AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อุทาหรณ์! เด็ก 8 เดือน ลูกโป่งระเบิด ใส่แขนไหม้!

ลูกโป่งระเบิด

ลูกโป่งลายการ์ตูนสีสันสวยงามที่ขายกันตามงานต่าง ๆ อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้ ดังเช่นอุทาหรณ์จากคุณแม่ท่านหนึ่งที่ ลูกโป่งระเบิด ใส่แขนลูกวัย 8 เดือนไหม้

อุทาหรณ์! เด็ก 8 เดือน ลูกโป่งระเบิด ใส่แขนไหม้!

เกิดเหตุเด็กชายวัย 8 เดือน ถูกไฟลวกบาดเจ็บ ขณะถือลูกโป่งที่แม่ซื้อมาจากงานประจำปีใน จ.กาญจนบุรี แล้วลูกโป่งเกิดระเบิดขึ้น

วันนี้ (5 ธ.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เด็กชายวัย 8 เดือน ซึ่งเป็นบุตรของนางปิยะพร อินทะนิน ชาวบ้านใน ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ได้รับบาดเจ็บบริเวณแขนและยังคงต้องพันผ้าไว้ เพื่อรักษาบาดแผล ซึ่งนางปิยะพรเชื่อว่ามาจากลูกโป่งตัวการ์ตูน เมื่อช่วงเช้าวันที่ 2 ธ.ค. ที่ผ่านมา

นางปิยะพร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ตัวเองและสามีได้พาลูก 2 คน ไปเที่ยวในงานประจำปีของ จ.กาญจนบุรี ก่อนกลับ ได้ซื้อลูกโป่งตัวการ์ตูนให้ลูกชายคนเล็ก

ลูกโป่งอัดแก๊ส

กระทั่งช่วงเช้าของอีกวัน ขณะที่ทุกคนกำลังนั่งเล่นในบ้าน ลูกคนเล็กได้ถือเชือกที่ผูกกับลูกโป่ง ก่อนมีเสียงระเบิดดังขึ้น และมีไฟลุกไหม้ลูกโป่งมาติดที่เส้นผมและเสื้อของตัวเอง รู้สึกแสบร้อน ส่วนลูกคนเล็กถูกไฟไหม้บริเวณแขน จึงรีบนำลูกออกจากบ้านไปที่อ่างน้ำ เพื่อนำน้ำมาดับไฟที่กำลังลุกไหม้ ซึ่งสาเหตุเชื่อว่าเกิดจากลูกโป่งดังกล่าว

ขอบคุณข่าวจาก : https://news.thaipbs.or.th/content/286763

ลูกโป่งระเบิด ได้อย่างไร?

ลูกโป่งที่ขายในประเทศไทยโดยทั่วไป พบว่าบรรจุแก๊สอยู่ 2 ชนิด คือ แก๊สไฮโดรเจน และ แก๊สฮีเลียม ความแตกต่างของแก๊ส 2 ชนิดนี้ คือ แก๊สไฮโดรเจนมีความไวไฟสูง ส่วนแก๊สฮีเลียมเป็นแก๊สเฉื่อย ไม่ติดไฟ ดังนั้น หากจะใช้งานลูกโป่งในสถานที่ซึ่งมีแสงไฟมาก ตัวอย่างเช่น การจัดตกแต่งงานเลี้ยง งานฉลองต่าง ๆ ก็ควรเลือกใช้ลูกโป่งบรรจุแก๊สฮีเลียม หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ลูกโป่งฮีเลียม เพราะหากลูกโป่งบรรจุแก๊สไฮโดรเจนอยู่ใกล้ไฟหรือความร้อน ก็จะติดไฟหรือสามารถเกิดระเบิดในกรณีที่มีลูกโป่งจำนวนมาก และอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ประกาศให้ลูกโป่งบรรจุแก๊สไฮโดรเจนเป็นสินค้าควบคุมฉลาก ผู้จำหน่ายต้องติดคำเตือน “ห้ามนำเข้าใกล้เปลวไฟหรือความร้อน”

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ทำไมลูกโป่งจึงเป็นอันตรายต่อเด็ก? และ 3 วิธีลดเสี่ยงจากลูกโป่งระเบิด

ทำไมลูกโป่งจึงเป็นอันตรายต่อเด็ก?

ลูกโป่งยางลาเท็กซ์ (Latex balloons) เป็นลูกโป่งที่เหมาะกับการประดับงานเลี้ยงมากกว่าเป็นของเล่นสำหรับเด็ก เพราะอาจทำให้เด็กสำลักและขาดอากาศหายใจด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ลูกโป่งยางลาเท็กซ์ยังอาจมีสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งประเภทหนึ่ง รวมถึงโปรตีนในยางลาเท็กซ์ธรรมชาติสามารถทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ลูกโป่งเติมก๊าซฮีเลียม (Helium balloons) ถึงแม้ก๊าซฮีเลียมเป็นก๊าซเฉื่อยและไม่ติดไฟก็ตาม แต่เป็นอันตรายต่อเด็กได้เช่นกัน เพราะหากเด็กสูดดมก๊าซฮีเลียมเข้าไปในร่างกายมากเกินไป จะทำให้ร่างกายขาดอ็อกซิเจน หมดสติและอาจเสียชีวิตได้

ลูกโป่งเติมก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen balloons) ก๊าซไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่ไวต่อประกายไฟ ดังนั้นเมื่อโดนความร้อนหรือประกายไฟ ลูกโป่งจะระเบิด ซึ่งอาจทำให้เปลวไฟลวกผิวหนังและเสียชีวิตได้

ลูกโป่ง

กรมควบคุมโรค แนะ 3 วิธีลดเสี่ยงจาก ลูกโป่งระเบิด

จากที่ผ่านมาที่มีเหตุ ลูกโป่งระเบิด อยู่บ่อยครั้ง ทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงได้นำคำแนะนำจาก นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ถึงวิธีลดความเสี่ยงได้รับอันตรายจาก ลูกโป่งระเบิด ดังนี้

  1. ควรเลือกลูกโป่งที่บรรจุด้วยแก๊สฮีเลียม ถึงแม้จะมีราคาที่แพงกว่าแต่ก็ปลอดภัยกว่าเช่นกัน เนื่องจากเป็นแก๊สเฉื่อย ไม่ติดไฟ และเกิดการรั่วซึมยาก
  2. ไม่ควรเก็บลูกโป่งที่อัดแก๊สไว้ภายในรถ ในที่อุณหภูมิสูง กลางแดด ใกล้หลอดไฟ ใกล้เปลวไฟ หรือความร้อน
  3. ไม่ควรนำลูกโป่งมามัดรวมกันหลายลูก อาจทำให้เกิดการเสียดสีและทำให้ระเบิดได้

นายแพทย์สุวรณชัย ยังได้แนะนำต่ออีกว่า เมื่อซื้อลูกโป่งแฟนซี หรือ ลูกโป่งการ์ตูนให้ลูกเล่น ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด เพราะไม่ใช่แค่แก๊สที่อยู่ในลูกโป่งเท่านั้นที่อันตรายกับลูกน้อย แต่ยังไม่ส่วนอื่น ๆ เช่น เศษจากลูกโป่งที่แตก ที่เด็ก ๆ อาจจะเอามาอมหรือกัดเล่น และอาจลื่นเข้าไปในลำคอจนอุดทางเดินหายใจได้

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อุทาหรณ์! ซื้อ ลูกโป่งไว้ในรถ ระเบิดคารถ เด็ก 6 ขวบเจ็บสาหัส

น้ำร้อนลวก ลูกโดนน้ำร้อนลวกจนเป็นแผลทำยังไงดี?

อุทาหรณ์เพราะ สายสิญจน์ บัง! ลูกเอายางรัดข้อมือ แม่รู้อีกทีกลายเป็นแผลลึก

ดูให้ดีก่อนกิน แมงป่องในลองกอง เด็กโดนต่อยอาจช็อกได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids