อันตรายจากแสงสีฟ้า พ่อแม่ระวังให้ดี! ลูกต้องเรียนออนไลน์ new normal ชีวิตวิถีใหม่ อยู่กับหน้าจอตลอด เสี่ยงส่งผลร้ายต่อสายตา ควรเตรียมรับมือ
พ่อแม่ต้องใส่ใจ!! ปัญหา อันตรายจากแสงสีฟ้า
ผลต่อสุขภาพตาของเด็กยุคดิจิทัล
จากการแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย รัฐบาลจึงมีประกาศเลื่อนเปิดเทอมยาวออกไป ด้วยตระหนักถึงความปลอดภัยในชีวิตของนักเรียนที่จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดดังกล่าว! … จึงทำให้สถานศึกษามีการปรับการเรียนการสอนเป็นในรูปแบบของการเรียนทางออนไลน์ ทำให้เด็กๆ ต้องใช้เวลาไปกับหน้าจอดิจิทัลมากกว่าปกติเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน
พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางด้านสายตาและสุขภาพตา เพราะ แสงสีฟ้า หรือ แสงสีน้ำเงิน (Blue light) จากอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน อาจเป็นอันตรายต่อดวงตาของเด็กๆ ได้ และการเล่นอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเวลานานๆ จะนำมาซึ่งปัญหาและผลกระทบต่อเด็ก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ภัยจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล
อันตรายจากแสงสีฟ้า ส่งผลต่อสายตาเด็กที่พ่อแม่อาจมองข้าม ประกอบด้วย
- ภาวะตาล้า (Digital Eye Strain) เกิดจากการจ้องจอมากเกินไปเป็นระยะเวลานานๆ ก็จะทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อเล็กๆ ในตาหดตัวเกือบตลอดเวลาทำให้มีอาการตาล้า จึงเป็นที่มาของการมองเห็นที่พร่ามัวชั่วคราว
- โรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) โดยแสงสีน้ำเงินจากอุปกรณ์ดิจิทัล จะกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะทำลายเซลล์ประสาทตา หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
- โรคสายตาสั้นมาก (pathological myopia) การเพ่งอยู่หน้าจอเป็นระยะเวลานานกว่า 5 ช.ม ต่อวัน โดยเฉพาะในระยะน้อยกว่า 20 ซ.ม นานกว่า 45 นาที เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นได้เร็วและมากขึ้นในเด็ก
นอกจากนี้ ไม่เพียงแค่ภาวะสายตาสั้นเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปกติ แต่ยังทำให้เสียบุคลิกภาพ เพราะต้องหยีตาตลอด เมื่อเด็กมองไม่ชัด ซึ่งภาวะสายตาสั้นทำให้จำเป็นต้องหยีตามองสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในระยะไกลตลอดเวลา ซึ่งมีผลต่อวิสัยทัศน์และบุคลิกภาพ
- นี่คือผลเสีย! ที่ปล่อยให้ลูก เล่นมือถือ จ้องสมาร์ทโฟน เป็นเวลานาน
- วิจัยชี้! เด็กเล่นมือถือ-แท็บเล็ต เสี่ยงเครียด-วิตกกังวล-ซึมเศร้า
- เตือนภัยพ่อแม่! 3 เชื้อโรจากมือถือ ภัยร้ายใกล้ตัว หากจะคิดเอาให้ลูกเล่น
- ภัยจากทีวี อย่าปล่อยให้ลูกน้อยเป็นเด็กสมาธิสั้น และออทิสติก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
♦ 5 ป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้า ♦
ดังนั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง อันตรายจากแสงสีฟ้า และปกป้องไม่ให้สายตาของลูกเสียก่อนวัยอันควร เอสซีลอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์สำหรับดวงตาชั้นนำของโลก มีข้อแนะนำดีๆสำหรับคุณพ่อคุณแม่มาฝากกัน
เลือกใช้แว่นตาที่มีเลนส์กรองแสงสีน้ำเงิน
การเลือกใช้แว่นตาที่มีเทคโนโลยีกรองแสงสีน้ำเงิน จึงเป็นก้าวแรกในการถนอมดวงตาของเด็ก และลดความเสี่ยงจากโอกาสการเกิดปัญหาทางสายตาที่รุนแรงขึ้นในอนาคต เลนส์เอสซีลอร์ Blue UV Capture นวัตกรรมกรองแสงสีน้ำเงินชนิดอันตรายในเนื้อเลนส์แต่ปล่อยช่วงแสงที่มีประโยชน์ผ่านเข้ามา เลนส์ Blue UV Capture สามารถปกป้องดวงตามากกว่าเลนส์ใสทั่วไป 3 เท่า รวมถึงป้องกันรังสียูวีทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเลนส์มากถึง 35 เท่า เลนส์แว่นตาแม้ใช้เพียงปกป้องดวงตาโดยไม่มีค่าสายตาเพื่อแก้ไขการมองเห็น ก็ควรเลือกเลนส์คุณภาพเพื่อถนอมดวงตาของลูกน้อยในระยะยาว
ใช้จอคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมและปรับแสงสว่างหน้าจอให้พอเหมาะ
พ่อแม่ควรเลือกจอคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดมากกว่า 19 นิ้ว และเป็นจอที่กันแสงสะท้อน เพราะถ้ามีแสงสะท้อนจะทำให้รู้สึกไม่สบายตา และที่สำคัญควรปรับสภาพแวดล้อม แสงสว่างโดยรอบให้พอดี เพื่อลดความสว่างของหน้าจอไม่มืดหรือสว่างจนเกินไป และควรจัดแสงจากภายนอกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ให้แยงตาโดยตรงเพราะจะทำให้ตาล้ามากขึ้น
กำหนดระยะห่างระหว่างสายตากับหน้าจอ
ระยะห่างที่พอเหมาะสำหรับอุปกรณ์ดิจิทัลจะทำให้ลูกของคุณไม่ต้องใช้กำลังโฟกัสของตามากเกินไปจนเกิดอาการล้าของตาได้ หากใช้แทบเล็ต หรือหน้าจอมือถือควรห่างประมาณ 1 ฟุต ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะควรห่างประมาณ 2 ฟุต ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรจัดระยะห่างให้เหมาะสม เพื่อสุขภาพสายตาที่ดีสำหรับลูกๆ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่เองด้วย
ปรับขนาดตัวอักษรบนหน้าจอดิจิทัล ไม่ให้มีขนาดเล็กจนเกินไป
ขนาดตัวอักษรที่ทำให้อ่านได้สบายตาในเวลานานๆ จะต้องมีขนาดอย่างน้อย 3 เท่าของขนาดที่เล็กที่สุดที่สามารถอ่านได้ในระยะนั้น
พักสายตาด้วยเทคนิค 20-20-20
พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกรู้จักพักสาตา ด้วยเทคนิค 20-20-20 คือทุก 20 นาทีในการจ้องหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ควรพักสายตา 20 วินาที โดยมองออกไปไกล 20 ฟุต เพื่อช่วยให้ดวงตามีการเปลี่ยนระยะโฟกัสและผ่อนคลาย ซึ่งในระหว่างนี้ผู้ปกครองอาจให้เด็กๆ ได้พักจากหน้าจอลุกยืดเส้นยืดสายด้วย เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ของร่างกายไปพร้อมกัน
- แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ง่ายๆ ด้วย คู่มือตารางเวลา จากกรมสุขภาพจิต
- ลูกติดจอ ติดมือถือ แก้ได้ด้วยกฎ 3 ต้อง 3 ไม่
- ป้องกันลูกติดมือถือ สไตล์คุณพ่อลูกสอง เต๋า สมชาย
- หมอเผย! แก้ปัญหา ลูกติดมือถือผิดวิธี! ส่งผลเสียต่อพัฒนาการ
นอกเหนือจากการดูแลปกป้องดวงตาของเด็กๆแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพ่อแม่ควรพาลูกไปตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง เพราะการมองเห็นคือสิ่งสำคัญ เราจึงไม่ควรมองข้ามการตรวจดวงตา เพราะโรคทางตาหลายโรคที่จะไม่แสดงอาการจนกว่าจะเข้าสู่ระยะรุนแรงแล้ว เมื่อถึงเวลานั้นก็อาจสายเกินกว่าจะรักษาให้เป็นปกติได้
# # # ## # # #
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจคลิกที่ภาพได้เลย ⇓
ระวัง! ลูกจ้องจอนาน เสี่ยง สายตาสั้นเทียม ตัดแว่นได้ไม่ตรงค่าสายตา