด้วยเครื่องเอกซเรย์พิเศษเฉพาะการตรวจเต้านมที่เรียกว่า “แมมโมแกรม” ซึ่งใช้หลักการเดียวกับการฉายเอกซเรย์ตรวจปอดหรือตรวจอวัยวะอื่น ๆ เพียงแต่ว่าจะเจาะจงเฉพาะเนื้อเยื่อของเต้านมแท้ ๆ โดยไม่ผ่านอวัยวะอื่นใดเลย และเครื่องนี้จะใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป 30-60% แต่มีความสามารถในการตรวจที่ละเอียดกว่ามากในระดับที่สามารถเห็นเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ แม้จะเป็นก้อนหินปูนเล็ก ๆ หรือจะเป็นเพียงจุดขนาดเล็กก็ตาม
มะเร็งเต้านม
แต่ถ้าเป็นผู้หญิงที่มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป เช่น เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน เคยตรวจเจอเนื้อเต้านมชนิด LCIS เคยฉายแสงก่อนอายุ 30 ปี บริเวณหน้าอก มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือเป็นมะเร็งทางพันธุกรรมเต้านม รังไข่ อาจต้องเริ่มตรวจแมมโมแกรมที่อายุ 30 พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทุก 6-12 เดือน หรือตรวจแมมโมแกรมอาจไม่พอ บางรายอาจต้องตรวจ MRI หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมด้วย
อ้างอิง : NCCN 2013

มะเร็งลำไส้ใหญ่

อ้างอิง : NCCN 2013

การตรวจหาโรคมะเร็งทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้มีสัญญาเตือนว่าอาจเป็นโรคมะเร็งนั้น อาจฟังดูน่ากลัว กลัวว่าถ้าตรวจแล้วจะเจอโรค แต่หากตรวจแล้วเจอ ยอมรับ และทำการรักษาได้เร็ว ก็จะเป็นการตัดโอกาสไม่ให้เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในร่างกายของเราได้เลย

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

10 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก

ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรี!

8 เรื่องเข้าใจผิด “โรคมะเร็งเต้านม” ผู้ชายก็เป็นได้

19 สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง ที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลกรุงเทพ, medthai.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids