AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อุทาหรณ์! ลูกยัดถ่านเข้าจมูก คีบไม่ออกจนถ่านเข้าไปในท้อง

ลูกยัดถ่านเข้าจมูก

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกวินาที แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผู้ใหญ่คาดไม่ถึง แต่กลับเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็ก ดังเช่นอุทาหรณ์ ลูกยัดถ่านเข้าจมูก คีบไม่ออกจนต้องผ่าตัดเอาออกมา

อุทาหรณ์! ลูกยัดถ่านเข้าจมูก คีบไม่ออกจนถ่านเข้าไปในท้อง

ทีมงาน Amarin Baby & Kids ได้อ่านเรื่องราวของคุณแม่ Wassana Onchiab ที่ได้เล่าเรื่องราวเมื่อ “น้องมีณ” ได้นำถ่านของเล่นใส่เข้าไปในจมูก คุณแม่ได้เล่าถึงขั้นตอนการนำถ่านออกจากจมูก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลยในการนำถ่านออก เนื่องจากน้องยังเล็ก และถ่านก็เป็นถ่านกระดุมซึ่งคีบออกยาก จนสุดท้ายถ่านของเล่นนี้ก็ได้ตกลงไปในท้องของน้อง แพทย์จึงลงความเห็นว่าจะต้องผ่าตัดนำถ่านออกมา อ่านเรื่องราวของคุณแม่ได้ที่นี่

*****ฝากไว้เป็นบทเรียนค่ะ ว่าสิ่งที่เราบอกและสอนลูกเสมอ และแล้วก็เกิดขึ้นจนได้ค่ะ*****

จากเหตุฉุกเฉินที่น้องมีณนำแบตรี่ของเล่นใส่จมูก ในอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 62 เวลาประมาณ 15.20น. – 15.30น. เราไม่สามารถนำเอาออกเองได้ เลยไปที่รพ.หางดง พยาบาลห่อตัวน้องเพื่อจะคีบออก ผ่านไป10-20นาทีไม่ออก ใช้เวลาอยู่รพ.หางดง 1 ชั่งโมงกว่าก็เอาออกไม่ได้ รพ.หางดงเลยจะส่งตัวไปที่รพ.ณครพิงค์ แต่เราเลือกที่ใกล้ เลยไปที่รพ.สวนดอก ถึงรพ.ยื่นหนังสือมอบส่งซักพักใหญ่ถึงได้ใช้เครื่องมือคีบเพื่อนำแบตรี่ออกอีกครัง มีณโดนยืดโดยพยาบาล 4 คน แต่ก็ไม่ออกแถมเข้าไปลึกกว่าเดิมอีก หลายชั่วโมงก็ไม่สามารถนำออกมาได้ คุณหมอเลยแนะนำให้ผ่าตัดโดยการส่องกล่องแล้วคีบออกมาและวางยาสลบ เมื่อถึงเวลาที่วางสลบคุณให้คุณแม่เข้าห้องผ่าตัดด้วย เพราะน้องร้อง คุณแม่ ช่วยจับสายตัวแปะอะ 3 จุดที่หน้าอก และซี่โครงข้างซ้าย และ ครอบจมูกให้น้องเพื่อวางยาสลบ ชั่วพริบตาน้องมีณก็หลับไปค่ะ ออกมาจากห้องผ่าตัดก็ร้องโห่ๆๆ เลยค่ะ..เครียดมากตอนนั้น..นั่งรอนอกห้องคนเดียว 2 ชั่วโมงกว่าแล้ว น้องไม่ออกมาซะที…เมื่อลุงกับป้ามาเลยตัดสินใจถามว่าทำไมน้องยังไม่ออกมา คุณหมอบอกว่าแบตเตอรี่ลงไปในท้องน้องแล้วเรากำลังช่วยกันเอาออกค่ะ รอเกือบชั่วโมงหลังจากถามไป เขาพยาบาลก็มาตามให้คุณแม่ไปอยู่กับน้อง น้องปลอดภัยแล้ว รอพักฟื้นยาสลบ 1 ชั่วโมงค่ะ หลังจากนั้นก็นำตัวน้องไปพักที่ห้องคนไข้ค่ะ…เวลาออกห้องผ่าตัด 22.20 น.

“”ปล.ถ้าเล่าละเอียดจะยาวกว่านี้ค่ะ””
วันนี้น้องได้กลับบ้านแล้ว อาการดี รับประทานอาหารได้ดี ไม่อ้วก ไม่ปวดท้อง หายใจคล่องดีค่ะ

ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่เป็นกำลังใจคุณพ่อ แม่ และห่วงน้องมีณนะค่ะ

จากใจคุณแม่น้องมีณ…^^

**********ไม่ดราม่านะค่ะ*************

ขอบคุณที่แชร์โพสต์นี้เพื่อจะได้ไว้คอยระวังลูก ๆ หลาน ๆ ของทุกๆท่านนะค่ะ

**********ไม่ดร่าม่านะค่ะ*************

จะเห็นได้ว่าถ่านของเล่นก้อนเล็ก ๆ ก้อนเดียว การที่ ลูกยัดถ่านเข้าจมูก นั้นกลับใช้เวลาและต้องใช้เครื่องมือและบุคคลากรหลาย ๆ คนในการนำถ่านออก โดยเฉพาะสิ่งของที่ลูกนำเข้าจมูกเป็นถ่านเช่นนี้ เพราะการที่มีถ่านอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน สามารถทำลายเนื้อเยื่อให้ไหม้จนอวัยวะทะลุได้ง่าย ๆ เลยทีเดียว อ่านต่อ ถ่านกระดุมสุดอันตราย ทำลายเนื้อเยื่อจนอวัยวะทะลุ ได้ที่หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ จะเกิดอะไรกับร่างกายของลูกเมื่อ ลูกยัดถ่านเข้าจมูก?

จะเกิดอะไรกับร่างกายของลูกเมื่อ ลูกยัดถ่านเข้าจมูก?

ถ่านของเล่น โดยเฉพาะถ่านกระดุมนั้นถูกวางไว้รอบบ้านของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว สงสัยใช่ไหมคะว่าคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ได้วางถ่านกระดุมไว้ในบ้านนี่หน่า ทำไมถึงบอกว่าถ่านถูกวางไว้รอบบ้านอย่างนี้ จริง ๆ คุณพ่อคุณแม่ใส่ถ่านเหล่านี้ไว้ในของเล่นของใช้ที่ถูกวางไว้รอบบ้านต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นถ่านที่อยู่ในของเล่น เครื่องวัดไข้ลูก เครื่องคิดเลข รีโมทเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ การ์ดวันเกิดที่มีเสียงเพลง เครื่องชั่งน้ำหนัก กล้องถ่ายรูป เป็นต้น เห็นไหมคะว่าบางทีข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เราวางไว้รอบ ๆ บ้าน เด็ก ๆ สามารถแกะสิ่งของเหล่านี้ออกมาเพื่อเอาถ่านมาอมเล่นได้ง่าย ๆ เลยค่ะ และทีมงานมีคลิปที่ CHOICE Australia ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นว่าถ่านก้อนเล็ก ๆ 1 ก้อน สามารถทำอะไรกับเนื่อเยื้อในร่างกายของลูกได้บ้าง

ขอบคุณคลิปจาก : CHOICE Australia

โดยในคลิปได้ทดลองนำถ่านกระดุมใส่เข้าไปในเนื้อหมู และปล่อยทิ้งไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่าถ่านสามารถทำลายเนื้อเยื่อได้มากแค่ไหน

เห็นอย่างนี้แล้วอย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้และของเล่นที่อยู่ในบ้านว่าฝาที่ปิดถ่านเหล่านี้ อยู่ในสภาพดี ไม่หลุดออกมาได้ง่าย ๆ และวางอุปกรณ์เหล่านี้ไว้ให้ไกลจากมือลูกจะปลอดภัยที่สุดค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

แนะ ขั้นตอนการทำ CPR พ่อแม่ทำได้…ช่วยชีวิตลูกทัน!

จัดบ้านปลอดภัย ป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเสียชีวิต

รวม “การปฐมพยาบาลเบื้องต้น” ให้ลูกน้อยที่ถูกต้อง…ที่พ่อแม่ควรรู้!

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณแม่ Wassana Onchiab

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids