AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกโดน “เห็บกัด” อย่าชะล่าใจ อาจติดเชื้อจากโรคลายม์

เห็บกัด

บ้านที่มีสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นหมา แมว มักจะมีปัญหาเห็บหมัดมารังควาญใจ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กด้วย ยิ่งต้องระวังไม่ให้ลูกโดน เห็บกัด เพราะเห็บนำพาเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อลูกได้

ลูกโดน “เห็บกัด” อย่าชะล่าใจ อาจติดเชื้อจากโรคลายม์

โรคลายม์ คืออะไร?

โรคลายมเ์ป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Borrelia spp. ติดต่อโดยการแพร่เชื้อผ่านเห็บ อาการของโรคแตกต่างกันไป โดยมีอาการต่อไปนี้

โรคนี้พบได้ทั่วโลก แต่พบได้น้อยในประเทศไทย โดยล่าสุดได้มีหญิงคนหนึ่งได้ติดเชื้อโรคลายม์นี้หลังจากไปเที่ยวตุรกี หลังจากกลับเข้าประเทศ ก็ป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการหนัก แพทย์ได้ช่วยกันรักษา ใช้เวลาอยู่ในโรงพยาบาลนาน 2 เดือน หลังจากนั้นอีก 5 เดือนก็กลับไปทำงานปกติ แต่ความทรงจำบางส่วนหายไป และแพทย์ได้ตรวจพบว่าติดเชื้อโรคดังกล่าว

โรคลายม์

โรคลายม์ติดต่อกันได้อย่างไร?

แม้ว่าอัตราการติดต่อโรคในประเทศไทยนั้นมีต่ำมาก และลักษณะการติดต่อของโรคลายม์นั้น เป็นการติดจากสัตว์ไปสู่คน กล่าวคือติดต่อผ่านทางเห็บที่คน ไม่ติดต่อจากคนไปสู่คน ซึ่งการที่คนคนหนึ่งจะติดเชื้อชนิดนี้ จะต้องมาจากคนคนนั้นไปคลุกคลีกับสัตว์ที่มีเห็บ หรือเดินทางไปตามพื้นที่ที่มีเห็บอาศัยอยู่ จึงทำให้พบผู้ป่วยโรคลายม์ในไทยไม่กี่คน  แต่เคยมีรายงานอยู่รายงานหนึ่งระบุว่า พบสุนัขในประเทศไทยตัวหนึ่งติดเชื้อแบคทีเรียโบเรลเลีย คุณพ่อคุณแม่จึงไม่สามารถไว้ใจได้ว่าเห็บที่อาจจะมากัดลูกนั้น เป็นเห็บที่มีเชื้อแบคทีเรียโลเรลเลีย หรือไม่? ดังนั้นจึงควรรักษาความสะอาดของสัตว์เลี้ยง หากเป็นไปได้ ควรแยกที่อยู่ของสัตว์เลี้ยงและเด็กเล็กให้ชัดเจน เพื่อป้องกันโอกาสที่จะทำให้ลูกโดน เห็บกัด ได้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ เห็บนำโรคอะไรมาสู่คนบ้าง? และ โดน เห็บกัด จะเป็นอย่างไร?

เห็บนำโรคอะไรมาสู่คนบ้าง?

เห็บ เป็นปรสิตที่ใช้ปากกัดแล้วดูดเลือดสัตว์และมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งถูกพบมากกว่า 800 สายพันธุ์ทั่วโลก ซึ่งบางชนิดเป็นพาหะนำโรคได้ เช่น โรคไทฟัส โรคไข้ กลับซ้ำ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น เห็บกินเลือดของสัตว์พวกสัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอาหาร คนก็เป็นเหยื่อ

นอกจากนี้ เห็บบางชนิดอาจเป็นพาหะแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่อาจก่อให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ผ่านทางน้ำลาย เช่น โรคลายม์ (Lyme Disease) โรคไข้เห็บ (Ehrlichiosis) และโรคทูลาริเมีย (Tularemia) เป็นต้น แต่โรคเหล่านี้ไม่ค่อยถูกพบในประเทศไทยนัก

โดน เห็บกัด จะเป็นอย่างไร?

โดยส่วนใหญ่ คนมักไม่รู้สึกตัวเมื่อถูกเห็บกัดในช่วงแรก เพราะจะไม่ปรากฏอาการเจ็บหรือคันผิวหนังเหมือนตอนถูกสัตว์ชนิดอื่น ๆ อย่างยุงหรือมดกัด อีกทั้งเห็บยังมีขนาดตัวที่เล็กมาก จึงทำให้สังเกตเห็นได้ยาก แต่เมื่อถูกกัดไปสักระยะหนึ่งแล้ว เห็บจะเริ่มขยายตัวจนทำให้สังเกตเห็นได้ง่ายขึ้น เพราะเห็บจะยังคงอยู่ในบริเวณผิวหนังที่กัด ไม่ได้หนีหายไปเหมือนสัตว์หรือแมลงอื่น ๆ และหากปล่อยไว้นานประมาณ 7-10 วันจนดูดเลือดเต็มที่แล้ว เห็บก็จะเลิกดูดเลือดและหลุดออกไปเอง

โดนเห็บกัด

โดยปกติ การถูกเห็บกัดนั้นไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือมีอาการใด ๆ แต่สำหรับผู้ที่แพ้เห็บอาจแสดงอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น มีอาการบวม หรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ถูกกัด เป็นผื่น เป็นแผลพุพอง หายใจติดขัดในกรณีที่แพ้รุนแรง เป็นต้น ซึ่งเห็บบางชนิดก็อาจแพร่กระจายเชื้อโรคสู่มนุษย์ได้ทันทีที่กัด และโรคติดต่อจากเห็บอาจทำให้ผู้ป่วยปรากฏอาการต่าง ๆ แตกต่างกันไป โดยบางโรคอาจแสดงอาการหลังผ่านไป 2-3 วัน หรือนานเป็นสัปดาห์ตามแต่กรณี

ทั้งนี้ หากลูกมีอาการที่สงสัยว่าอาจจะเป็นโรคลายม์ หรือโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเห็บกัด รวมทั้งมีอาการแพ้หลังถูกกัดหรือหลังจากดึงตัวเห็บออกแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมทันที

ลูกโดน เห็บกัด ควรเอาออกอย่างไร ไม่ให้ลูกติดเชื้อจากเห็บ?

วิธีที่ดีที่สุดจะเอาเห็บออกจากผิวหนังคือ การใช้แหนบถอนขนคีบเห็บส่วนที่ใกล้ ผิวหนังมากที่สุดแล้วค่อยๆ ดึงออก ห้ามใช้บุหรี่จี้หรือใช้น้ำยาล้างเล็บ ขี้ผึ้ง สบู่เหลว สารพวกนี้จะทำให้เห็บระคายเคืองและปล่อยสารพิษเข้าไปในแผลที่มันกัดได้ ไม่บิด หรือกระชาก ไม่ควรบีบขยี้หรือเจาะตัวเห็บ เพราะจะทำให้ของเหลวจากตัวเห็บ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคถูกปล่อยออกมา หลังจากเอาเห็บออกแล้ว ควรล้างมือ และผิวหนัง บริเวณที่ถูกกัดด้วยสบู่ให้สะอาดถ้าเห็นส่วนของปากเห็บติดอยู่ที่ผิวหนังให้ ปล่อย เอาไว้ร่างกายจะพยายามกำจัดออกมาเอง อย่าพยายามแกะ แคะออกจะทำให้ผิวหนัง เป็นเป็นแผลติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อุทาหรณ์! แม่ช๊อคเจอ เห็บเข้าหู วางไข่ในหูลูกเป็นสัปดาห์!

7 วิธีสังเกตตุ่มตามตัวเมื่อ ลูกโดนแมลงกัด

เมื่อ “ลูกโดนยุงกัด” ทิ้งรอยดำ! ทำอย่างไรดี?

หมอเตือน! 3 ภัย 4 โรคในหน้าหนาว เด็กเล็กเสี่ยงเจ็บตายสูงขึ้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล, ไทยรัฐ, พบแพทย์

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids