AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อุทาหรณ์ ดัดขาลูก จนหัก เพราะเข้าใจว่าขาโก่ง

Credit Photo : Drama-addict

ดัดขาลูก จนหัก เพราะเข้าใจว่าขาโก่ง เรื่องการดัดขาทารก เพราะเข้าใจว่าขาโก่ง ดัดแล้วขาเด็กจะได้ทรงสวย เป็นเรื่องที่ยังพบว่าเกิดขึ้นได้อยู่ในปัจจุบันนี้ แต่รู้หรือไม่คะว่า ผลพวงจากการดัดขาเด็กที่ผิดๆ อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อกระดูกอ่อนๆ ของเด็กทารกให้เสียหายแตกหักได้ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลในเรื่องนี้มาให้ได้ทราบกันค่ะ

 

ดัดขาลูก จนหัก เพราะเข้าใจว่าขาโก่ง

จากเพจ Drama-addict ได้มีการแชร์ถึงอุทาหรณ์ ดัดขาลูก จนหัก เพราะเข้าใจว่าขาโก่ง ซึ่งเป็นความเชื่อของผู้หลัก ผู้ใหญ่ที่มีมานาน เมื่อมีลูกหลานแรกคลอดวัยทารก ก็อยากให้ขาสวยได้รูปทรงตรง จึงมักจะจัดการดัดขาให้เด็กตั้งแต่แบเบาะ แต่ด้วยเคสนี้ดัดขาจนเด็กต้องใส่เผือกขาทั้งสองข้างเลยค่ะ

 

บทความแนะนำ คลิก >> ระวัง! ลูกกระดูกหัก ไม่รู้ตัว สังเกตสัญญาณ ขาโก่ง-บวม-ไม่ขยับ

 

Credit Photo : Drama-addict

“สวัสดีวันนี้มีเรื่องการเลี้ยงผิดๆ มาฝากเตือนนะ!! เด็กในภาพนี้คือเด็กในหมู่บ้านเดียวกับเรา ภาพที่คุณเห็นอยู่นี้คือ เด็กคนนี้โดนดัดหลังเท้า หรือโดนดัดขานี่เอง
ขนาดว่าดัดเบานะคะ เหตุเพราคิดว่าลูกขาโก่ง ขาจะผิดรูป ผลสุดท้ายเป็นยังไง? ลูกตัวเองต้องใส่เผือก เพราะเลี้ยงแบบผิดๆ อยากให้เป็นอุทาหรณ์นะคะ บ้านไหนที่กำลังดัด หรือโดนผู้ใหญ่บังคับเอาให้เขาดูนะคะก่อนที่เด็กจะเป็นแบบนี้ เด็กบางคนดัดแล้วอาจไม่โชคดีเหมือนลูกคุณ มีออกมาให้เตือนกันบ่อยๆ และไม่ควรทำ”

อ่านต่อ 6 วิธีสังเกตว่าลูกขาโก่งหรือไม่ หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

6 ข้อควรรู้ดูอย่างไรว่าลูกขาโก่งหรือไม่?

ภาวะโก่งแบบปกติ สามารถพบได้ในเด็กแรกเกิดทุกคน แต่เมื่อลูกค่อยๆ เติบโตขึ้น พัฒนาการการเติบโตของกระดูกจะดูตรงมากขึ้นเมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบค่ะ ดังนั้นเพื่อให้ทราบว่าลูกมีปัญหาขาโก่งหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ดังนี้…

Credit Photo : ไทยรัฐ ออนไลน์
  1. เมื่อยืนปลายเท้าชี้ออกด้านนอก งอเข่าเล็กน้อย จะดูเหมือนขาโก่งโค้งออกด้านนอก
  2. ถ้ายืนหันปลายเท้าเข้าด้านใน งอเข่าเล็กน้อยจะเหมือนขาโก่งเข้าด้านใน
  3. เพราะเด็กช่วงวัย 1-2 ปี เป็นช่วงหัดเดิน การทรงตัวยังไม่มั่นคง เด็กจะเดินขาถ่างบ้าง เข่างอเล็กน้อย และกางแขนเป็นบางครั้งเพื่อช่วยในการทรงตัว ซึ่งเป็นท่าเดินมาตรฐานในเด็กวัยนี้
  4. เวลาดูว่ากระดูกขาโก่งหรือไม่แบบง่ายๆ ต้องเหยียดเข่าให้ตรงสุด หันลูกสะบ้าตรงมาด้านหน้า นำข้อเท้ามาชิดกัน โดยช่องว่างระหว่างขอบด้านในของเข่าไม่ควรห่างเกิน 2 นิ้วของคุณพ่อคุณแม่
  5. สังเกตลูกในวัยเดิน ให้คุณแม่สังเกตการเดินของลูก ว่าเดินได้สะดวกดีไหม กระเผลก หรือว่ามีอาการเท้าปุกร่วมด้วยหรือเปล่า ถ้าคุณแม่สังเกตพบความผิดปกติดังที่กล่าวมาให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด
  6. หรืออย่างช้าควรตรงก่อนอายุ 3 ปี หรือถ้านำข้อเท้ามาชิดกันแล้ว แต่เข่าลูกซ้อนกันหรือเกยกัน ก็ควรพาลูกมาตรวจกับแพทย์ด้วยเช่นกัน

 

บทความแนะนำ คลิก >> ขาโก่งเข้า (Knock knee) อันตรายแค่ไหน

หลักการสังเกตว่าลูกมีปัญหาขาโก่งหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่ลองเช็กได้จาก 6 ข้อบ่งชี้นี้ได้ด้วยตัวเองค่ะ และเมื่อพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นไม่ว่าจะมากหรือน้อย ให้รีบปรึกษากุมารแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อจะได้ตรวจวินัจฉัย และให้การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมค่ะ

อ่านต่อ ลูกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ทำให้ขาโก่งจริงหรือ หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ถ้าให้ลูกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป จะส่งผลทำให้มีปัญหาขาโก่งได้หรือเปล่า?

ผ้าอ้อมสำเร็จรูปไม่ได้ทำให้ขาโก่ง แต่ทำให้มีอุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้น หากลูกถ่ายอุจจาระออก มาแล้วไม่ได้ล้างทันที หรือล้างทันที แต่ไม่สะอาด ยังเหลือเศษอุจจาระตกค้าง จะมีเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในเศษอุจจาระเข้าไป ฝึกลูกน้อยวัยขวบเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปตามท่อปัสสาวะ แบ่งตัวเพิ่มจำนวนจนเกิดปัญหาติดเชื้อตามมา

ผ้าอ้อมสำเร็จรูปทำให้เกิดผิวหนังอักเสบบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม อาจมีอาการแพ้ เป็นผื่นแดง คัน เพราะแพ้สารดูดซับความชื้น  หรือความอับชื้นทำให้เกิดเชื้อรา วิธีแก้ไข คืออย่าใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปตลอดเวลา ควรเปลี่ยนเป็นผ้าอ้อมผ้าหรือให้เปิดโล่ง บริเวณดังกล่าวเป็นบางขณะ

ผ้าอ้อมสำเร็จรูปทำให้เด็กฝึกขับถ่ายได้ช้าลงเพราะรู้สึกแห้งสบายตลอดเวลา ไม่เดือดร้อน ต่างจากเด็กที่ไม่ได้ใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เวลาเลอะเทอะเขาจะรู้สึกรำคาญและต้องการบอกให้ผู้ใหญ่รู้ก่อนที่จะปล่อยออกมา

ผ้าอ้อมสำเร็จรูปมีส่วนที่ทำจากวัสดุพลาสติก ย่อยสลายยาก มีคนกล่าวว่าต้องใช้เวลาถึง 500 ปีจึงจะสลายตัวได้หมด เป็นสาเหตุที่ทำให้โลกร้อน ของเสียที่อยู่ในผ้าอ้อม เมื่อถูกทิ้งไว้ในขยะทั่วไป แทนที่จะลงไปอยู่ในที่บำบัดของเสียปฏิกูล จะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรคออกสู่สิ่งแวดล้อม

 

บทความแนะนำ คลิก >> อุทาหรณ์! หมอเตือนดัดขาลูกจนขาหัก

ร่างกายของทารกแรกเกิดเป็นช่วงที่ยังไม่มีความแข็งแรง ทั้งกระดูก ข้อต่อ ข้อเอ็น ฯลฯ ไม่เหมาะที่จะดัด ดึง หรือทำอะไรแรงๆ ทั้งนั้นค่ะ โดยเฉพาะการดัดขาทารกที่เชื่อกันว่าจะช่วยให้หายขาโก่ง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อโครงสร้างกระดูกที่ยังอ่อนๆ ของลูก ดังนั้นทางที่ดีที่สุด หากสงสัยว่าลูกจะขาโก่งหรือไม่ขาโก่ง ขอให้ปรึกษากับกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่ามาสังเกต และแก้ไขกันเองด้วยการดัดขาให้ลูกค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

 อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

แม่กุ๊บกิ๊บเผย! อุ้มลูกเข้าเอว ขาโก่ง ความเชื่อโบราณผิดๆ
ไขข้อข้องใจ ลูกทารก “ขาโก่ง” ผิดปกติไหม?


ขอขอบคุณข้อมูล
เพจ Drama-addict
ขอขอบคุณข้อมูลบทความจาก
แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด นิตยสาร Amarin Baby & Kids