AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เต้านมอักเสบ หลังคลอดลูก อาการ และการรักษา

Credit Photo : Shutterstock

เต้านมอักเสบ หลังคลอดลูก แม่ที่ให้นมลูกอาจต้องเจอกับภาวะเต้านมเป็นฝีจนอักเสบ ซึ่งในคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่อยากจะให้เกิดขึ้นกับตัวเองกันสักเท่าไหร่ เพราะเวลาที่เต้านมเป็นฝีอักเสบ  มีทั้งความเจ็บและความทรมาน ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีวิธีดูแลรักษาเมื่อเกิด ฝีเต้านมอักเสบหลังคลอดลูก มาฝากกันค่ะ

 

เต้านมอักเสบ หลังคลอดลูก เกิดจากสาเหตุใด?

ในช่วงตั้งแต่ลูกแรกคลอดที่คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ในช่วงแรกๆ อาจจะยังไม่มีปัญหาใดๆ ในการให้นม แต่พอให้นมลูกไปได้สัก 2-3 สัปดาห์หลังคลอด ในคุณแม่บางรายอาจพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนของเต้านม ที่เรียกว่า เต้านมอักเสบ เนื่องจากน้ำนมระบายไม่ทันจนส่งผลให้ท่อน้ำนมอุดตัน น้ำนมที่ยังค้างอยู่ในเต้านมเป็นเวลานาน เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่เต้านมทางหัวนมแม่ และตรงบริเวณลานหัวนมที่แตก จะส่งผลให้เกิดการอักเสบติดเชื้อขึ้นได้  ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะกลายเป็นฝีหนองตามมาในที่สุดค่ะ

 

อ่านต่อ >> “ฝีเต้านม หลังคลอด อาการเป็นอย่างไร?” หน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ภาวะฝีที่เต้านมอักเสบ  มีอาการอย่างไร?

คุณแม่ที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเกิดท่อน้ำนมอุดตัน อาจเข้าใจดีว่าเจ็บปวด ทรมานมากแค่ไหน แต่ภาวะฝีที่เต้านม จะเพิ่มทวีความเจ็บปวดมากขึ้นอีกเท่าตัว นั่นเพราะมีหัวหนองอยู่ด้านใน ซึ่งคุณแม่ที่เป็นฝีเต้านม จะมีอาการให้สังเกต ดังนี้

  1. เต้านมบวมแดง ร้อน และเจ็บปวดมาก
  2. คลำได้ก้อน กดเจ็บมากบริเวณก้อน
  3. มีไข้หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีคลื่นไส้อาเจียนได้
  4. ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมข้างที่เป็นฝีจะโตและเจ็บร่วมด้วย

Must Read >>  เต้านมคัด ปวดมาก แก้ไขอย่างไรดี?

Must Read >> ทำอย่างไรดี ? ท่อน้ำนมอุดตันเพราะ “ไวท์ดอท (white dot)” !!

 

อ่านต่อ >> “ฝีเต้านม ไม่อยากผ่า ต้องดูแลบรรเทาอาการ” หน้า 3

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ภาวะฝีเต้านมอักเสบ กับข้อแนะนำในการปฏิบัติตนหลังพบแพทย์

 

Credit Photo : Shutterstock

สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกแล้วเกิดเป็นฝีที่เต้านม สามารถดูแลรักษาบรรเทาอาการได้ที่บ้านต่อได้ด้วยตนเอง หลังจากพบคุณหมอเพื่อตรวจดูอาการแล้ว  ซึ่งทางผู้เขียนได้มีคำแนะนำจาก คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์1 มาให้ได้ปฏิบัติกันตามนี้ค่ะ

  1. ประคบเต้านมด้วยความร้อนก่อนและระหว่างให้นมเพื่อลดอาการปวดและช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น
  2. ประคบเต้านมด้วยความเย็นหลังลูกดูดนมหรือหลังปั๊มน้านมออกหมดแล้ว เพื่อลดอาการปวดและลดบวมของเต้านม
  3. ถ้าปวดมากกินยาแก้ปวดได้ เช่น พาราเซตามอล
  4. ไม่ควรหยุดให้นมลูก หากเจ็บมากจนไม่สามารถให้ลูกดูดนมข้างนั้นได้ ให้ปั๊มน้ำนมออกเพื่อช่วยระบายน้ำนมออกไปจากต่อมน้ำนม และให้ลูกดูดนมข้างที่ไม่อักเสบ
  5. พักผ่อนให้เต็มที่ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารให้เพียงพอ1

 

การดูแลรักษาเบื้องต้นจากภาวะฝีที่เต้านม  หากอาการบรรเทาลง คุณหมอก็จะไม่แนะนำให้ผ่าเอาหนองออก เพราะมีโอกาสติดเชื้อและเต้านมกลับมาอักเสบได้ แต่อีกหนึ่งวิธีสำหรับการรักษาที่ดีสำหรับฝีที่เต้านมในกรณีที่เป็นมาก คือ การใช้เข็มจิ้มดูดเอาหนองออก ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องอยู่ในการดูแลรักษาจากคุณหมอเท่านั้น คุณแม่ไม่ควรทำเองที่บ้านนะคะ เพราะอาจไม่สะอาด และไม่ปลอดเชื้อค่ะ

 

บทความแนะนำ คลิก >> เต้านมอักเสบ ความทรมานที่คนเป็นแม่ไม่อยากเจอ

 

สำหรับฝีที่เต้านมอักเสบ หากคุณแม่ที่ให้นมลูกไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง แนะนำว่าให้ลูกดูดนมแม่ทุก 1-2 ชั่วโมง ไม่ควรปล่อยน้ำนมค้างในเต้านม หากลูกดูดออกไม่หมด คุณแม่ควรปั๊บน้ำนมออกจากเต้า เพื่อให้น้ำนมชุดใหม่ผลิตออกมาได้ทัน และไม่ชนกับน้ำนมชุดก่อนหน้าที่ผลิตออกมา ทั้งนี้ก็เพื่อลดการเกิดท่อน้ำนมอุดตัน ที่อาจทำให้เกิดภาวะเต้านมคัดจนอักเสบนั่นเองค่ะ และแนะนำว่าหากคุณแม่เริ่มมีอาการเต้านมอักเสบไม่ควรปล่อยอาการไว้ ควรรีบไปพบคุณหมอ หรือขอคำปรึกษาได้ที่คลินิกนมตามโรงพยาบาลต่างๆ ใกล้บ้านที่มีให้บริการเรื่องนมแม่  …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

เต้านมเล็ก ทำให้น้ำนมน้อย จริงหรือ?
มะเร็งเต้านมคร่าชีวิต!! รู้ก่อน หายก่อน
ลดเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีง่ายๆ

 

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. ภาวะเต้านมเป็นฝี. www.bumrungrad.com