มดลูกมีปัญหา แน่! ถ้าคุณแม่ ๆ ทั้งหลายไม่ดูแลให้ดี ระวังแก่ตัวไปจะลำบาก !!
ร่างกายของผู้หญิงนั้นซับซ้อนนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่างกายของผู้หญิงเรา ไม่ว่าจะเป็นรังไข่หรือมดลูก ซึ่งวันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids จะมาพูดถึงมดลูกกันค่ะ เพราะถ้าหากเราดูแลไม่ดีละก็ อนาคตรับรองลำบากแน่นอนเลยละค่ะ แล้วใครละจะเป็นคนดูถ้าไม่ใช่ลูกหลานของเราเอง ดังนั้น ถ้าหากไม่อยากให้ลูกหลานต้องลำบาก หรือต้องนำเงินเก็บที่มีมาเป็นค่ารักษาพยาบาลละก็ หลีกเลี่ยง 10 พฤติกรรมเหล่านี้ซะเดี๋ยวนี้ มิเช่นนั้นจะหาว่าไม่เตือน
มดลูก คืออะไร?
ซึ่งมดลูกที่ว่านี้ เป็นอวัยวะกลวง ที่มีรูปร่างคล้ายกับลูกแพร์ มีผนังหนาวางตัวอยู่ในช่องเชิงกราน อยู่หลังกระเพาะปัสสาวะ อยู่หน้าลำไส้ใหญ่ และช่องทวารหนัก โพรงของมดลูกนั้นอยู่ติดกับโพรงของปีมดลูกและโพรงของช่องคลอด
อ่านต่อ >> เนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่หน้า 2
10 พฤติกรรมที่ควรเลี่ยงถ้าไม่อยากให้ มดลูกมีปัญหา
พฤติกรรมที่ทีมงานจะนำมาเสนอในวันนี้นั้น จะขอเรียงตามลำดับจากลำดับที่ 10 ไปจนถึงลำดับท่ี่ 1 นะคะ พร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ
ลำดับที่ 10: หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่สกปรกและผิดปกติ เพราะเพศสัมพันธ์ที่สกปรกนั้น เป็นสาเหตุของการเกิดโรคและอาการผิดปกติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ช่องคลอดอักเสบ ปากมดลูกอักเสบ ปากมดลูกสึกกร่อน ท่อนำไข่อักเสบ ซึ่งอาการเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่ค่อยน่ากลัวเสียเท่าไร แต่หารู้ไม่ว่า อาการเหล่านี้นี่ละค่ะ จะเป็นจุดกำเนิดสำคัญของมะเร็งชนิดต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งในช่องคลอด มะเร็งในท่อรังไข่ และมะเร็งด้านนอกอวัยวะเพศ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือนด้วยนะคะ ที่สำคัญ คุณแม่จะต้องหมั่นทำความสะอาดอวัยวะเพศของตัวเองให้สะอาด ไม่หมักหมม และล้างก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์กันด้วยนะคะ
อันดับที่ 9: ห้ามมีเพศสัมพันธ์ช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์และช่วงก่อนคลอด ใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นั้น ถือเป็นช่วงที่อ่อนไหวมากค่ะ เนื่องจากตัวอ่อนยังไม่ได้ฝังตัวในมดลูกดีเท่าที่ควร หากไม่ระวังให้ดีโอกาสที่จะเกิดภาวะแท้งก็มีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคุณแม่ ๆ ที่มีประวัติการแท้งมาก่อนหน้านี้ นอกเหนือจากนี้ ในช่วง 3 เดือนก่อนคลอดก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เนื่องจากมด 3 สัปดาห์สุดท้าย ทารกจะโตเต็มที่แล้วมดลูกจะต่ำลง ปากมดลูกเริ่มขยายตัว ถ้ามีเซ็กส์ในระยะนี้การติดเชื้อในน้ำคร่ำมีโอกาสเกิดขึ้นสูง และมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดทารกในครรภ์ก็จะมีโอกาสติดเชื้อโรคจากพ่อแม่ ซึ่งอาจมีผลร้ายถึงขั้นพิการได้เลยค่ะ
อันดับที่ 8: มดลูกต่ำ หลังจากที่คุณแม่คลอดแล้ว สิ่งที่จะตามมาก็คือ ภาวะลดต่ำลงของอุ้งเชิงกราน ทำให้มดลูกของคุณแม่นั้นเคลื่อนต่ำลง ปากมดลูกด้วยก็เช่นกัน จนทำให้เกิดการกดทับท่อปัสสาวะ ทำให้การปัสสาวะผิดปกติได้
อ่านต่อ >> เนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่หน้า 3
อันดับที่ 7 : การผิดปกติทางด้านพัฒนาทางด้านร่างกายของทารกในครรภ์หรือการตั้งครรภ์ทารกหลายคน ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวนั้น มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงดังนี้ค่ะ
- คุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 38 ปีขึ้นไป เนื่องจากไข่นั้นเริ่มมีอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดความผิดปกติจึงมึสูง
- เคยมีบุตรที่มีปัญหาทางด้านสมองหรือกระดูกสันหลัง
- คุณแม่ที่เคยมีประวัติการแท้ง คลอดก่อนกำหนด หรือทารกในครรภ์เสียชีวิตภายในมดลูก เป็นต้น
- แต่งงานกับเครือญาติที่มีสายเลือดใกล้ชิดกัน
- ป่วยเป็นหัดเยอรมัน เริม งูสวัด หรือติดเชื้อไวรัสอื่นในช่วงไตรมาสแรก
- มีการใช้ยาหรือได้รับรังสีที่มีผลต่อทารก
อันดับที่ 6: ไม่ยอมไปตรวจครรภ์ตรงตามเวลาที่แพทย์นัด ทำให้คุณแม่ไม่สามารถรู้ได้ว่า ทารกในครรภ์ รวมถึงท้องของคุณแม่เองมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า พอรู้ช้าก็ส่งผลทำให้แก้ไขได้ไม่ทัน
อันดับที่ 5: ทำแท้งหมอเถื่อน ทราบหรือไม่คะว่า การไปผ่าตัดทำแท้งกับหมอเถื่อนนั้น จะเป็นเหตุทำให้มดลูกของเราติดเชื้อหรือเสียหายได้ เนื่องจากการใช้เครื่องมือที่ไม่ได้มาตรฐาน อีกทั้งสถานที่ก็ไม่สะอาด และไม่ได้มีการฆ่าเชื้อในขณะที่ทำการผ่าตัด จึงเกิดการปนเปื้อนของแบคทีเรียได้
อันดับที่ 4: มีการตั้งครรภ์มามากกว่า 3 ครั้ง มีหลายครอบครัวที่ต้องการมีลูกชาย หรือลูกสาว แล้วพอไม่ได้สมหวังดังใจในครรภ์แรก ก็พยายามที่จะตั้งครรภ์เพื่อให้ได้ตามที่หวังในที่สุด และทราบหรือไม่คะว่า การตั้งครรภ์ 3 ครั้งขึ้นไปนั้น ทำให้เกิดอัตราความเสี่ยงของมดลูกมากขึ้น การตั้งครรภ์มากกว่าหนึ่งครั้งนั้น ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับมดลูกได้
อ่านต่อ >> เนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่หน้า 4
อันดับที่ 3 : การคลอดยาก หรือตั้งครรภ์เกินกำหนดทำให้เกิดภาวะมดลูกแตก ซึ่งภาวดมดลูกแตกนั้น ถือเป็นอาการอันตรายอันดับต้น ๆ ที่ส่งผลทำให้คุณแม่และทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ เนื่องจาก ช่องคลอด ทารก หรือตำแหน่งของทารกนั้ผิดปกติ กระดูกช่องคลอดตีบ ทารกในครรภ์ตัวใหญ่ และอื่น ๆ ทำให้มดลูกนั้นเกิดภาวะหดตัวอย่างรุนแรง
อันดับที่ 2: ภาวะแท้ง การแท้งอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาอันสั้น ถือเป็นสาเหตุให้มดลูกได้รับอันตรายเป็นอย่างมาก ซึ่งในชีวิตของผู้หญฺงนั้น ไม่ควรแท้งเกินกว่า 3 ครั้ง และภายในหนึ่งปีก็ไม่ควรแท้งเกิน 2 ครั้งค่ะ เพราะเวลาที่คุณหมอทำแท้งนั้นจะต้องดูสภาพของโพรงมดลูก ตำแหน่ง และขนาดค่ะ ซึ่งการทำแท้งนั้นต้องนำอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปในโพรงมดลูก โอกาสที่จะทำให้มดลูกติดเชื้อนั้น มีความเป็นไปได้เช่นกัน
อันดับที่ 1 : ผ่าตัดคลอด ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า :การผ่าตัดคลอด ทำให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดขณะคลอดตามธรรมชาติได้แต่มันก็ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนและผลที่ตามมา นอกจากอันตรายจากยาชาขณะผ่าตัดแล้วระหว่างผ่าตัดหรือหลังผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นกระเพาะปัสสาวะและ ลำไส้ได้รับบาดเจ็บ แผลมดลูกฉีกขาดการตกเลือดหลังคลอดได้ เป็นต้น
ขอบคุณที่มา: Liekr และ Muslim Thai
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่