AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

5 วิธีการ ปฐมพยาบาล ลูกกระดูกหัก

จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกกระดูกหัก หรือไม่ อ่านต่อพร้อมวิธีการ ปฐมพยาบาล ลูกกระดูกหัก ที่พ่อแม่ต้องรู้ เผื่อเหตุฉุกเฉินจะได้รับมือได้ทัน

 

 

ลูกกระดูกหัก เรื่องใหญ่แน่หาก ปฐมพยาบาล ลูกกระดูกหัก ไม่เป็น … โดยเฉพาะเจ้าตัวเล็กที่น่ารักและกำลังอยู่ในวัยซนของคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กผู้ชาย เดี๋ยวกระโดด เดี๋ยวกลิ้ง ตีลังกา ไม่รู้ว่าจะพลาดตอนไหน แล้วถ้าหากพลาดขึ้นมาจริง ๆ จะมีวิธีการสังเกตอาการอย่างไร วันนี้เราจะไปหาคำตอบนั้นพร้อม ๆ กันค่ะ แต่ก่อนที่เราจะไปดูกันนั้น ทราบหรือยังว่า กระดูกหัก นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดด้วยกันดังนี้

นอกจากนี้ กระดูกหักนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกหลายประเภทค่ะ โดยจะแบ่งตามประเภทของการเกิด ดังนี้

จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกกระดูกหัก

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีอยู่ในวัยทารก หรือเป็นเด็กเล็ก แล้วลูกได้รับอุบัติเหตุนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้ค่ะ

5 วิธีการ ปฐมพยาบาล ลูกกระดูกหัก

หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่พบว่า ลูกกระดูกหัก แน่นอนแล้วนั้น ให้คุณพ่อคุณแม่ทำการ ปฐมพยาบาล ลูกกระดูกหัก ในเบื้องต้น ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. ให้รีบหาผ้าสะอาดห่อน้ำแข็ง และประคบบริเวณที่คาดว่ากระดูกหัก รวมถึงให้คุณพ่อคุณแม่ยกบริเวณดังกล่าวให้สูงขึ้น เพื่อลดอาการปวดและบวม ยกเว้นในกรณีที่ลูกเป็นเด็กทารก ไม่ควรประคบน้ำแข็งเด็ดขาด เพราะความเย็นจากน้ำแข็งอาจทำลายผิวหนังของลูกได้ค่ะ
  2. ให้คุณพ่อคุณแม่ถอดเสื้อผ้าลูก หรืออาจจะใช้กรรไกรตัดบริเวณที่คาดว่ากระดูกลูกหักแน่นอนแล้วออก อย่าถอดออกด้วยวิธีปกติโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น
  3. หากพบว่าลูกกระดูกหักบริเวณแขนหรือขา ให้คุณพ่อคุณแม่รีบหาวัสดุที่แข็งแรง เช่น ไม้ กระดาษ หรือหนังสือพิมพ์ม้วน แล้วให้กะขนาดความยาวเกินกว่าบริเวณที่ลูกได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย หลังจากนั้น ใช้ผ้าพันโดยรอบ แต่ต้องระวังอย่าให้แน่นจนเกินไปนะคะ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดการเคลื่อนไหว และบรรเทาอาการปวดนั่นเอง
  4. ไม่ควรเคลื่อนย้ายเด็กที่ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณศีรษะ คอ และหลัง หรือบริเวณที่กระดูกหักจนทะลุออกมาจากผิวหนัง โดยพลการ หากลูกมีบาดแผลให้ใช้ผ้าสะอาดห้ามเลือด และอย่าขยับกระดูกเข้าที่เองเด็ดขาดค่ะ เพราะอาจจะทำให้ลูกได้รับอันตรายเพิ่มมากขึ้น
  5. งดการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือยาทุกชนิด จนกว่าจะได้พบแพทย์ หลังจากนั้นให้รีบนำลูกส่งโรงพยาบาลทันที

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่า ถ้าหากลูกกระดูกหัก จริงต้องใช้ระยะเวลาเท่าไร ถึงจะหายละก็ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ กระดูกของเด็กนั้นสามารถเชื่อมต่อได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเยื่อหุ้มกระดูกของเด็กมีความหนาแน่นและทนทานกว่า รวมทั้งยังสร้างกระดูกได้ดีกว่า โดยทั่วไปแล้วเวลาที่ลูกกระดูกหักนั้น เยื่อหุ้มกระดูกบริเวณที่หักจะไม่ได้ขาดกันทั้งหมด ทำให้กระดูกไม่หลุดออกจากกัน ยิ่งลูกมีอายุน้อยมากเท่าไร กระดูกที่หักก็จะเชื่อมติดต่อกันไวมากขึ้นเท่านั้นค่ะ แต่ระหว่างนั้น ลูกก็อาจจะมีแค่ความรำคาญกับเฝือกที่ดามอยู่และงอแงมากขึ้นเท่านั้นเอง

ขอบคุณที่มา: Pobpad และ Haijai

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids