แม่เล่าประสบการณ์ สังเกตอาการลูกให้ดี จู่ๆ ปากเบี้ยว หลับตาไม่ได้ น้ำลายไหลย้อย ลูกอาจไม่ได้แกล้งทำ แต่เป็นอาการของ โรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ
ซึ่งโรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ เป็นภาวะที่เส้นประสาทสมอง (Cranial nerve) ที่ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าถูกทำลายและสูญเสียการทำงาน ทำให้มีอาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หนังตาและมุมปากตก น้ำลายไหลจากมุมปาก สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกเชื้อชาติ
แม่เล่า! เมื่อลูกเป็น โรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ
จู่ๆปากเบี้ยว หลับตาไม่ได้ น้ำลายไหลย้อย
และเพราะโรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ รวมไปถึงเด็กๆ จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้และคอยสังเกตลักษณะอาการของโรคนี้ให้ดี เพราะมันอาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยของคุณก็เป็นได้ เช่นเดียวกับคุณแม่ท่านนี้ที่มีชื่อเฟซบุ๊ก “Katsara Boochapun” ได้เผยแพร่เรื่องราวสุดสะเทือนใจต่อตนเองยิ่งนัก
เมื่อลูกชายของตนป่วยเป็น โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก Bell’s palsy หรือ โรคปลายประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ ทำให้มีอาการปากเบี้ยว ปากปิดไม่สนิท หลับตาข้างหนึ่งไม่ได้และมีน้ำลายไหลอยู่ตลอด จนต้องทำกายภาพบำบัดควบคู่กับการรักษา คุณแม่จึงได้ออกมาเผยแพร่เรื่องราวไว้เป็นอุทาหรณ์เตือนสติคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ให้ต้องคอยสังเกตดูลูกน้อยของตนเองให้ดี โดยผู้เป็นแม่เล่าว่า…
#ขอแชร์และเล่าประสบการณ์ป่วยของลูกนะคะ
#ลูกของเราเป็นประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ
เช้าวันศุกร์ ก่อนลูกไป รร. เราก็เล่น อาบน้ำแต่งตัวปกติ เขาก็เป็นคนขี้เล่น คุยเก่ง ลูกชายเรา 4 ขวบ 4 เดือน แล้วเขาเหมือนยิ้ม พูด หัวเราะ ข้างเดียว เราก็คิดว่าเขาแกล้ง ไม่ได้สนใจอะไร จนเดินไป รร. ยังทำต่อไม่หยุด เราบอกว่าเลิกเล่นได้แล้ว น่าเกลียดเขาก็งง คือเขาไม่รู้ตัว .. เราก็เอะใจ มันไม่ใช่ละ อาจจะฟันกราม หรือมีแผลในปาก ถามไปว่าเจ็บปากไหม เขาบอกว่าไม่ …. พอตอนเย็นเรากลับมาบ้านค่ำเขาก็นอนกับปู่และย่าไปแล้ว
แต่หมอที่สิงคโปร์ ขอบหยุดเสาอาทิตย์ เจ็บไข้ได้ป่วย ขอให้เป็นวันธรรมดานะค่ะ 😞 และก็โชคดีที่ได้หมอเด็ก เปิดครึ่งวันเสาร์พอดี หลังจากแม่หาข้อมูล เกือบ 2 ชม.
หันไปดูลูกที่นั่งเล่น หัวใจแทบสลาย ปากเริ่มเบี้ยว และหลับตาอีกข้างไม่ได้ รีบพาลูกไปหาหมอทันที… ตาข้างขวา น้ำตาไหลตลอด… น้ำลายก็ย้อย… ในระหว่างอยู่ในรถ มองดูลูกน้ำตาไหล สงสารจับใจ แม่ก็น้ำตาไหลตาม ลูกถาม “ใครทำแม่ร้องไห้?” เราก็ต้องรีบกลืนน้ำตาเข้าไป
สิ่งที่มันอยู่ในหัว คือลูกเราเป็นอะไร. ลูกเราจะพิการไหม จะกลับมาเหมือนเดิมไหม พอไปถึงก็เข้าคิว 4-5 คน ก็ได้ตรวจ หมอวินิจฉัยว่าเป็น โรค Ball palsy คือ ปลายประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ ควรที่จะพบแพทย์ทันที เกิดจากไวรัส (แต่ไม่รู้ไวรัสอะไร ฟังไม่ออก) ต้องใช้สเตียรอยด์รักษา พร้อมกับยาฆ่าเชื้อ อย่าทิ้งไว้นาน เมื่อมันอักเสบจนทำลาย ประสาทส่วนนั้น อาจจะไม่กลับมาเหมือนเดิม … หรือบางคนต้องใช้เวลารักษานานขึ้น…. ส่วนแซนเดอร์ต้องทำกายภาพบำบัดควบคู่
ปล. ดูจากภาพ หลับตาไม่ได้ ปากอีกข้างเคี้ยวไม่ได้ ปิดไม่สนิท ก็จะลำบากทั้งกินและกลืน…เด็กไม่สามารถบอกอาการเราได้ .. ใครที่ลูกยังเล็กลองสังเกตอาการนะค่ะ. .. โรคภัยเดี๋ยวนี้ใกล้ตัวเหลือเกิน. เงินที่หาทุกวันนี้ก็เพื่อป้องกันให้มีชีวิตรอดเนี้ยแหละค่ะ
ขอบคุณเรื่องราวประสบการณ์ดีๆ และภาพ จาก : คุณแม่ Katsara Boochapun
ลักษณะของโรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ
ทั้งนี้สำหรับ โรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ หรือ โรคอัมพาตเบลล์ หรือ โรคใบหน้าเบี้ยว/โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) หมายถึง การที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างหนึ่งอ่อนแรงชั่วคราว เป็นโรคซึ่งเกิดจากการบวม อักเสบของประสาทใบหน้า หรือประสาทฟาเซียลหรือบางคนออกเสียงว่า เฟเซียล (Facial nerve หรือเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7,Cranial nerve VII หรือย่อว่า CN VII)
หน้าที่ของเส้นประสาทคู่ที่ 7 ประกอบไปด้วย
♦ บังคับการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า ซึ่งได้แก่ กล้ามเนื้อหน้าผาก รอบตา กล้ามเนื้อมุมปาก
♦ รับความรู้สึกของลิ้น
♦ ควบคุมการหลั่งน้ำลาย และน้ำตา
♦ ควบคุมการได้ยิน
โดยเป็นเส้นประสาทคู่ คือ มีทั้งด้านซ้ายควบคุมใบหน้าด้านซ้าย และด้านขวาควบคุมใบหน้าด้านขวา ซึ่งเมื่อโรคเป็นชนิดไม่รุนแรง จะก่ออาการน้อย การอักเสบเพียงทำให้เกิดอัมพฤกษ์ของใบหน้าด้านนั้น ….แต่ถ้าเป็นมาก จะก่ออาการอัมพาตของใบหน้าด้านนั้น ทั้งนี้ โดยทั่วไป มักเกิดโรคกับประสาทเพียงด้านเดียว โดยโอกาสเกิดใกล้เคียงกันทั้งประสาทด้านซ้ายและประสาทด้านขวา และยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่า จะเกิดโรคกับประสาทด้านไหน อย่างไรก็ตาม พบโรคเกิดกับประสาททั้งสองข้างพร้อมกันได้แต่พบได้น้อยกว่า 1%
สาเหตุของโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือ โรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ
โรคนี้ส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์เพราะว่าปากเบี้ยว น้ำลายไหลออกจากมุมปาก ซึ่งเป็นอาการที่มาพบแพทย์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากอาการดังกล่าวยังพบว่า….
โรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบจะมีอาการปิดตาไม่สนิท หรือลืมตาลำบาก ไม่รับรสชาติอาหาร เป็นต้น สาเหตุก็พบได้หลายประการ เช่น การได้รับอุบัติเหตุที่เส้นประสาท เนื้องอก แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดเกิดจากการติดเชื้อ เชื้อที่เป็นสาเหตุบ่อยที่สุดคือ herpes,Ebstein-Barr virus ไข้หวัดใหญ่ Flu แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ติดเชื้อนี้ทุกคนจะต้องเป็นโรคใบหน้าเบี้ยว ขึ้นกับสภาพการตอบสนองต่อการติดเชื้อไวรัส
อาการของผู้ที่เป็นโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือ โรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ
ดังที่กล่าวเบื้องต้นว่าเส้นประสาทคู่ที่ 7 จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำลาย และหู อาการมักจะเป็นค่างข้างเร็วภายใน 48 ชั่วโมง ดังนั้นผู้ป่วยใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกจะมีอาการดังนี้
- ปิดตาข้างหนึ่งลำบาก
- จะรู้สึกตาแห้งในตาข้างหนึ่ง
- ส่วนปลายลิ้นไม่รับรสชาด
- มุมปากตก และน้ำลายไหลข้างที่เป็น
- รู้สึกน้ำลายลดลง
- จะได้ยินเสียงดังกว่าอีกข้างหนึ่ง
- ปวดหลังหูข้างที่อ่อนแรง
การรักษาโรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ
คุณหมออาจจะให้ยาลดการอักเสบเพื่อให้โรคหายเร็วขึ้นโดยเฉพาะการให้ยา Steroid ภายใน 3 วันนับจากวันที่มีอาการ โดยให้ Prednisolone 1 mg/kg ให้ทั้งหมด 6 วันหลังจากนั้นจึงลดขนาดของยาลง และหยุดยาใน 10 วัน ทั้งนี้การให้ยาต้านไวรัสรวมกับยา prednisolone พบว่าจะทำให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับยา prednisoloneอย่างเดียว
***การดูแลตา สำหรับผู้ที่เป็นโรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ
ผู้ที่ป่วยหน้าเบี้ยวครึ่งซีกจะมีปัญหาเรื่องการปิดตา น้ำตาน้อยซึ่งจะทำให้เกิดตาแห้ง แผลถลอกที่แล้วตารวมทั้งการเกิดแผลดังนั้นการดูแลตาเป็นสิ่งที่สำคัญ ในเบื้องตนจะต้องหยอดน้ำตาเทียมให้กับผู้ป่วยในเวลากลางวัน และหยอดสารหล่อลื่นในเวลากลางคืน ในช่วง1-2 วันแรกจะต้องปิดตาให้สนิทเพื่อป้องกันการเกิดแผลซึ่งอาจจะใช้ เทปหรือผ้าปิดให้สนิทและมียาหล่อลื่นอย่างเพียงพอ
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- แม่แชร์ประสบการณ์สังเกตให้ดี ลูกป่วย มีตุ่มแดงแปลกๆ ขึ้น เสี่ยงเป็น โรค ITP เกล็ดเลือดต่ำ รักษาช้าเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!
- โลกตะลึง! เด็กวัย 18 เดือนเป็น โรคภูมิแพ้น้ำ แพ้แม้กระทั่งน้ำตาตัวเอง
- โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA โรคทางพันธุกรรม ที่ต้องรู้จัก! ก่อนคิดมีลูก
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.siamhealth.net